Pages

Sunday, September 18, 2011

การฝึกม้า

มูนสไมล์  อนาคตพ่อม้าหลักของเราในอนาคต กำลังรับการใส่อานเพื่อสร้างความคุ้นเคยครั้งแรก
 การฝึกม้า  Horse Training
 ก่อนการฝึกม้า เราควรทราบว่าภาษากายของเขาเป็นอย่างไร เพื่อจะได้สะดวกต่อการสื่อสารกับเขา
ม้าเป็น สัตว์ที่เป็นเหยื่อโดยธรรมชาติ และวิธีการเมื่อม้าพบคู่ต่อสู้หลักคือการหนี และมีหลักสังเกตอากับกริยาของ ม้าโดยสังเกตจากอาการต่างของม้าได้ง่าย เช่น
-การเอียงหูไปข้างหน้าหรือข้างหลัง การกระทืบขาหน้า หรืออื่นๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างของกริยาต่างๆมาให้ทราบอย่างคร่าวๆ ดังนี้
- หูเอียงไปข้างหลังสองข้าง มีอารมณ์โกรธ หวงถิ่น หวงลูก หวงอาหาร อย่ามายุ่งกับฉัน
- เอียงไปข้างหน้าเพียงข้างเดียว ยังลังเลใจ ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อดี แต่มีแนวโน้มเริ่มรับฟังแล้ว มีสัญญาณที่ดี
- เอียงไปข้างหน้าพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมจะรับฟัง พร้อมรับการฝึก ลองบอกมาซิว่าจะให้ฉันทำอะไร
กระทืบเท้าหน้า ตะกุยขาหน้า   อย่าขังฉันหรืออย่าล่ามฉันไว้อย่างนี้ ปล่อยฉันเดี๋ยวนี้นะ ไม่อย่างนั้นไม่ยอม เพราะรำคาญเต็มทีแล้ว 
ยืดคอ พร้อมสูดจมูกไปในอากาศพร้อมยื่นคอไปข้างหน้าสุดๆ    ฉันพอใจมาก อารมณ์ดี ฉันถูกใจเธอ มาเป็นแฟนกันนะ
กลิ้งลงไปนอนกับพื้น   เกลือกตัวกับพื้นกลิ้งไปกลิ้งมา วันนี้อากาศดีจัง   ฉันกินอิ่มแล้วด้วย อยากอาบแดด
ก้มหัวย่อตัวต่ำ ยื่นหน้าเดินเข้าหาและยิงฟัน   อย่าทำเราเลยนะ เราพวกเดียวกันนะ   อย่าทำฉัน
การฝึกขี่ม้าไทยครั้งแรกๆ  อาจให้เด็กลองขึ้นหลังดู ม้าจะได้รับน้ำหนักไม่มากนัก
ข้อแนะนำ อย่าเข้าหาม้าหรือพยายามให้บทเรียนขณะเขากินอาหาร 
 เมื่อเรียนรู้ภาษากายของม้าแล้วหลังจากนั้นจึงนำม้าไปฝึก
และ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร ไทยโพนี่จึงนิยมที่จะฝึกลูกม้าเพียงเบื้องต้น หลังจากนั้นจึงส่งม้าให้แก่ลูกค้าที่ต้องการนำไปฝึกขี่หรือใช้งานอย่างจริง จังต่อไป โดยสามารถแบ่งขั้นตอนการฝึกลูกม้าดังนี้
ลูกม้าอายุ ไม่เกิน 6 เดือน
1.      อายุ 5-6 เดือนจับลูกม้าใส่ขลุมเบื้องต้น  วิธีการก็คือ คล้องลูกม้าโดยใช้เชือกที่มีขนาดพอเหมาะ และทำปมที่ปลายเชือกป้องการรูดไปรัดคอลูกม้า (วัดจากปลายเชือกมาประมาณ 1 เมตร  ตามขนาดลำคอลูกม้าและผูกปมเชือกไว้หนึ่งขมวด) เพื่อใช้คล้องลูกม้า
2.       นำ ลูกม้าเข้าคอก  พยายามคล้องให้ได้ หากลูกม้ากลัวและวิ่งก็ปล่อยให้ขาวิ่ง หากให้ดีก็เปิดคอกให้เขาวิ่งออกจากคอก การเตลิดของลูกม้าทำให้เขามีสภาพเหมือนโดนไล่ออกจากฝูง และเมื่อเหนื่อยก็จะย้อนกลับมา หาฝูง
3.      เมื่อลูกม้ากลับมาจึงพยายามจับปลายเชือกและผูกกับเสาไว้ ค่อยๆปลอบลูกม้าจนเขาไม่มีอาการตกใจ
4.      นำขลุมมายกให้ลูกม้าดู และทำท่าสวมเข้าที่ปลายจมูก ลูกม้าจะดิ้นตกใจ ค่อยๆลูบตัวจนหายกลัว และใส่ขลุมให้เรียบร้อย
5.       จูงลูกม้าที่ใส่ขลุมไปอาบน้ำเพื่อบอกเขาว่าหากยอมใส่ขลุมแล้วจะสบาย
 
 ลูกม้าควรได้รับการฝึกตีวงเมื่อาอยุประมาณ 1 ปีไปแล้ว
ลูกม้า ที่อายุประมาณ 2 - 2.5 ขวบจะเริ่มนำมาฝึกตีวงในคอกวงกลม (Round Pen) แต่หากขัดสนงบประมาณก็อนุโลมให้ฝึกตีวงโดยการใช้เชือกโยงขวาหรือโยงซ้ายและ ตีวงขวาและซ้ายตามลำดับ วิธีเริ่มต้นจะต้องนำม้ามาใส่บังเหียนเสียให้เรียบร้อยดังภาพ ในครั้งแรกม้า จะพยายามใช้ลิ้นดันบังเหียน วิธีแก้ไขคือใส่บังเหียนให้พอดี และทิ้งบังเหียนคาปากม้าไว้สักครึ่งชั่วโมง พอให้เขารู้ว่าต่อไปนี้เหล็กในปากที่คาอยู่จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขาแล้ว การใส่บังเหียนที่เหมาะสมไม่ควรตึงและหย่อนจนเกินไป กล่าวคือหากตึงไปปากม้าจะบาดเจ็บ และหากหย่อนไปม้าจะพยายามคายจนหลุดออกมา
เก็บปลาย เชือกบังเหียนให้สั้นผูกเอาไว้บนหลังม้า และนำม้าไปตีวงสัก 15 นาที หรือพอให้ม้ามีเหงื่อซึม ในขั้นนี้เน้นว่าควรให้ม้าได้ออกกำลังพอสมควร จะลดอาการตกใจลงได้สำหรับการฝึกขั้นต่อไป
 
 การขี่ม้าของไทยโพนี่เริ่มจากการขี่ม้าหลังเปล่า
การขึ้นหลังม้าครั้งแรก
เมื่อตี วงจนเข้าที่ดีแล้วจึงพักให้หายตื่นกลัว จากนั้นจึงค่อยเดินเข้าหาม้า และเข้าลูบจับบริเวณหลัง บอกให้รู้ว่าไม่มีอันตรายใดๆ ช่วงนี้ม้าที่ฝึกครั้งแรกจะตระหนกตกใจ บางตัวอาจไม่ยอมให้เข้าใกล้ การฝึกขั้นนี้ต้องใช้ความอดทนจนสามารถเข้าใกล้ ม้าได้ เมื่อม้ายอมให้เข้าใกล้แล้วจึงเอาลำตัวของเราพาดหลังม้าค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักไปยังหลังม้า ทำเช่นนี้สัก 2-3 ครั้ง หากม้าไม่ตื่นกลัวจึงค่อยพลิกตัวเอาขาคร่อมไปสู่ท่านั่งขี่ตามลำดับ ในชั้น นี้ยังไม่ต้องผูกอาน ม้าที่ขี่หลังเปล่าได้แล้วจะง่ายสำหรับการฝึกติดอานในอนาคต  
 
 
     การฝึกติดอาน
 เมื่อลูกม้าอายุประมาณ  2 ขวบหรือกว่านั้น ภายหลังการตีวงเสร็จก็ให้นำมาฝึกติดอาน เมื่อพบว่าม้าไม่ตื่นกลัวก็นำมาที่ติดอานแล้วมาตีวงต่อไป และทำดังนี้เหมือนการฝึกตีวงตามปกติ
 
 
     การขี่ม้า และการฝึกขี่ม้า  Horse Riding
ลูกม้าเมื่อมีอายุประมาณ 2.5  - 3  ขวบ เมื่อผ่านการตีวงมาพอสมควรแล้วจึงนำมาติดอานเพื่อทดลองขี่ การขี่ม้าครั้งแรกจะต้องรอให้ม้ามีอายุไม่น้อยกว่าสองปี หากน้อยกว่านั้นม้าอาจประสบปัญหาเรื่องกระดูก และเมื่ออายุครบแล้วหากการเลี้ยงไม่ดีหรืออาหารไม่ถึงก็ควรรอให้ลูกม้ามี กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์เสียก่อน โดยอาจรอจนลูกม้าอายุ 3-3.5 ปี
วิธีการฝึกขี่ก็โดยการนำลูกม้ามาฝึกตีวงเพื่อวอร์มร่างกายเสียก่อน หลังจากนั้นจึงนำม้าติดอาน เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงลองเอาลำตัวพาดบนหลังม้า เมื่อพบว่าม้าไม่มีอาการขัดขืนจึงค่อยโน้มตัวไปข้างหน้า และนำขาคร่อมหลัง และนั่งบนอาน เมื่อนั่งแล้วยังไม่ต้องสอดเท้าในโกลน และลองขี่ม้าโดยมีคนถือสายที่ใช้ตีวงบังคับอยู่ ลองให้ม้าเวียนขวาและซ้าย เมื่อม้าเชื่อฟังคำสั่งดีแล้วจึงปลดเชือกตีวงออกและลองขี่จริงๆ  เป็นอันจบการฝึก

เจ้าเบิ้มกับผู้เขียน พ่อม้าตัวแรกของฟาร์ม
 
 
 
     อุปกรณ์ที่ใช้ในการขี่ม้า (สมควรอย่างยิ่งต้องมีอย่างน้อยตามรายการข้างล่าง)
    • บังเหียน ครบชุด  ชุดบังเหียนจะประกอบด้วยเหล็กขวางปากม้า (ฺBits) ซึ่งมีทั้งแบบอ่อนและแบบแข็ง  สายบังเหียน (Rein)  ซึ่งมีทั้งสายหนังและสายผ้าที่ใช้ในการบังคับม้า
    • อาน ม้า  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรองนั่งบนหลังม้า สามารถใช้ได้ทั้งแบบอังกฤษ และอเมริกัน  การเลือกอานควรเลือกที่มีขนาดพอเหมาะกับม้า และขนาดของม้าในเมืองไทยก็ควรใช้อานที่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ  15 นิ้ว
    • สาย รัดทึบ  เป็นสายหนังหรือสายผ้าใบที่ใช้รัดอานให้แนบแน่นกับลำตัวม้า สายอัดทึบควรรัดให้แน่นบริเวณอกม้า เพื่อป้องกันอานพลิกหรือขยับ
    • ผ้ารองอาน  ใช้รองอาน ทำมาจากผ้าหรือพรมอย่างหนา
    • โกลน   .เป็นเหล็กหล่อสำหรับใช้เป็นที่เหยียบตอนขึ้นม้า  และสอดเท้าเพื่อพักเท้าขณะขี่
    • ขลุม  เป็นสายหนังหรือผ้าใบที่ใช้สวมหัวม้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงในการเข้าจับ จูง หรือบังคับอย่างอื่น
    • ถุงมือ ต้องมีเพื่อป้องกันมือได้รับบาดเจ็บ หรือกรณีอุบัติเหตุไม่คาดฝัน แรงดึงของเชือกจะทำให้บาดมือได้
    • หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค
    • รองเท้าขี่ม้า รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าบู๊ทสามารถใช้ได้
 
วิธีการขึ้นหลังม้าที่ฝึกยากของมานะ หนุ่มเมืองจันทร์ เขาบอกว่า 
เป็นวิธีที่ผมใช้กับเจ้าเดี่ยวม้าที่บ้าน สมัยที่มาอยู่บ้านใหม่ๆเจ้าของไม่เคยขี่เป็นม้าปล่อยแปลง ดื้อ กัด ทุ่มใส่เป็นบางที
1. หาแหล่งน้ำที่ใกล้ๆบ้าน ควรมีความลึกหลายระดับ
2. ใส่ขลุม ผูกเชือกให้ยาวประมาณ 5 เมตรครับ
3. เมื่อเชือกพร้อม คนพร้อม ก็นำม้าลงน้ำ
4. ถ้าม้าไม่ยอมลงน้ำ ควรหาผู้ช่วย ไล่ก้นลงน้ำ เพราะส่วนมากจะไม่ลงเองต้องกระตุ้น(ถ้าผู้ฝึกอยู่ในน้ำแล้วควรระวัง ม้ากระโดดลงน้ำใส่คนอันตรายมากโดนมาแล้วครับ)
5. เมื่อม้าลงน้ำแล้ว ให้ผู้ช่วย ช่วยจับเชือก ส่วนผู้ฝึกจูงม้าไปยังตำแหน่งที่น้ำลึกๆ (ลึกจนขาม้าไม่ถึงยิ่งดี)
6. จากนั้นก็เข้าทางด้านข้างม้าแล้วพยายามขึ้นหลังใช้มือด้านนึงจับขลุมตรงปาก ไว้ พยายามจนขึ้นหลังได้ถ้าม้าไม่เคยจะดิ้นมาก(แต่หนุกดีผมชอบครับ)
7. เมื่อม้ายอมให้ขึ้นหลัง ก็ขึ้นลงบ่อยๆในน้ำ อย่าพึ้งเอามาตรงตื้นๆ
8.ขึ้นลงจนม้าชิน หรือมันเหนื่อยก็แล้วแต่ ค่อยๆจูงมาตรงแหล่งน้ำที่ลึงประมาณใต้ท้องม้า
9.ขึ้นขี่อีกรอบ ขั้นตอนนี้ม้าจะวิ่งหรือกระโดด เพราะขาเขาถึงพื้นแล้วให้ผู้ช่วยจับเชือกดีๆครับ พยายามขึ้นจนได้ ขึ้นลงๆๆๆๆๆๆจนชิน
10. เมื่อชินแล้วก็ย้ายม้ามาตรงแหล่งน้ำ ประมาณเข่าม้า ขึ้นลงจนม้านิ่ง อยู่บนหลังนานๆ ผู้ฝึกไม่ควรกลัวดำ
11.เมื่อม้าชินก็ย้าย มายังแหลังน้ำริมฝั่ง มึน้ำแฉะๆดินนุ่มๆตกจะได้ไม่เจ็บ ขึ้นลง เอาหญ้าขนริมฝั่งให้ม้ากินไปด้วยคุยกะมันเยอะๆ ขึ้นลงบ่อยๆ อยู่บนหลังนานๆ
12. จากนั้นก็เอาขึ้นบกเลยครับ จะขึ้นหลังได้ง่ายมาก มีโดดบ้าง

0 comments:

Post a Comment

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court