Pages

Sunday, September 18, 2011

ม้าสายพันธุ์หลักของโลก

ม้าสายพันธุ์หลักของโลก
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสายพันธุ์ม้าที่หาได้ในเมืองไทยเป็นเท่านั้น

The Arab, Arabian Horse
  

เอื้อ เฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ สูงประมาณ 153 ซม.  จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก 57 หมู่ 5 ตำบลเกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี การเดินทางให้ขับจาก กทม.ไปให้ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี   เลี้ยวซ้ายข้างศูนย์โตโยต้า ขับไปอีกประมาณ 3 กม.

ม้าพันธุ์อาหรับ หรือมีฉายาว่า ผู้ดื่มด่ำสายลม (Drinkers of the wind)  เป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากทางทวีปเอเชีย โดยมีสายพันธุ์แรกเริ่มเชื่อกันว่าน่าจะมาจากม้าพันธุ์ BARB หรือ ANDALUSIAN ของสเปนที่ถูกจับใส่เรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปตั้งแต่โบราณ หลังจากมาขึ้นบกที่อินเดียและจีนก็เข้าผสมกับม้าพื้นเมืองและม้าในแถบทะเล ทรายอาราเบีย ส่วนความเชื่ออีกสายหนึ่งเชื่อว่า เป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลทรายอาหรับล้วนๆ (มีการขุดพบโครงกระดูกม้า) โดยได้ถูกเพาะเลี้ยงโดยชนเผ่าเบดูอิน (Bedouin) และชนเผ่านี้เขามีความเชื่อว่า ม้าของเขาเป็นของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้าประทานลงมาให้      ดังนั้นการเลี้ยงดูม้าจะประคบประหงมมาก ห้ามมิให้ผสมข้ามสายพันธุ์อย่างเด็ด ขาด แม้ในตอนกลางคืนก็จะนำม้าเข้านอนในเต็นท์ด้วย ดังนั้นจึงทำให้ม้าสายพันธุ์นี้มีความสนิทสนมกับคนมากเป็นพิเศษ ความโดดเด่นของม้าอาหรับเกิดขึ้นในยุคอัศวิน กล่าวคือ สมัยนั้นนิยมใช้ม้าตัวโตของทางยุโรปและหุ้มเกราะเวลาออกรบ แต่ครั้นออกรบจริงกับพ่ายแพ้แก่ฝ่ายข้าศึกที่ขี่ม้าตัวเล็ก แต่ปราดเปรียวคล่องแคล่วกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการพ่ายแพ้ต่อกองทัพ ม้าเจงกิสข่านที่ใช้รูปแบบการขี่ม้าเข้าหาข้าศึกและสามารถยิงธนูใส่จนทำให้ รูปแบบการรบต้องกลับพลิกแพลงออกไป ต่อมาจึงทำให้ผู้ผสมพันธุ์ม้าต่างก็นำเอามาอาหรับไปผสม อาทิเช่น พันธ์โอลอฟ ทรอตเตอร์ ของรัสเซีย ม้าพันธุ์มอร์แกนของอเมริกา ม้ามาวารีของอินเดีย  และแม้แต่ม้าพันธุ์เธอรัพเบรตของอังกฤษ ก็เกิดจากม้าอาหรับผสมกับม้าที่ทำงานในฟาร์ม (Draft Horse)  
ในประเทศอังกฤษม้าสายนี้จะมาจาก ฟาร์ม Crabbet Stud เป็นแหล่งใหญ่  ใครต้องการเลือกซื้อม้าสายนี้ให้เลือกที่มีสายเลือดของ Crabbet เป็นหลักแม้ในออสเตรเลียก็ยังสามารถหาสายเลือดนี้ได้ไม่ยาก
 นอกจากนี้ ม้าสายออสเตรเลียจะมีพ่อม้าหลักที่นำมาจากอินเดียชื่อ HECTOR ปัจจุบันการขายลูกม้าก็ยังมีโฆษณาว่าเป็นสายนี้อยู่ประปราย และเจ้า เฮกเตอร์นี้ก็เชื่อกันว่าน่าจะเป็นตัวกลั่นของม้ามาวารี (Marwari) เจ้าม้าหูบิด ที่โด่งดังของอินเดีย
 สำหรับประเทศอเมริกาผู้ที่นำม้า พันธุ์นี้เข้าไปเพาะเลี้ยงและบันทึกไว้อย่างเป็นทางการคนแรกๆ คือ ท่านนายพล ยูลิซิส (Ulyseses S. Grant) ได้รับพ่อม้าอาหรับชื่อ ลีโอพาร์ด และ ลินเดนทรี จากท่านสุลต่าน อับดุล ฮามิด ที่สองแห่งประเทศตุรกี เข้าไปแพร่พันธุ์ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของม้าพันธุ์นี้ในอเมริกา  ม้า อาหรับมีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนดังนี้คือ  
1.      มี หน้าแหลมคล้ายจิ้งจก จมูกเชิดงอนขึ้น และมีคางเป็นสันกลมสังเกตได้ชัดตามภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Dished Face และข้อนี้ก็จัดว่าเป็นลักษณะเด่นของม้าไทย 
2.      โคนหางจะยกขึ้นเวลาวิ่งเนื่องจากมีกระดูกโคนหางน้อยกว่าสายอื่น 2 ชิ้น
3.      จังหวะ วิ่งมีจังหวะที่ขาลอยจากพื้นพร้อมกันทั้งสี่ขา (Floating Gaits) ทำให้เวลาขี่สามารถลดแรงกระแทกช่วยผ่อนแรงผู้ขี่ได้อย่างมากมาย ม้าสายพันธุ์นี้มีส่วนสูงอย่างมากไม่เกิน 15.2 แฮนด์ (155-156 ซม. ) แต่ที่พบมากจะมีส่วนสูงประมาณ 15 แฮนด์ (153 ซม.)   
4.       ลำ คอเรียวโค้งยาวเป็นรูปคอหงส์ แต่ลักษณะนี้ไม่เน้นมากนัก เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่าเป็นลักษณะของลำคอที่มาจากม้าพันธุ์ เธอโรเบรต   
 
 ภาพพ่อม้าอาหรับชื่อ  พญาเย็น เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณธวัชแห่งสินไพบูลย์ฟาร์ม ต.  สระกระโจม อ. ดอนเจดีย์  จ. สุพรรณบุรี
ข้อมูลทางกายภาพ
1. ม้าอาหรับมีซี่โครง17ซี่ (ม้าพันธุ์อื่นมี 18ซี่)
2. ม้าอาหรับมีกระดูกเชิงกราน( Lumbar Vertebrate )  5 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 6ชิ้น)
3. ม้าอาหรับมีกระดูกหาง 16 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 18 ชิ้น) ดังนั้น จึงต้องยกหางเวลาวิ่งเพื่อลดน้ำหนักไปในตัว
เนื่องจากม้าอาหรับมีการเพาะพันธุ์โดยท่านชี๊ค และชี๊คจะตั้งชื่อม้าตามชื่อของตนเอง เท่าที่ค้นคว้าได้สายพันธุ์ม้าอาหรับในปัจจุบันสืบทอดสายเลือดมาจากม้า 5 สายของชี๊คตามชื่อดังนี้
Kehilan, Seglawi, Abeyan, Hamdani, และ Habdan
ในประเทศไทยพบว่าม้าสายพันธุ์นี้มีผู้นำเข้ามาน้อยมาก แต่ก็ยังพอมีอยู่บ้างแถบจังหวัดภาคกลางและโคราช ผู้สนใจลองหาแม่ม้าไทย ลักษณะดีๆอย่างในภาพค่อยๆผสมยกสายเลือดกับพ่อพันธุ์ดีๆ สักสามรุ่นก็น่าจะได้ลูกงามๆสักตัว
ข้อ ดีของม้าพันธุ์นี้คือ แม้ว่าจะนำแม่ม้าสายพันธุ์อื่นมาผสมกับพ่อม้าพันธุ์อาหรับ ก็สามารถที่จะขึ้นทะเบียนเป็นม้าพันธุ์ “Half Arabian” ได้โดยไม่ผิดกติกาใดๆ 
ข้อ ด้อยที่เห็นได้ชัดของม้าพันธุ์อาหรับคือ เป็นม้า Hot Blood นั่นหมายถึงเขาจะมีความคึกคักมากและตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้ที่จะใช้ม้าสำหรับงานหนัก เช่น เอ็นดูร๊านซ์ (็Endurance Horse Racing) แต่หากต้องการม้าที่นิ่งสงบเรียบร้อยก็ควรหลีกเลี่ยงไปหาม้าสายพันธุ์อื่นจะ เหมาะสมกว่า

Thoroughbred
ม้าพันธุ์เธอร์รัพเบรต หรือต่อไปจะขอเรียกว่า Tb เนื่องจากเป็นการอนุโลมให้เรียกตามสากล คำคำนี้โดยความหมายก็อาจจะแปลได้ว่า เป็นม้าที่เป็นผลจากการผสมกันของม้าพื้นเมืองทั่วๆ ไป โดยไม่ใช่การสืบสายเลือดมาจากสายพันธุ์แท้ หรือไม่สามารถนับได้ว่าเป็นสายพันธ์แท้ ( Purebred ) แต่หากดูจากโครงสร้างแล้วจะพบว่า ม้า TB เป็นผลผลิตของม้าเลือดร้อนหรือม้าอาหรับ ผสมกับม้าเลือดเย็นแถวๆ อังกฤษ เช่นพวก Draft Horse หรือม้าใช้งานในฟาร์มที่มีส่วนสูงถึง 18 แฮนด์ ดังนั้นม้า TB จึงมีรูปร่างเพรียวสูงใหญ่แต่มีขาเรียวเล็ก ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีในนามของม้าแข่ง   ลักษณะเด่นของม้า Tb คือ สูง เพรียว แข้งขายาว ส่วนสูงที่วัดได้ถึงตะโหนกประมาณ 15.2 -17 แฮนด์ สีที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นสีเดียว เช่น สี Bay , Brown ,Chestnut หรือสี Grey และสีที่พบน้อยคือ สี Roan สีพาโลมิโน และ สีขาวแบบ White   เป็นม้าที่จัดว่าเป็นสายเลือดร้อน หรือ Hot Blood  ประเทศแหล่งกำเนิดคือประเทศอังกฤษ  ประโยชน์ใช้สอยคือ   ใช้แข่ง ขี่ข้ามสิ่งกีดขวาง เดรสสาจ    และเป็นพ่อม้าที่ใช้ปรับปรุงพันธุ์ม้าพื้นเมือง (Upgrade)
การพัฒนาสายพันธุ์ เชื่อกันว่าใน ระยะแรกหรือประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ได้มีการนำม้าอาหรับไปผสมไขว้กับแม่พันธุ์พื้นเมือง ที่เกาะอังกฤษ โดยสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่ามีการพัฒนามาจากพ่อม้าสามตัว ที่นำเข้ามากับแม่ม้า ประมาณ 76 ตัว ที่เป็นสายอาหรับหรือ บาร์บของสเปน   หลังจากนั้นจึงแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก โดยใน ค.ศ. 1730 ได้มีการนำเข้าไปยังอเมริกาเหนือ ใน ค.ศ. 1814 ถูกนำเข้าไปในออสเตรเลีย   และนำเข้าไปยังยุโรปและญี่ปุ่นในประมาณ คริสศตวรรษที่ 18   โดยปัจจุบันมีม้า Tb ในอเมริกาแห่งเดียวถึง หนึ่งล้านสามแสนตัว และลูกม้าที่ขึ้นทะเบียนอีกปีละประมาณ 120,000 ตัว 
พ่อม้าหลักสามตัวแรกคือ เจ้า ไบร์ลี่ เตอร์ก Byerly Turk (1680s),เจ้า ดาร์ลี่ อาระเบียน  the Darley Arabian (1704), และเจ้า ก็อดโดฟิน อารเบียน  the Godolphin Arabian  (เป็น ที่น่าสังเกตว่าเจ้าก็อดโดฟิน นี้เป็นต้นกำเนิดของม้าเกือบจะทั่วโลก)    นอกจากนี้ยังมีพ่อม้าอีกสองตัวที่ได้รับการยอมรับคือ  เจ้าอัลค็อก อาระเบียน Alcock Arabian และเจ้า บราวโลว์ เติร์ก Brownlow Turk
ลูกหลานของสามพ่อม้าหลักดังกล่าวที่สืบทอดสายเลือดคือ
1.      สายก็อดโดฟินคือ เจ้า แม็ทเค็ม Matchem ผู้เป็นหลานปู่  
2.      สายเบอร์ลี่ เตอร์ก เจ้า ฮีร็อด Herod ( หรือ King Herod)  
3.      สาย เบอร์ลี่ เตอร์กคือ เจ้า อีคลิป Eclipse เจ้าสุริยุปราคาผู้ไม่เคยแพ้ใคร    เนื่องจากเจ้าตัวนี้เป็นม้าแข่งและในประวัติไม่เคยแพ้ใครเลย 
ม้า Tb ที่นำมาเป็นม้าแข่งนั้นได้มีการถกเถียงกันในวงกว้างว่าอาจเป็นการทรมานสัตว์ เนื่องจากผู้เลี้ยงม้าแข่งจะนำลูกม้าที่มีอายุเพียงสองปี ซึ่งจัดว่ายังไม่ โตเต็มที่เข้าแข่งขัน เนื่องจากม้า Tb มีหัวใจและกีบที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับลำตัว และอัตราการรับน้ำหนักขณะใช้ความเร็วสูง จึงทำให้การ แข่งขันบางครั้งจึงมีอันตรายต่อทั้งม้าและคน
 
การพัฒนาพันธุ์ม้า TB ในอังกฤษ
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้เริ่มสร้างสนามแข่งม้าอันสุดแสนคลาสสิคขึ้นมา สนามม้าเหล่านี้ได้แก่ สนามเซนต์ เลเกอร์สเต็กส์    สนามเอ็บสัม โอ๊กส์   สนามเอ็บสัม ดาร์บี้ สนามสองพันกินนี2,000 Guineas Stakes   และสนามหนึ่งพันกินนี 1,000 Guineas Stakes สนาม เหล่านี้บางแห่งห้ามนำม้าตัวเมียลงแข่ง (เช่นสนามหนึ่งพันกินนี ) แต่ส่วนใหญ่ไม่ห้าม ระยะทางที่ใช้ก็เริ่มตั้งแต่ 1600 - 2820 เมตร      โดยในสมัยก่อนหน้า (ยุคต้น ศต. 18) ได้กำหนดให้มีการใช้ระยะที่ยาวกว่าคือประมาณ 6.4 กม.   ดังนั้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงม้าเกิดการเปลี่ยนแนวทางการใช้ม้าแข่งมาเป็นม้าที่มี อายุน้อยลง 
การพัฒนาความสูงของ TB ในอังกฤษเริ่มในกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 19   โดยม้า เบย์ มิดเดิลตัน ที่มีความสูงกว่า 16 แฮนด์ (มากกว่าคู่แข่งประมาณ 1 แฮนด์ คือม้า ดาร์ลี่ อาระเบียน )     ผลของชัยชนะอย่างต่อเนื่องของ TB เหนืออาหรับ นั้นเน้นย้ำว่า การเพิ่มสายเลือดอาหรับลงในม้า TB นั้นไม่น่าจะเวิร์ก เพราะในปี ค.ศ. 1885 ได้มีการจัดแข่งม้า TB  ชื่อ ไอแอมบิค กับม้าอาหรับชื่ออาซิล การแข่งขันใช้ระยะทางประมาณ 4800 ม.   โดยเจ้าไอแอมบิคแม้ว่าต้องแบกน้ำหนักเพิ่มอีก 29 กก.   ก็ยังชนะเจ้าอาซิลไปได้โดยทิ้งห่างถึง 20 ช่วงตัว 
ย่างเข้าศตวรรษที่ 20 ความกลัวที่ว่าม้า Tb อังกฤษจะถูกม้าอเมริกันมาไหลบ่ามาบดบังรัศมี (สนามม้าของอเมริกันโดนปิดในปี 1913 ทำให้ม้าอเมริกันถูกส่งมาแข่งที่อังกฤษ ) ดังนั้นอังกฤษจึงออกมาตรการเจอร์ซี่,  Jersey Act    โดยได้มีการห้ามม้าที่ไม่สามารถหาบรรพบุรุษของตนเองได้จากเจนเนอรัล สตัด บุ๊ค มาบันทึกเพื่อทำสมุดทะเบียนประวัติได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อจุดประสงค์จะรักษาพันธุ์ TB บนเกาะอังกฤษเอาไว้ให้บริสุทธิ์ให้ได้    แต่กฎนี้มีผลต่อม้าจากอเมริกันน้อยมาก เนื่องจาก การทำสมุดประวัติทะเบียนม้าอเมริกัน American Stud book นั้นเพิ่งเริ่มทำหลังจากอังกฤษให้กำเนิด เจนเนอรัล สตัด บุ๊ค หรือที่เรียกว่า GSB มาแล้วประมาณ 100 ปี   จึงทำให้มีม้าอเมริกันได้เปรียบ เนื่องจากมีม้าเพียงตัวสองตัว เท่านั้น ที่ไม่สามารถหาประวัติย้อนไปยัง GSB ได้ แต่ภายหลังก็ได้แก้กฎนี้ให้สำหรับม้าที่สามารถตรวจสายพันธุ์ย้อนหลังไป ได้ 9 รุ่น จากสมุดทะเบียนประวัติมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมาก็เพียงพอสำหรับการขึ้น ทะเบียน สถานการณ์จึงคลี่คลาย
 ม้า TB ในอเมริกา
ม้าตัวแรกที่นำเข้าอเมริกาชื่อเจ้า บุนร็อค Bulle Rock โดยท่านซามวล กิสท์ เมื่อปี ค.ศ. 1730 ที่เมืองแฮนโนเวอร์ รัฐเวอร์จิเนีย และที่รัฐนี้ก็ถือว่าเป็นศูนย์กลาง ม้า TB แห่งอเมริกาเลยทีเดียวเชียว และในช่วงเวลาการปฏิวัติอเมริกานั้น ได้มีการระงับการนำเข้าม้าจากอังกฤษและเริ่มใหม่เมื่อมีการเซ็นสัญญาสงบ ศึก หลังสงบศึกก็ได้มีการนำเข้าพ่อม้าสองตัวกลั่นคือ   เจ้าเมสเซนเจอร์ผู้นำข่าวสาร (Messenger) กับม้า ดิโอเมด (Diomed)    พ่อม้าเมสเซนเจอร์นั้นหากจะว่าไปแล้วมีผลงานไม่โดดเด่นนัก แต่ก็ถือว่าเป็นต้นสายของม้าพันธุ์สแตนดาร์ดเบรต Standardbred ที่ลือลั่นของอเมริกันชน สำหรับพ่อม้า ดิโอเมด มีผลิตผลที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดคือลูกของเขา ม้าเซอร์ อาร์ชีSir Archy ได้แชมป์ที่สนามดาร์บี้ Derby Stakes  ภายหลังการปฏิวัติอเมริกา เมืองหลวงของม้าที่นั่นย้ายไปทางตะวันตก นั่นคือเมืองเคนตั๊กกี้และ เทนเนสซี
การแข่งม้าที่ถือว่าเป็นสุดยอดในยุค ต้นศตวรรษที่ 19 มีอยู่ไม่กี่ครั้ง   ครั้งแรกเมื่อปี 1823 ที่เมืองลองไอส์แลนด์ รัฐนิวยอร์ก เป็นการปะทะกันระหว่าง เซอร์อาร์ชี กับ อมริกันอีคลิป หรือเจ้าสุริยุปราคาดารารัศมี   สิบปีให้หลัง (ปี 1838) ก็มีปะทะกัน อีกครั้งหนึ่งระหว่าง ม้าบอสตัน กับม้าแฟชั่น ที่มีการวางเดิมพันฝ่ายละ สองหมื่นเหรียญ และแม็ทช์ล่าสุดก่อนที่จะเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้คือ การปะทะกันระหว่างม้า เล็กซิงตัน กับม้าเลอคอม หรือ เลอคอมเต (Lexington and Lecompte) การแข่งครั้งแรกจัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์ในปี 1854 และครั้งนั้นเจ้าเลอคอมเตชนะ ภายหลังได้มีการจัดแมชท์ล้างตาขึ้นในปี 1855 และในครั้งนี้เจ้าเล็กซิงตันเป็นผู้กำชัย และม้าดังทั้งสองตัวนี้ต่าง ก็เป็นลูกของพ่อม้าบอสตัน   ผู้สืบทอดสายเลือดมาจากเซอร์ อาร์ชี อัศวินโต๊ะกลมนั่นเอง
ม้าด่าง  The Paint Horse
ในปี ค.ศ. 1595 ชาวสเปนชื่อเฮอร์นันโด้ คอร์เตส แล่นเรือเพื่อค้นคว้าหาแผ่นดินใหม่ และเขาได้นำม้าสองตัว ใส่เรือไปด้วย โดยตัวหนึ่งจัดเป็นม้า ปินโต (ม้าด่างของอินเดียนแดงที่เราเห็นในหนัง) ที่มีถุงเท้าขาวทั้งสี่เท้า อีกตัวเป็นม้าด่างสีเทาดำ (ด่างขาว) และนี่จัดว่าเป็นต้นกำเนิดม้าด่างครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ใน ประวัติศาสตร์
ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 18 อินเดียนแดงเผ่าคอมมานเช่ ที่เราถือว่าเชี่ยวชาญเรื่องม้าที่สุดในโลก ก็หันมาจับม้าด่างจากฝูงมาฝึกขี่ จนเป็นสัญลักษณ์และได้รับความนิยมอย่างมาก หลักฐานเรื่องนี้สามารถดูได้จาก ภาพเขียนโบราณตามแหล่งต่างๆ
จน เมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการตั้งชื่อพนธุ์ม้าเหล่านี้ว่า ปินโต เพ้นท์ หน้าลาดด่างขาวแดง (Skewbald) หน้าลาดด่างขาวดำ (Piebald) จนล่วงเข้ากลางศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการจัดตั้งสมาคมม้าปินโตขึ้นมา และ ในปี 1962 จึงมีการตั้งสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) ตามมา
รี เบกก้า ไทเลอร์ ถือเป็นผู้ให้กำเนิดของสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) เหตุผลก็นื่องจากบรรดาผู้เลี้ยงม้าต่างรู้ดีว่าม้าด่างนั้นไม่มีข้อกำหนด อะไรเป็นที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นเพื่อลดข้อถกเถียงที่จะเกิดขึ้น เธอจึงคิดที่จะขึ้นทะเบียนม้าด่างให้เป็นเรื่องเป็นราวเสียที การตั้งสมาคมฯ ในตอนแรกเริ่มจากการโทรไปคุยกับกลุ่มผู้สนใจม้า และสอบถามเรื่องการขึ้นทะเบียน พร้อมกับจดข้อมูลที่ได้ไว้ในกระดาษแผ่นเล็กๆทีละแผ่น ใส่ลิ้นชักในครัวของเธอไว้ จนสุดท้ายมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ จนทางกลุ่มคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อรวบรวมคนคอแนวเดียวกันเข้า มาให้เป็นรูปธรรม
กลุ่ม เล็กๆนี้เริ่มจากการนำม้าด่างที่มีอยู่มาโชว์ตัวให้ผู้สนใจเข้ามาชมที่เมือง โอกลาโฮมา และมันก็เปรียบเสมือนกับการสุมเพลิงเข้าไปในใจกลุ่มคนที่มีใจรักม้าให้ร้อน ระอุขึ้นมา หลังจากนั้นจึงไปจัดโชว์ที่เมืองอื่นๆอีกสองสามเมือง จนสุดท้ายได้รับการยอมรับจากทางการ (Class Approved)
หลัง จากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ กลุ่มคนประมาณ 20 คนจึงมารวมตัวกันที่เท็กซัส เพื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นมา โดยม้าที่รีเบกก้าเริ่มนำมาขึ้นทะเบียนเป็นม้าด่างขาวดำแบบโทบิยาโน (Tobiano) ชื่อเจ้าบัณฑิต (Bandits) โดยได้นำมาจดทะเบียนเพ็ดดีกรีเป็นตัวแรก และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการออกหนังสือเวียนไปยังสมาชิกถึงความก้าวหน้าของ สมาคมอยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นปี 1962 เธอรวบรวมจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมด 150 คน   และขึ้นทะเบียนม้าได้ 250 ม้า
 ใน ปี 1963 -1964 มีการโยกย้ายสำนักงานไปเรื่อยๆ เนื่องจากจำเป็นต้องมีสถานที่เก็บข้อมูลของม้า และมีการเปลี่ยนตัวประธานสมาคม และในปีนี้มีจำนวนม้าทั้งสิ้น 1269 ม้า และมีสมาชิก 1005 คน และได้จัดให้มีการโชว์ระดับโลกขึ้นเรียกว่างานโชว์ม้าด่างโลกหรือคือ World Championship Paint Horse Show
ใน ขณะนั้น ที่เมืองอบีลีน เท็กซัส ก็มีการจัดตั้งสมาคมม้าควอเตอร์ด่างอเมริกัน ( American Paint Quarter Horse Association,APQHA) และทั้งสองสมาคมถกเถียงกันอย่างหนักเพื่อหาเหตุผลที่จะรวมกัน จนล่วงเลยมาถึงในปี 1965 จึงรวมกันสำเร็จ และใช้ชื่อใหม่ว่าสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา (American Paint Horse Association, APHA) ทั้งสองสมาคมสามารถรวบรวมสมาชิกได้ทั้งสิ้น1300 คน และจำนวนม้าทั้งหมด 3800 ม้า
 สำหรับ การขึ้นทะเบียนม้าด่างของอเมริกันนั้น มีข้อแม้ว่า พ่อและแม่ม้าจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าควอเตอร์แห่งอเมริกา AQHA หรือจ๊อกกี้คลับ  และอย่างน้อยพ่อ หรือแม่จะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าด่างของอเมริกา APHA
ลูกม้าที่เกิดมาด่าง จะได้รับการขึ้นทะเบียนมีศักดิ์และสิทธิ์ครบถ้วนทุกประการ แต่หากเกิดมาแล้ว ไม่ด่าง เขาก็ยังการันตีว่าเป็นม้ามีทะเบียนประวัติ แต่ม้าตัวนั้นไม่สามารถเข้าประกวดได้ เขาบอกว่าจะมีเวทีอื่นให้ประกวดแทน
ข้อแตกต่างระหว่างม้า Pinto  และ Paint Horse นั้น คือ ม้าปินโตคือด่างทุกสายพันธุ์ที่มีรอยด่างเกิดขึ้นบนตัว ส่วนม้า Paint Horse จะต้องเป็นม้าที่มีสายเลือด ควอเตอร์ เธอรัพเบรต ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้ว (ในอเมริกา) ดังนั้นเราจึงถือว่า ม้า Paint Horse ทุกตัวเป็น Pinto แต่ไม่ใช่ Pinto ทุกตัวเป็น Paint Horse  แต่สำหรับประเทศไทย ไทยโพนี่ได้ให้คำนิยามไว้ใช้เพื่อพลางดังนี้
ม้า ด่าง : Paint Horse คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน ที่มีเชื้อสายที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
ม้าแฟนซี หรือม้าปินโต : Pinto Horse คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน   ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมี ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.  
 
การแบ่งประเภทของม้าด่างตามหลักการของอเมริกัน
Tobiano  
ม้า ด่างแบบโทบิยาโน ปกติจะมีสีเข้มพาดที่บริเวณหน้าอกลงถึงโคนขา หรือเอวถึงโคนขาหลัง อาจจะเป็นไปได้ที่บริเวณขาหน้า หรือขาหลัง หรืออาจะมีทั้งสองขา ขาทั้งสี่ข้างต้องเป็นสีขาว   หรืออย่างน้อยตั้งแต่เข่าลงไปต้องเป็นสีขาว   ปกติรอยด่างเข้มมักเป็นรูปวงรี หรือกลม ที่พาดผ่านคอและหน้าอก ทำให้ดูคล้ายใส่เกราะ
 บริเวณหน้าอาจเป็นสีเดียว หน้าลาดใหญ่ หน้าจุด สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้ หางมักมีสองสี

ภาพพ่อม้าคูล ขณะอยู่ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณเบียร์

Overo
อ่านออกเสียงว่า โอแฟ๊โร่
โอแฟ้โร่จะมีลักษณะเด่นคือสีขาวจะไม่ตัดผ่านหลังม้าที่บริเวณตะโหนกม้าและที่หาง
โดยทั่วไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีขาหนึ่ง หรือทั้งสี่ขาเป็นสีดำหรือเข้ม
ส่วนใหญ่สีขาวจะเป็นสีข้างน้อย และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ และมักมีหน้าลาดยาวจรดจมูก หรือน้อยกว่านั้นก็ไม่เป็นไร
สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้
หางมักมีสีเดียว  

ภาพพ่อม้าโกลด์โนเบิลเอื้อเฟื้อภาพโดยคุณหนึ่ง กำแพงแสน

Tovero
(pronounced: tow vair' oh)
โทแฟ๊โร่
บริเวณหูมีสีดำ บางทีอาจจะลามไปถึงหน้าผากและตาทั้งสองข้าง โดยลูกนัยน์ตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจะเป็นสีฟ้า
ปากมีสีคล้ำหรือดำ และบางทีอาจลามไปถึงแก้มเป็นวง
มี จุดหรือรอยด่างใหญ่หรือเล็กบริเวณหน้าอก หากใหญ่มากอาจลามถึงคอ   และมีรอยด่างอีกจุดที่บริเวณท้องมาถึงเอว และอาจลามลงบริเวณหน้าขาหลัง
รอยด่างดังกล่าวอาจเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด
และมีจุดหรือรอยด่างอีกแห่ง บริเวณโคนหาง

ภาพพ่อม้าแจร์มิโน เอื้อเฟื้อภาพจากฟาร์มอรณัช วังน้ำเขียว
ม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ The Lipizzaner
the Lipizzaners in Thailand
ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้
1. แรกเกิดสีดำ หรือออกเทาๆ โตขึ้นสีจางลงและเปลี่ยนเป็นขาวในที่สุด หางและขนแผงคอสีขาว
2. หูเล็ก ตากลมโต คอสั้นหนา รูปร่างกำยำล่ำสัน เป็นมิตรกับคนง่าย ตัวผู้สูง 155-160 ซม. ตัวเมียสูงประมาณ 140-150 ซม.
3. กีบแข็งแรงทนทาน มีสีขาวหรือดำ ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องโรคกีบ
4. ใช้เป็นม้าโชว์ ม้าขี่เล่น ม้าสวยงาม
5. ม้าที่มีสายเลือดลิปิซานเนอร์แต่ไม่ใช่ Pure Breds จะเรียกว่า Part Breds, Part Lipizzaners
6. เป็นม้าที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าม้าสายอื่นๆ ที่โดยปกติจะใช้เวลา 3 ปี แต่ลิปิซานเนอร์จะใช้เวลา 4- 5 ปี จึงจะเริ่มเป็นหนุ่มหรือสาว เนื่องจากโครงสร้างใหญ่กว่าม้าปกติ
เชื่อกันว่าม้าสายพันธุ์ลิปิซานเนอร์ได้ถูกเพาะเลี้ยงที่เมืองลิปีซาน แห่งแคว้นคาร์เทจ เมื่อกว่า 2000 ปีมาแล้ว โดยม้าพันธุ์นี้มีสายเลือดที่สืบเชื้อสายมาจากม้าพันธุ์อาหรับและบาร์บของ สเปน ซึ่งเป็นม้าต้นตำหรับของสายพันธุ์อัลดาลูเชียนที่ยิ่งใหญ่ของสเปน
ถัดมาในยุคแขกมัวร์ครองอำนาจเหนือสเปน ก็ยังคงมีการนำอาหรับมาผสมอยู่บ้างประปราย และช่วงนี้ชาวสเปนที่อยู่ภายใต้การปกครองของแขกมัวร์ได้ส่งม้าออกไปยัง อิตาลี และที่เมืองเฟ็ดเดอริสเบอร์กประเทศเดนมาร์ก และที่อิตาลีก็ได้กำเนิดลิปิซานเนอร์ตัวเก่งต้นตระกูล “ นีอาโพลิตัน” ที่โด่งดังไปทั่วยุโรป
ในปี ค.ศ. 1562 ท่านอาร์คดุ๊ค แมกมิลเลียน ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งออสเตรียก็ได้เพาะเลี้ยงม้าสายสเปนเช่นกัน และอีก 18 ปีถัดมา ท่านอาร์คดุ๊ค คาร์ล ผู้ครองแคว้นออสเตรีย ก็ได้ตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ม้าชื่อว่า ลิปิซา ตั้งอยู่ที่เมือง คาร์สต ใกล้กับเมืองทริสตี
ท่านดุ๊กฯทราบดีว่า ในการเพาะพันธุ์ม้าเพื่อรักษาสายพันธุ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องมีการนำม้าพันธุ์ดีมาผสมเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันสายเลือดชิด ดังนั้น ท่านจึงนำม้าพันธุ์ดีของสเปนมาผสมเป็นช่วงๆ และบางครั้งก็ใช้ม้า(เข้าใจว่าเป็นพันธุ์อาหรับ) จากตะวันออกเข้าผสม และในประมาณ คริสศตวรรษที่17-18 จึงได้มีการนำม้าสายเลือด นีอาโพลิตัน มาที่ฟาร์ม ลิปิซา เพื่อ ไขว้สายเลือดอีกครั้งเพื่อให้ห่างจากสายเลือดของม้าจากเดนมาร์กและเยอรมัน
ในปี 1809-1815 เกิดภาวะแห้งแล้งบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงม้า และในเดือน พ.ค. 1915 จึงได้มีการแยกม้าลิปิซานออกเป็นสองฝูง ฝูงแรกถูกนำไปที่ลักเซนเบิร์ก ใกล้เวียนนา และอีกฝูงถูกนำไปที่แคล็ดรัพ
ในปี 1918 เกิดภาวะล่มสลายของราชวงศ์แฮปส์เบิร์กและจักรวรรดิออสเตรีย ลิปิซาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี รัฐบาลอิตาลีและออสเตรียได้แบ่งม้าออกเท่าๆกัน ออสเตรียนำมาที่ได้ไปเลี้ยงต่อที่ฟาร์ม ไพเบอร์ เมืองสไตน์มาร์ก โดยฟาร์มไพเบอร์นี้เป็นของเอกชน เพาะเลี้ยงม้าสำหรับใช้ในกองทัพ
สำหรับประเทศออสเตรเลีย (ค้นจาก Lipizzaneraustralia.org) ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมผู้จดทะเบียนม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ Australian Lipizzaner Registry (ALR)
เมื่อปี 1995 หรือประมาณ 10 กว่าปีมานี่เอง โดยเขาอ้างเหตุผลแรกว่าม้าพันธุ์นี้ใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องขึ้นทะเบียนไว้ เหตุผลอีกข้อนึงคือ ม้ามีท่าทีการเยื้องย่างที่สง่างาม เหมาะแก่การอนุรักษ์ อีกข้อถัดมาคือการเป็นม้าตั้งแต่ยุคบาโรก ซึ่งจัดว่าเป็นยุคคลาสสิก และข้อสุดท้ายคือ หากใครเลี้ยงม้าพันธุ์นี้แล้วจะรู้ว่า มันคือโรลสรอยซ์แห่งม้านั่นเอง และม้าลิปิซานเนอร์ของออสเตรเลียก้ได้รับการยืนยันจาก ดร. ยูเลลา (Dr. Oulehla) อดีตอาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนสอนขี่ม้าสไตล์สเปนที่กรุงเวียนนาก้ได้ให้คำ จำกัดความลิปิซานเนอร์ของที่นี่ว่า ” สุดยอดความสวยงามสไตล์บาโรก (of a wonderful Baroque type)”
เกล็ดที่ได้จากการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์ก็คือ ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวและไฟไหม้ครั้งใหญ่ในประเทศ อิตาลี เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1600 ทำให้ม้าสายนี้เกือบสูญพันธุ์ และในประมาณ ค.ศ. 1714 จึงได้เริ่มเพาะม้าสายนี้ใหม่โดยเริ่มจากพ่อม้าหลัก 5 ตัวดังรายชื่อดังนี้
• Pluto จากประเทศเดนมาร์ก
• Conversano ม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan
• Neapolitano line, กลุ่มม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan ที่เกิดในปี 1790
• Maestoso, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ หรือว่าสายแคล็ดรัพ
• Favory, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ (Kladruby stud)
ในปี 1880 จึงได้มีการรับรองพ่อม้าเพิ่มอีกคือ
• Siglavy ตัวนี้เป็นม้าสายอาหรับ ที่ฝรั่งเขาบอกว่าทำให้ม้าลิปิซานเนอร์เบาและบางลง
นอกจากนี้ยังมีพ่อม้าจากยุโรปที่ได้รับการรับรองอีก 2 ตัวคือ (จะเห็นว่าแม้จะเป็นทวีปเดียวกันเขายังกันกันเองเลย)
• Tulipan, จากประเทศโครเอเชีย เกิดในปี 1850
• Incitato, พ่อม้าจากฮังการี เกิดในยุค 1810's
การที่ พูดถึงลิปิซานเนอร์โดยไม่กล่าวถึงที่ประเทศออสเตรีย เห็นที่จะแปลกประหลาด เหมือนมาเมืองไทยไม่ได้ดูช้าง ผู้สนใจค้นคว้าสามารถหาดูได้ที่ Piber.com ที่นี่คือเมืองไพเบอร์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยเขาจะมีประวัติท้าวความเรื่องของม้าสายพันธุ์นี้ที่ถูกย้ายไปโยกมา ตั้งแต่ยุดจักรวรรดิ ออสโตร - ฮังการเรี่ยน เรืองอำนาจ และสุดท้ายการนำม้ากลับมาที่เมืองไพเบอร์ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดก็เพิ่งกระทำในประมาณปี 2005 นี่เอง ในโอกาสนี้เขาเลยถือโอกาสผนวกรวมโรงเรียนสอนขี่ม้า Spanish Riding School ที่ลือลั่น เข้ากับแหล่งเพาะพันธุ์ม้า The Piber Stud ที่เกรียงไกร สำหรับที่นี่ หากท่านสนใจจะเพาะม้าสายพันธุ์นี้ เขามีทั้งพ่อม้าจำหน่าย Stallions Listed for Sale โดยมีราคาตั้งแต่ 3000-4000 ปอนด์ (คิดเป็นเงินไทยไม่รวมภาษีก็ประมาณ 200,000- 300,000 บาท หากรวมภาษีนำเข้าก็ประมาณ 500,000  นอกจากนี้เขายังมีแม่ม้าที่ฝึกแล้วหรือยังไม่ฝึก (ฝึกเบื้องต้นเรียกว่า Broken) ราคาประมาณ 3000-5000 ปอนด์ ม้าตอนฝึกแล้วพร้อมใช้งานก็มีครับ
ที่สำคัญคือเขาจะมีประวัติสายพันธุ์ (Ped Degree) ให้ท่านคลิกเข้าตรวจสอบได้ก่อน หากไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้ออีก เด็ดจริงๆ
ม้าลิปิซานเนอร์มีเอกลักษณ์อีกอย่าง ที่สังเกตุเห็นได้โดยง่ายคือ การมีสันจมูกโค้งลงหาพื้นดิน กลับทางกับม้าสายอาหรับที่มีสันจมูกเชิดงอนขึ้น และเนื่องจากม้าพันธุ์นี้ทั่วโลกมีเหลือแค่ประมาณ 3,000 ตัว จึงได้ขึ้นทะเบียนไซเตสเป็นสัตว์อนุรักษ์ไว้ สำหรับในเมืองไทย หากใครต้องการผสมพันธุ์ก็สามารถหาพ่อพันธุ์ได้จากตามแหล่งต่างๆ ดังนี้

1. พ่อม้ามิลเลอร์ของ ภูผาหมอก โคราช (ตัวในรูป)
2. พ่อม้า Milky Way ของคุณต๋อ คอกม้าธาราโชติ ที่ จ.ระยอง
 3. พ่อม้าตัวที่สวยที่สุดในประเทศไทยของคุณชำนาญ อยู่ที่ จ. เชียงใหม่  
4. พ่อม้าของคุณเอ็ดดี้ ปัจจุบันอยู่ที่ชัยนาท  ตัวนี้เป็นพ่อลิปิซานเนอร์สายเลือดใหม่ที่น่าจะมาแรงที่สุด

ม้าพันธุ์ควอเตอร์หรือ ควอเตอร์ฮอร์ส หรืออเมริกันควอเตอร์ฮอร์ส  
เป็น ม้าที่มีชื่อเรียกตามลักษณะการแข่งระยะทางประมาณ ¼ ไมล์ ซึ่งเป็นระยะที่ม้าประเภทนี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุด สถิติที่บันทึกเอา ไว้ว่ากันว่าสามารถทำความเร็วได้ถึง 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (เกือบ 90 กม.ต่อ ชม.) ม้าพันธุ์นี้จัดเป็นม้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกาจนยุคปัจจุบัน และมีจำนวนม้าสายพันธุ์นี้ทั่วโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้มากกว่า 5 ล้านตัว
ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้ คือ ล่ำสันบึกบึน สูงประมาณ 150-155 ซม. คอสั้น หน้าอกกว้างกำยำ   สะโพกกลมบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดอันมหาศาลของพละกำลัง เชื่อง เมื่อฝึกดีแล้วจะสงบนิ่งมาก เหมาะสำหรับ การขี่เล่นเพื่อสันทนาการ   เช่น การขี่ข้ามภูมิประเทศ   การขี่ม้าอ้อมถังเบียร์ หรือในการขี่ม้าจับลูกวัวของคนอเมริกัน  
ประวัติม้าสายนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ประมาณ ปี ค.ศ. 1600 ที่ขณะนั้นชาวประเทศสหรัฐอเมริกายังคงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ได้นำเข้าม้า เธอรัพเบรตจากฝั่งอังกฤษ ไปผสมกับม้าพื้นเมืองที่เรียกว่า จิ๊กกาซอว์ ที่มีสายเลือดมาจากม้าสายไอบีเรียน ม้าสายอาหรับและม้าสายสเปน โดยม้าที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษในตอนนั้นคือม้า เธอรัพเบรต ที่มีชื่อว่า ยานัส (Janus) ที่เกิดในปี 1746 ซึ่งเป็นหลานปู่ของม้าชื่อก็อดโดฟิน อาเบี้ยน (Godolphin Arabian) และได้ถูกนำเข้าไปยังรัฐเวอร์จิเนียเมื่อปี ค.ศ. 1756 เจ้ายานัส นี้ได้ส่งยีนส์ผ่านไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานทำให้มีผลผลิตของ ม้าแข่งเสี้ยวไมล์มากขึ้น และในขณะเดียวกันการแข่งม้าแบบเสี้ยวไมล์เริ่มได้รับความนิยม ในหมู่ประชาอาณานิคม และโดยที่สนามแข่งในอเมริกาที่มักจะมีช่วง ทางตรงสั้นๆ จึงทำให้เมื่อมีการแข่งขันครั้งใดม้าควอเตอร์ไมล์เหล่านี้มีชัยเหนือ เธอรัพ เบรต อยู่เสมอ ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายมันก็ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ม้า ควอเตอร์ไมล์ และกลายเป็นควอเตอร์ฮอร์สในที่สุด
ในปี ค.ศ. 1800 เริ่มมีคนบุกเบิกไป ทางตะวันตกของอังกฤษมากขึ้น ผู้คนเหล่านี้ต้องการม้าที่ทรหดอดทนต่อสภาพแวด ล้อมมาใช้งาน จึงนำม้าสายพันธุ์ต่างๆมาเพาะเลี้ยง เช่นม้าของสเปน เม็กซิโก รวมทั้งม้าป่าพื้นเมือง และม้าของชนเผ่าอินเดียน แดง เช่นเผ่าโคมันเช่ เผ่าโชโชนิ และเผ่า นีซ เพิร์ซ( Nez Perceไม่ รู้ว่าอ่านอย่างนี้หรือเปล่า) ดังนั้นจึงนำม้าควอเตอร์ไมล์ไปผสม จนพบว่าลูกม้าที่ได้มีลักษณะเด่นที่เรียกว่า "cow sense "   หรือม้าที่มีลักษณะเด่นด้านการต้อนวัว หรือรู้ใจวัวมากที่สุด 
ในประมาณ ปี ค.ศ. 1940 เหล่าคนเลี้ยงม้าอเมริกันได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาพันธ์ม้าควอเตอร์ขึ้น และเมื่อจัดทำสมุดประวัติทะเบียนม้าขึ้นมาในสมุดประวัติทะเบียนม้าจะมีหน้า สำหรับจดทะเบียนมาตรฐานและจัดทำหน้าพิเศษ(Appendix)  ให้ม้าที่เป็นลูกผสมกับม้าควอเตอร์กับม้าสายพันธุ์เธอรัพเบรต ได้มีโอกาสขึ้นทะเบียนด้วยเหล่านี้ โดยในระยะแรกถือว่าลูกม้าเหล่านี้ยังไม่ ได้ขึ้นทะเบียน 100 % แต่จะสามารถยอมรับได้เมื่อมีรูปทรง (Conformation) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีผลงานการแข่งขันที่โดดเด่น ก็จะได้รับการบรรจุชื่อเข้าไปในสมุดประวัติทะเบียนมาตรฐานทันที
การจัดทำสมุดประวัติที่เปิดโอกาสให้ ม้าที่มีเชื้อสายพันธุ์อื่นสามารถเข้าจดทะเบียนได้นั้น (Open Stud Book) ไม่ใช่สิ่งใหม่และจัดเป็นเรื่องปกติในอเมริกา และทะเบียนประวัติม้าของเขาก็ไม่ถือว่าเป็นไบเบิลแบบเป๊ะๆ   ม้าที่เป็นลูกผสมสายอื่นเช่น แอพพอลูซ่า อาหรับ คริโอโร ฯ ก็ยังมีโอกาสได้ขึ้นทะเบียนเช่นกัน นอกจากนี้ แล้ว ม้าพันธุ์ใหม่ชื่อพันธุ์ว่า อัสเตก้า ที่เป็นลูกผสมของควอเตอร์และอันดาลูเชี่ยนก็ยังสามารถนับญาติมาเป็นควอเตอร์ ได้เลย
พ่อพันธุ์ที่เป็นต้นกำเนิดของม้า ควอเตอร์สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นม้าชื่อ เจ้าสตีลดัส (Steel Dust) ที่เกิดที่เมืองอิลลินอยย์ เมื่อ ค.ศ. 1843  หลังจากนั้นจึงถูกนำไปที่เท็กซัส ม้าตัวนี้สูงประมาณ 15 แฮนด์ และหนักประมาณ 550 กก. โดยเจ้าสตีลดัสนี้หากแกะรอยตามสายเลือดไปก็จะพบว่าเป็นลูกหลานของเซอร์ อาร์ชี (Sir Archy)  พ่อม้าที่มีสายเลือด เธอรัพเบร็ต ในระยะเริ่มต้นที่เจ้าสตีลดัสผลิตทายาทออกมาและยังไม่มีชื่อเรียกสายพันธุ์ อย่างเป็นทางการนั้น ม้าสายพันธุ์นี้จึงถูกเรียกว่าพันธุ์ สตีลดัส ไปพลางๆก่อน ภายหลังเมื่อมีการขึ้นทะเบียนและมีชื่อเรียกสายพันธุ์ม้าแล้วจึงเรียกว่าม้า ควอเตอร์ฮอร์ส
ในระยะที่สตีลดัสกำลังเป็นพ่อม้า อยู่นั้น ก็มีพ่อม้าเด่นตัวอื่นอยู่เช่นกัน ตัวอย่างเช่น เจ้า คูเปอร์ บอททอม เจ้าโอลด์ ชิโลหรือ ชิโล (Shiloh) เจ้าล็อค ลอนโด   และส่วนใหญ่ม้าเหล่านี้จะสืบเชื้อสายมาจาก เซอร์ อาร์ชี แทบทั้งสิ้น   นอกจากนี้ ในปี 1889 ก็มีพ่อม้าโนเนมที่ชื่อ ทราเวลเลอร์ แต่ปรากฏว่าให้ลูกสุดสวยทุกตัว
พ่อม้าที่จัดได้ว่าเป็นพ่อม้าที่มี อิทธิพลสูงสุดต่อการผลิตลูกสายควอเตอร์คือ พ่อม้าชื่อเจ้า ปีเตอร์ แม็กกิว (Peter McCue) ซึ่งเป็นลูกม้าที่เกิดในปี 1895 โดยในระยะแรกได้ขึ้นทะเบียนเป็นม้าพันธุ์เธอรัพเบร็ต แต่ภายหลังพบว่าเขาเป็นสายเลือดของเจ้า ชิโล  และหากตรวจสอบสายเลือด ของเจ้าแม็กกิวนี้จะพบว่า ม้าที่ขึ้นทะเบียนก่อน เดือน ม.ค. 1948 พบว่าเป็นลูกหลานของเจ้าแม็กกิว 2,304 ม้า (จากจำนวนม้าทั้งหมด 11,510 ม้า) และม้าที่มีลูกรองลงมาจากเจ้าแม็กกิวก้คือเจ้า ทราเวลเลอร์นั่นเอง
ม้าพันธุ์ฟรีเชี่ยน   Friesian, the Black Beauty
ม้าพันธุ์ฟรีเชี่ยนเป็นม้าที่คนไทย ไม่ค่อยคุ้นเคยนัก เนื่องจากเป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์หรือฮอลันดาในสมัยโบราณนั่นเอง ในปัจจุบันก็เริ่มได้มีกลุ่มคนรักม้าได้เริ่มนำฟรีเชี่ยนเข้ามาเมืองไทยบ้าง แล้ว เท่าที่ทราบก็มีคอกของน้องพลอย แห่งปางช้างอยุธยา และอีกแห่งคือภูผาหมอก ที่มีพ่อม้าเข้าประจำการแต่มิตรรักนักเพลงแล้ว    ม้าสายนี้มีลักษณะเด่นคือมีขนสีดำมันสนิทไม่มีสีอื่นแซม การวางเท้าเวลา ทร็อทยกขาหน้าสูงมาก แลดูสวยงาม อุปนิสัยนิ่งว่านอนสอนง่ายและติดไปทางค่อนข้างจะคึกคัก ร่างกายกำยำล่ำสัน ส่วนสูงมีตั้งแต่ 15 -17 แฮนด์ แผงขนคอหนาดกรวมทั้งขนหน้าผาก หางยาวแตะพื้น ข้อเท้ามีพู่ห้อยระย้าสวยงาม (feather )  
ม้าฟรีเชี่ยนมีแหล่งกำเนิดที่เมือง ฟรีซแลนด์( Friesland) ประเทศเนธอร์แลนด์ ดินแดนกังหันสีส้ม   แม้ว่าสัดส่วนของเขาจะละม้ายไปทางม้างาน (draft horse)    แต่ฟรีเชียนนั้นมีรูปร่างที่สง่างามและแลดูปราดเปรียวกว่าเยอะ ระหว่างยุค กลาง ม้าสายนี้เป็นที่ต้องการของทหารอย่างแรง เพราะต้องการเอาไปให้อัศวินที่ใส่เกราะเหล็กออกทำการรบ ความต้องการใช้ม้าใน สงครามนั้นส่งจึงผลให้ม้าสายนี้เกือบสูญพันธุ์ไปหลายหน   จนล่วงมาถึงในยุคปัจจุบันม้าพันธุ์นี้กลับเป็นที่นิยมนำมาขี่เล่น ใช้เทียม รถม้า และมีบ้างที่นำมาใช้ขี่แบบเดรสสาจ
(เอื้อเฟื้อภาพจาก wigipedia.org)
การมีสีดำของม้าสายนี้นั้นเน้นว่า ต้องดำแบบดำมัน โดยไม่อนุญาตให้มีสีอื่นเข้าปะปน ยกเว้นมีจุดขาวที่หน้าผากเท่านั้น ที่ อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนได้ แต่ก็หายากยิ่งนัก และสีอื่นที่พอจะหาได้คือสี Chestnut  ความสูงของม้าตัวเมียและม้าตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15.2 แฮนด์ (157 ซม.)   ตัวผู้จะสูงกว่าเล็กน้อย
ในปัจจุบันสามารถแบ่งม้าฟรีเชี่ยนออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ สวยคลาสสิกหรือสวยแบบบาโรก Baroque ลักษณะเด่นของประเภทนี้คือการมีรูปร่างในแบบ ม้าสเปน นั่นคือ ลำคอโก่งเหมือนคันศร มีกระดูกใหญ่ มัดกล้ามเยอะ หูเล็ก ขาสั้นและแข็งแรง   อีกประเภทคือ สวยแบบสปอร์ต   ประเภทหลังนี้จะมีกระดูกที่เรียวเล็กกว่า ไม่เน้นรูปร่างเหมือนประเภทแรก แต่จะเน้นลีลาการย่างก้าว และเป็นที่นิยมในเวทีประกวดมากกว่าประเภทแรก 
บางกระแสเชื่อกันว่า ม้าสายนี้สืบทอดสายพันธุ์มาจากม้าจากป่าหรือป่าดำ Black Forestของประเทศอังกฤษ (ประเทศอังกฤษเขานำม้าไปปล่อยในป่าชุมชนของเขา และเมื่อม้ามีลูกหลานแพร่ พันธุ์มากเข้าก็ให้จับขายนำเงินเข้า อบต. ) โดยในยุคโรมันเรืองอำนาจ ได้มีการนำเข้าม้าบรรพบุรุษสายนี้ไปยังอังกฤษ ภายหลังก็ได้ผสมกับม้าพื้น เมืองของอังกฤษ เช่น ม้า ไชร์ ม้าไคล์เดสเดล ม้าพันธุ์เฟลโพนี่ และเดลโพนี่ (the Shire horse, Clydesdale, Fell Pony and Dales Pony ) และปล่อยทิ้งไว้ในป่า ภายหลังคนเห็นลักษณะดีก็เริ่มเอามาพัฒนาพันธุ์
สมุดทะเบียนประวัติม้าสายนี้เรียกว่า Friesch Paarden Stamboek  หรือ เรียกย่อๆเป็นที่รู้กันว่า FPS เริ่มมีในปี ค.ศ. 1879 โดยกลุ่มชาวบ้านในเมืองดัชท์   โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่ออนุรักษ์ม้าสายนี้ให้เป็น Pure Bred เอาไว้ให้ได้ 
แม้ว่าฟรีเชี่ยนจะมีอายุแค่ 300-400 ปี แต่มันก็จัดว่าเป็นม้าต้นสายของม้านอร์ฟอร์ก ทรอทเทอร์ (ต้นสายของแฮกนี อีกทอดหนึ่ง) และม้ามอร์แกน ในเมืองไทยปัจจุบันเริ่มมีการนำพ่อม้าฟรีเชี่ยนไปปรับปรุงสาย พันธุ์ม้ากันบ้างแล้วอาทิเช่น ภูผาหมอก
 
ม้าแคระ Miniature horse
ม้าแคระหรือที่คนไทยใช้ศัพท์เรียก อย่างไม่ถูกต้องมาช้านานว่า Pony คือม้าแคระ แต่จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะคำว่าม้าแคระที่ตรงๆน่าจะใช้คำว่า Miniature Horse ซึ่งระยะหลังหลังจากที่ไทยโพนี่ได้เริ่มรณรงค์การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคน รักม้าระดับรากหญ้าในระยะหนึ่ง ก็ได้พบว่าเริ่มมีคนเข้าใจแล้วว่า ม้าโพนี่จริงๆ แล้วมีส่วนสูงได้ถึง 140-145 ซม. หรือในระดับที่ผู้ชายไซส์มาตรฐานเอเชียขี่ได้สบายๆ   อีกประการหนึ่งคือ ม้าที่เรียกว่าโพนี่นั้น เหมาะที่จะใช้สำหรับขี่เล่น หรือเลี้ยงไว้เพื่อ ความเพลิดเพลินยามได้ดูม้าเล็มหญ้า หากเป็นคอคนรักม้าจริงๆ แล้ว แค่นั่งมองม้าก็นั่งได้ทั้งวัน มิมีเบื่อ
วันนี้จึงขอเสนอม้าแคระมาให้ท่านได้รู้กัน อีกแล้วครับ นั่นคือเอามาจาก วิกีพีเดียเหมือนเดิม (www.wikipedia.org)   ม้าแคระนั้น การที่จะบอกว่าม้าแคระจริงหรือไม่ก็ต้องดูที่ส่วนสูง โดยเขาจะกำหนดให้มีความสูงไม่เกิน 82-91 ซม. คือหากจะว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าม้าไทยเสียอีก เพราะว่าม้าไทยตัวเมียโดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 115-120 ซม. และตัวผู้จะสูงประมาณ 125-130 ซม.    และหากท่านสมาชิกต้องการเพาะพันธุ์ม้าแคระในเมืองไทยผมก็แนะนำว่าควรจะเริ่ม จากตัวที่มีส่วนสูงไม่เกิน 100 ซม.
(เอื้อเฟื้อภาพจาก wigipedia.org)
 
ประโยชน์ของม้าแคระโดยทั่วไปจะใช้ สำหรับช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เช่น ใช้จูง แทนสุนัข   การเลี้ยงดูก็ง่าย เพราะว่ามีคุณสมบัติเหมือนม้าทุกประการ แต่ก็ต้องปล่อยให้เขาอยู่ในสนามหญ้า เป็นครั้งคราว และม้าแคระเหล่านี้จะมีอายุยืนมากกว่าม้าทั่วไป โดยมีอายุ เฉลี่ย 25-35 ปี
ปัจจุบันที่อเมริกา มีการขึ้นทะเบียนอยู่สองสำนัก สำนักแรกคือ สมาพันธุ์ม้าแคระแห่งอเมริกา American Miniature Horse Association (AMHA) และอีกสำนักคือ สำนักทะเบียนม้าแคระแห่งอเมริกา the American Miniature Horse Registry (AMHR).
สำนัก AMHA คือสำนักที่ตั้งไว้จดทะเบียนม้าแคระในปี ค.ศ.1978 โดยสำนักนี้จะเป็นการขึ้นทะเบียนม้าแคระที่มีลักษณะของ “ ม้าใหญ่ย่อส่วน “   โดยกล่าวกันว่าหากดูรูปม้าของค่ายนี้โดยไม่บอกส่วนสูงก็แทบจะไม่เห็นความแตก ต่างว่าเป็นม้าใหญ่หรือม้าแคระ    สำนักนี้กำหนดส่วนสูงของม้าต้องไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม.
สำนัก AMHR เป็นสำนักที่ใช้ขึ้นทะเบียนม้าแคระสายพันธุ์ อเมริกันเช็ดแลนด์ American Shetland ก่อตั้งเมื่อปี 1972 สำนักนี้แบ่งม้าออกเป็น 2 ดิวิชั่น ดิวิชันแรก (A) คือม้าที่มีส่วนสูงไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม. อีกดิวิชั่น (B) คือม้าที่สูงระหว่าง 34-38 นิ้ว หรือ 82 - 91 ซม. 
ม้าพันธุ์โฮลสไตน์ (The Holsteiner)
 
 ม้าพันธุ์นี้กับม้าฮาโนเวอร์เลี่ยนถือว่าชิดกันมาก เชื่อกันว่ากำเนิดที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่แคว้น เชสวิก โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) รูป ร่างสูงใหญ่สง่างาม ส่วนสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 165-175 ซม. เป็นม้าที่โตจนเรียกว่าเป็นน้องๆ ช้างได้ทีเดียว (รองๆจากพวกม้างานหรือ Draft Horse ที่โตได้ถึง กว่า 180 ซม.) ม้าสายพันธุ์นี้สามารถหาประวัติย้อนหลังเมื่อแรกกำเนิดสายพันธุ์ที่ประ มาณคริสศตวรรษที่ 14 ม้าโฮลสไตน์จะมีลักษณะเด่นคือ หนา สูงใหญ่ ลำตัวอ้วนกลม   อกชันกว้าง (เหมาะสำหรับกระโดดข้าเครื่องกีดขวาง)   หลังยาวเมื่อเทียบกับช่วงขา ช่วงขาสั้น คอสั้น กระดูกใหญ่ นิยมใช้เป็นม้ากระโดดและม้าลากรถ  
ข้อเด่นของม้าตัวนี้คือ สามารถเลี้ยงได้ทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะและที่แห้ง 
บางกระแสเชื่อกันว่าม้าโฮลสไต์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อม้าสาย นีอาโพลิตัน Neapolitan ในยุคศตวรรษที่ 16-17 หลังจากนั้นก็แพร่สายพันธุ์ไปทั่วยุโรป ล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 เกิดกระแสนิยมม้าTB อย่างแรงจากอังกฤษ   จนทำให้ม้าโฮลสไตน์คล้ายดั่งถูกลืมจากวงการม้า จวบจนถึงปัจจุบัน ก็เริ่ม กลับมานิยมเจ้ายักษ์ใหญ่ตัวนี้อีกครั้ง
เอื้อเฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ชื่อเจ้า มังกรทอง สูงประมาณ 17 แฮนด์ จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก 57 หมู่ 5 ตำบลเกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
 

0 comments:

Post a Comment

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court