A horse with Thai Style
ThaiPony.net: A Horse with Thai syle.This web site contains all information about horse breeding while emphasizing on the breeding ponies in Thailand. My intention to create this web site is because of the lacking of knowledge in horsemanship, horse training and breeding programs in terms of a local Thai or a grass root. I also have tried my best using direct experiences or Know – How to describe in several aspects as many as I could. In Thailand, we have studbook to record the pedigree raced horse from all parts of the world, on the other hand, we never have recorded the history of the dominant horses or ponies that assists our ancestors fighting with enemies in the battle fields. At that time, Thais survived but the ponies lose.
Since the last sixty years, the local in Hua-Hin village, Prajuabkirikhan Province and some in Chumphon Province (both located on the upper part on the Southern of Thailand ) , have carried on breeding ponies and horses then lately they have found their own breed that might be a hybrid type which its characteristics is approaching to pinto horses. At this stage, this breed is being temporarily named the “ThaiPony” type, or it can be defined as the pinto horse in the studbook of Thailand.
In order to get the foals with good quality, I mixed up the blood lines from three major breeds, the Thoroughbred, the Quarter horse and the local pony. In doing so, the foals of the first generation are produced by using the Thoroughbred stallion with the local mare in order to increase the height and enlarge the body. The fully growth mares of the first generation then are to be crossed with the Quarter horse stallion to reinforce strength of the muscles and to keep a well trained and a good tempered characteristics. The foals produced at this stage are the 2 nd generation.
The mares of the 2nd generation are now 3 years of age and are temporarily called the “ThaiPony” type. These mares are going to crossed with the pinto stud horse (named OangArt @ 4 years old in 2009: he is the son of One Chalerm who acquired the triple times gold medal of perfect conformation, Kasetsart Kampangsan University) in the next generation and this will help me to fulfill the ThaiPony blood line.
The conformation or characteristics of the thaipony type is : height approx 15.2 hh for stallion and 14 - 14.2 hh for mare , short strong neck with strong limbs and wide chest , muscular hip and body, very tough hooves, the pinto type and Paint horse are welcomed and preferred.
At present, the Thaipony type is very popular in Thailand especially in some provinces that tourists love to visit ,for example, Phuket , Chiangmai, Chiangrai, Pangnga, Krabi, Pakchong District in Nakonrajasima province etc. These visitors are using thaipony for hacking out, seaside riding and most of them use this type of horse for sport events such as endurance riding.
Last but not least, as the new comer of breeding programs many breeders have perceived that the Thaipony type may not be accepted or guaranteed by any standard horse associations in the world, then they tend to upgrade their ponies by using the Paint horse imported from the USA. At this time, there are 5 -10 paint stallions with pedigree available in Thailand at this moment and this will benefit all of us in the future.
All information are welcome to kpoomsang@yahoo.com or at my web board and my farm is in Chumphon, the first province on the southern part of Thailand.
All information are welcome to kpoomsang@yahoo.com or at my web board and my farm is in Chumphon, the first province on the southern part of Thailand.
1. ความเป็นมา (Introduction)
จังหวัดชุมพรเป็น เมืองที่เป็นศูนย์กลางการรวมทัพมาตั้งแต่สมัยโบราณ (ชื่อเดิมคือ ชุมพล หรือ ประชุมพล) ดังนั้นประชากรที่นี่จึงมีความผูกพันและเคยชินกับการนำสัตว์มาใช้งานทั้งใน ยามศึกและยามสงบ และเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขา ไม่มีที่ราบกว้างใหญ่เหมือนเช่นภาคกลาง เมื่อความเจริญยังเข้าไม่ถึงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สัตว์เป็นพาหนะ หลักในการขนส่งสินค้าและยุทธปัจจัย ครั้นเมื่อสงครามสงบลง สัตว์พาหนะที่ใช้ในการศึกอาทิเช่น ช้าง ม้า ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ ซึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวบ้านในแถบนั้นและย่านใกล้เคียงเริ่มนำสัตว์เหล่า นี้โดยเฉพาะม้าไปใช้ขนส่งสินค้าทางการเกษตร เป็นที่รู้กันดีว่าเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านี้ ชุมพร ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการเลี้ยงม้ามากที่สุดทางตอนใต้ของประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เมื่อโลกมีการพัฒนาเครื่องจักรเครื่องยนต์ทำให้คน หันมาใช้รถยนต์แทนแรงงานสัตว์ ทำให้ปริมาณม้าลดลงอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบัน หากจะหาคนเลี้ยงม้าสักคนก็ยากพอๆกับการงมเข็มในมหาสมุทร
ด้วยความรักม้าเป็นชีวิตจิตใจ บวกกับการเป็นคนชุมพรแต่กำเนิดที่มีความต้องการที่จะให้จังหวัดชุมพรคง เอกลักษณ์ประจำจังหวัดไว้ ในปี 2542-43 น.อ. กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง ร.น. (ปัจจุบันรับราชการที่กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ) จึงเริ่มนำม้าที่ชาวบ้านเลี้ยงแบบทิ้งขว้าง มาปล่อยไว้ในสวนยางพาราที่มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ โดยเริ่มจากมีลูกม้าตัวเมีย เพียงสองตัว ในระยะแรกไม่ได้ให้อาหารเสริมอะไรเป็นพิเศษ เพียงปล่อยให้ม้าหา กินเองตามธรรมชาติเท่านั้น และโดยความคิดส่วนตัวก็เพียงว่าต้องการแค่นำม้ามาเป็นอุปกรณ์กำจัดวัชพืช และถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยก็พอแล้ว แต่พอเลี้ยงไปได้สักระยะหนึ่งก็พบว่า การเลี้ยงม้าในสวนยาง สามารถประหยัดค่ายาฆ่าหญ้าในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทำให้ดินเริ่มคืนสภาพ จากเดิมหากมีฝนตกก็ไม่ค่อยมีเสียงร้องของกบเขียด ปัจจุบันแม้ฝนไม่ตกแต่หากอากาศชุ่มชื้นก็มีเสียงกบเขียดร้องระงม หลังจากเริ่มมีม้าในสวนยางไม่นานก็เริ่มมีคนมาขอซื้อม้า แต่ก็ยังไม่มีแบ่งขาย เนื่องจากยังไม่ได้คิดจะเลี้ยงม้าในรูปแบบของธุรกิจ
ต่อมาเมื่อเห็นว่ามีคนเข้ามาสอบถามหาซื้อม้าบ่อยขึ้น จึงคิดที่จะเพาะพันธุ์ม้าให้เป็นเรื่องเป็นราว แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีเอกสารที่เกี่ยวกับการเลี้ยงม้าในภาคเกษตรด้าน อื่นเลย ยกเว้นม้าแข่ง ที่มีการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ ทำให้ น.อ. กิตติพงษ์ ฯ ต้องใช้วิธีการค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการซื้อหนังสือม้าภาษาอังกฤษจากหลากหลายแหล่งมาศึกษา ขณะเดียวกันก็เดิน ทางทั้งต่างประเทศและในประเทศเพื่อไปสัมภาษณ์เกจิชาวบ้านตามแหล่งต่างๆ อาทิ เช่น หัวหิน ภูเก็ต นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี ลำปาง เชียงราย ฯ แต่สุดท้ายก็ยังมีความเด็ดเดี่ยวที่จะไม่พัฒนาสายพันธุ์ม้าไปเป็นม้าแข่ง เนื่องจากเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกร ที่ยังยืนหยัดบนความพอเพียง ไม่นิยมเรื่องการพนัน ดังนั้น จึงได้คิดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ สนใจทั่วไป ในที่สุด ฟาร์มเลี้ยงม้าไทยโพนี่จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
ม้าสายพันธุ์ไทยโพนี่ แรกทีเดียวไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ส่วนใหญ่มักเรียกม้าลูกผสมเหล่านี้ว่า “ลูกผ่าน” แต่ภายหลังก็ได้เริ่มนิยามความหมายว่า ม้าไทยโพนี่ เป็นม้าลูกผสมสามสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างม้าไทยหรือม้าสายพันธุ์ ไทย ม้าพันธุ์เธอโรเบรต (ม้าแข่ง) และม้าพันธุ์ควอเตอร์ฮอร์ส (ม้าขี่ต้อนวัวของอเมริกัน) โดยจะรวมไปถึงม้าแฟนซีลูกผ่าน (Pinto Horse) ที่เกิดในประเภทไทย ในครั้งแรกเริ่มพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวบ้านในแถบพื้นที่ภาคกลาง เริ่มจากการเป็นม้าแห่นาคของชาวบ้าน ภายหลังก็แพร่พันธุ์ออกไป และได้รับความนิยมสูงสุดโดยชาวบ้านที่เลี้ยงม้า เพื่อใช้ขี่บริเวณชายหาดที่ อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ และหากจะเทียบการพัฒนาสายพันธุ์กับวัวพันธุ์กำแพงแสนแล้ว ม้าไทยโพนี่ปัจจุบันพัฒนามาถึงรุ่นที่สาม เมื่อโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 140 ซม. สำหรับตัวเมีย
ม้าของไทยโพนี่รุ่น แรกเป็นการผสมกันระหว่าง พ่อม้าพันธุ์เธอโรเบรต (ม้าแข่ง) กับแม่ม้าไทย การผสมโดยใช้พ่อพันธุ์เธอร์โรเบร็ตก็เพื่อเป็นการยกระดับความ สูงของม้า (ม้าไทยพื้นเมืองหรือม้าแกลบมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 120 ซม. ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้งาน) โดยม้าโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 135 -140 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 130 -135 ซม. สำหรับตัวเมีย หลังจากนั้นจึงนำม้าตัวเมียของรุ่นแรก ไปผสมอีกครั้งกับพ่อม้าพันธุ์ควอเตอร์ฮอร์ส (เจ้าเบิ้ม พ่อม้าสูงประมาณ 152 ซม.) การทำดังนี้ก็เพื่อต้องการให้มีสายเลือดของม้าที่มีความแข็งแกร่ง และมีความนิ่ง เชื่องแบบสายพันธุ์ควอเตอร์ และที่สำคัญคือความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนชื้นแบบสวนยางพาราในภาคใต้ได้ ลูกม้าในรุ่นนี้เมื่อคลอดออกมาจะเป็นลูกม้ารุ่นที่สอง และเมื่อโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 145-150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 135 -140 ซม. สำหรับตัวเมีย
ม้าตัวเมียในรุ่นสอง นี้จะถูกคัดไว้อีกครั้งเพื่อผสมกับม้าที่มีลักษณะดีโดยจะใช้พ่อพันธุ์ที่ ชื่อ องอาจซึ่งเป็นม้าพินโตหรือตามที่เรียกในภาษาไทยว่าม้าแฟนซี ขณะนี้อายุประมาณ 5 ปี (องอาจเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2548) ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากแม่ม้าสายพันธุ์ดีชื่อบัวขาว และพ่อม้าชนะเลิศการประกวดม้าไทยที่มีลักษณะดีเด่นสองปีซ้อนใน งานมหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน ชื่อวันเฉลิมของอำพลฟาร์ม และในอนาคตหลังจากได้ลูกม้าตัวเมียจากรุ่นของพ่อม้าองอาจ ทางฟาร์มก็จะผลัด เปลี่ยนพ่อม้าอีกครั้งหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าพ่อม้าที่เราจะนำมาปรับปรุงพันธุ์ต้องเป็นม้าที่เหมาะกับสภาพ เมืองไทยเป็นอย่างดีเท่านั้น
อนึ่ง เว็บไซต์นี้ได้กำหนดคำจำกัดความของม้าที่มีสีสันคละกันไว้ดังนี้
อนึ่ง เว็บไซต์นี้ได้กำหนดคำจำกัดความของม้าที่มีสีสันคละกันไว้ดังนี้
Paint Horse:ม้าด่าง คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน เป็นม้าพันธุ์ควอเตอร์ของอเมริกา ภายหลังมีการเพาะสีให้มีสีด่างสวยงามหลากหลายรูปแบบโดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมี สีสันสวยงามตรงตามที่ระบุ มีสายพันธุ์ที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
Pinto Horse: ม้าแฟนซีหรือม้าปินโต คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมี ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และประสานงานกรุณาติดต่อ kpoomsang@yahoo.com หรือ โทร. 081-2564199, 089-0353874
ม้าในประเทศไทยนั้นสามารถสืบเสาะค้นหาที่มาได้ตามเมืองใหญ่สำคัญๆ ในแต่ละภาคของประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่มีประวัติเป็นเมืองหน้าด่านในทางการ รบ ทางการค้า รวมทั้งเมืองที่เป็นเขตรอยต่อของอาณาจักรไทยกับเพื่อนบ้านในแต่ละ ยุค โดยเราสามารถตามรอยฃองบรรพบุรุษม้าในไทยได้ตามภาคต่างๆ ดังนี้
ภาคกลาง จะพบม้ามากบริเวณจังหวัดแถบภาคกลาง เช่น กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้ในสมัยโบราณ จัดเป็นเมืองหลวงและเมืองลูก หลวง ดังนั้น จะมีปริมาณม้าหนาแน่นที่สุดมาแต่ยุคโบราณ จนในปัจจุบันเราจะพบว่ามีการใช้ม้าในงานมงคลต่าง อาทิ งานบวช ฯ นอกจากนี้ชาวบ้านในบริเวณนี้ยังมีความเป็น Horsemanship สูงมาก เช่น มีความรู้เรื่องการเลี้ยงม้าและฝึกม้าแบบไทยๆ ในเกณฑ์สูง ชาวบ้านในแถบ จังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สามารถฝึกม้าให้เต้นตามจังหวะกลองได้ในงานพิธี ต่างๆ สำหรับม้าที่เลี้ยงตามภาคกลางนั้นส่วนใหญ่จะเป็นม้าลูกผสมหรือที่เรียกกัน ว่า “ ลูกผ่าน” กล่าวคือเป็นม้าลูกผสมระหว่างม้าไทยพื้นเมือง กับม้าเทศหรือม้าที่มาจากต่าง ประเทศ สายพันธุ์ต่างๆ แต่เนื่องจากบริเวณภาคกลางเป็นแหล่งที่มีหน่วยราชการที่นิยมสั่งซื้อม้าจาก ต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงตั้งอยู่ในปริมาณหนาแน่น (ใช้เพื่อการทหาร ใช้เพื่อผลิตยา) เรามักพบว่าม้าในภาคนี้จะเป็นม้าที่ได้รับการผสมพันธุ์จนกลายพันธุ์ไปแล้ว ทั้งสิ้น ม้าไทยสายพันธุ์แท้ไม่ค่อยมีให้เห็นนัก ม้าที่พบทางภาคกลางโดยเฉลี่ยจะมีส่วนสูงประมาณ 150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 135-140 ซม. สำหรับตัวเมีย และสายพันธุ์ที่พบจะมีทั้งลูกผสมของม้าแข่ง (เธอร์โรเบร็ต) ม้าขี่เลี้ยงวัวของอเมริกัน (ควอเตอร์ฮอร์ส) ม้าสวยงามพันธุ์ต่าง ๆ (ลิปิซานเนอร์ ลูซิทาโน อันดาลูเชียน) และในปัจจุบันก็พบว่ายังมีชาวบ้านใน อ. ชะอำ และหัวหิน ยังนิยมนำม้าไปให้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณ ชายหาด อยู่เป็นจำนวนมาก
แหล่งท่องเที่ยวชมม้าไทย ชายหาดหัวหิน ชะอำ ชะอำโพนี่คลับ เป็นต้น
ภาคเหนือ เนื่องจาก สภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือนั้นติดต่อกับประเทศจีน และพม่า ซี่งใน ปัจจุบันจะพบว่ายังมีการใช้ม้าอยู่เป็นจำนวนมากมากในสองประเทศที่กล่าวมา ประชากรในแถบนี้ นิยมใช้ม้าเพื่อการศึกในสมัยโบราณ และยังใช้ม้าเป็น พาหนะในการแลกเปลี่ยนสินค้าในปัจจุบัน ม้าในภาคเหนือมักมีเชื้อสายมาจากม้ามองโกลของจีน ซึ่งจัดเป็นต้นกำเนิดม้า พันธุ์อาหรับ ที่โด่งดังไปทั่วโลกเรื่องของคุณลักษณะพิเศษของม้า ม้าสายพันธุ์มองโกลนี้จัดเป็นต้นสายของม้าไทยพันธุ์หนึ่ง หรือมันก็คือม้า พันธุ์พื้นเมืองที่เรียกกันในเชิงตลกขบขันว่า “ ม้าแกลบ ” นั่นเอง เนื่องจากเป็นม้าที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 130 โดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 120-125 ซม. จุดเด่นคือ กินอาหารน้อย ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และมีความทรหดอดทนสูงเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ใน จ.ลำปาง ยังมีผู้ประกอบการรถม้าให้เห็นอยู่และแม้ว่าม้าที่นำมาใช้งานจะเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นลูกผสมเกือบหมดแล้ว (เนื่องจากม้าไทยแท้มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะต่อการใช้งาน) อย่างไรก็ตาม ม้าสายพันธุ์นี้ยังสามารถหาดูได้ที่ชมรมอนุรักษ์ม้าไทยจังหวัดลำปาง ในปัจจุบัน ยังมีประชาชนบางส่วนสั่งซื้อม้าจากประเทศจีนและพม่าเข้ามาอยู่ประปราย โดย เข้ามาทาง จ. เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน และทาง อ. แม่สอด จังหวัดตาก
ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ จากการสำรวจแม้ว่าจะพบว่าภาคนี้มีม้าในปริมาณสูงรองจากภาคกลาง แต่ม้าไทยแท้ กลับพบว่ามีน้อยมาก ที่ยังพบบ้างประปราย ก็มักอยู่เขตในจังหวัดที่มีอดีตของขบวนคาราวานวัวในยุคไม่เกิน 200 ปีที่ผ่านมาของเหล่านายฮ้อย ที่นิยมขี่ม้าต้อนวัวไปซื้อ-ขายตามแหล่งต่างๆ ในภาคอีสานจนถึงภาคกลาง เช่น จ.อุบลราชธานี (ชมรมอนุรักษ์ม้าไทยสิรินธร) สาเหตุเนื่องจาก มีการเลี้ยงม้าเพื่อใช้เป็นม้าแข่งสูงมาก ในจังหวัดใหญ่ๆ ของภาค อาทิ จ. ขอนแก่น จ. นครราชสีมา นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงม้าเป็นงานอดิเรกของนายทุนเจ้าของที่ดิน ที่บริเวณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระเรื่อยไปจนถึงเขต อ.วังน้ำเขียว จ.ปราจีณบุรี สายพันธุ์ม้าที่นิยมค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น ควอ เตอร์ฮอร์ส อาหรับ เธอร์โรเบร็ต ฯ ม้าบริเวณนี้ส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ล้ำหน้ากว่าภาคอื่นๆ ในประเทศ จนเรียกได้ว่ามีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับม้าสากลมากที่สุด
ภาคใต้ เป็นแหล่ง เดียวที่น่าจะยังคงความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ม้าไทยเอาไว้ได้ มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับที่ราบ ทำให้ไม่ค่อยนิยมใช้ม้าเป็นพาหนะ ม้าพันธุ์ที่สำรวจพบบริเวณนี้ได้แก่ ม้าไทยสายพันธุ์พม่า หรือที่เรียกกัน ว่า “ม้าไทยใหญ่” ม้าสายนี้จัดเป็นม้าพันธุ์ไทยแท้อีกสายหนึ่ง ที่มาของม้าพันธุ์นี้น่าจะมาจากบริเวณ จ.ชุมพรและรอยต่อชายแดนไทยพม่า บริเวณ อ. กระบุรี จ.ระนอง เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดรวมพล (ประชุมพล ชุมพล ภายหลังกร่อนเป็นชุมพร) ของทัพหลวงก่อนเข้าตีหัวเมืองภาคใต้ เช่น เมืองนครศรีธรรมราชหรือปัตตานี แหล่งที่มีม้าไทยมากมักเป็นหัวเมืองและเมืองชายแดนตั้งแต่สมัยโบราณ ตัวอย่างเช่น อ.ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี อ. เมือง จ.ชุมพร บริเวณที่มีเขตแดนติดกับพม่า บริเวณ จ.ระนอง จ. นครศรีธรรมราช สาเหตุที่ประชากรบางส่วนทางภาคใต้นิยมเลี้ยงม้าก็เนื่องจากต้องใช้แรงงานม้า ในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรออกมาค้าขาย ดังนั้น จึงใช้ม้าที่มีสายเลือดดั้งเดิมเป็นหลัก และหากจะนำม้าไทยไปผสมกับม้าพันธุ์ ดีก็ไม่คุ้มค่าขนส่ง ดังนั้น ม้าบริเวณดังกล่าวมักมีสายเลือดไทยแท้ (Pure bred) สูงสุด แต่หลังจากได้มีการพัฒนาทางด้านการคมนาคมขนส่ง ก็ทำให้เลิกใช้ม้า รวมทั้ง พันธุ์ม้าที่มีอยู่ก็มักปล่อยให้ผสมกันในฝูง (In Breed) จนสุดท้ายเหลือแต่ม้าไทยที่มีลักษณะด้อยมากกว่าลักษณะเด่น เช่น ตัวเล็กหรือขาสั้นเกินไป เมื่อม้าขาดความสง่างามจึงทำให้ขาดผู้สนใจ จนในปัจจุบันได้เกิดความนิยมเลี้ยงม้าในสวนเกษตรขึ้นมา ม้าไทยในภาคใต้จึง ได้รับความนิยมกลับมาอีกครั้ง
หากจะกล่าวโดยสรุป แล้วเราสามารถพูดได้ว่าม้าไทยแท้มีอยู่สองสายพันธุ์นั่นคือ สายพันธุ์มอง โกล ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนแต่ยุคโบราณ กับอีกสายพันธุ์คือ สายพันธุ์ไทยใหญ่ ที่มีพื้นฐานมาจากม้ามองโกลเหมือนกันแต่ภายหลังได้รับ อิทธิพลจากม้าที่มาจากประเทศพม่า โดยเฉพาะช่วงที่พม่าเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษนั้น ข้าหลวงที่ปกครองพม่าจะมาจากอินเดีย และเมื่อย้ายมาอยู่ที่พม่า ก็จะนำม้ามาด้วย และเป็นที่รับรู้กันว่าม้าของข้าหลวงอังกฤษที่ปกครองอินเดียนั้นได้ผสมผสาน กับม้าพื้นเมืองของอินเดียที่ภายหลังพัฒนามาเป็นม้า “มาวารี” หรือ ม้าอาหรับเวอร์ชั่นอินเดียที่โด่งดัง พม่าก็ได้รับอิทธิพลม้าสายนี้มาเช่น กัน และเมื่อมีศึกกับไทย ม้าเหล่านี้ก็กระจายมาโดยการเป็นพาหนะของทหารในการ สงคราม หลักฐานที่สามารถพูดได้เช่นนี้ก็เนื่องจากในขณะที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กที่ จังหวัดชุมพรได้มีการจัดแข่งรถม้าอยู่บ่อยครั้ง และได้เห็นม้าพันธุ์นี้มา กับตา จึงอยากรื้อฟื้นสิ่งดีๆ เหล่านี้ขึ้นมา
ลักษณะเด่นของม้าไทย แท้คือ ลำตัวมีสีเดียวไม่มีสีอื่นผสม รวมทั้งม้าไทยแท้ไม่มีม้าสีขาวล้วนและดำล้วน ตัวผู้สูง 125-130 ซม. ตัวเมียสูง 110 -120 ซม. สันจมูกตรง รูจมูกโต แผงคอดกยาว ขาสั้น ลำตัวสั้น กีบแข็งแรงทนทาน เลี้ยงง่าย มีความอดทนสูง
ม้าไทยและม้าเทศในประเทศไทย
ภาพแสดงลักษณะม้าไทยสายพันธุ์มองโกลตัวเมีย(Thai - Mongol type pony, mare) มี ความสูงไม่เกิน ๑๑๐ ซม. (๑๑ แฮนด์ โดยที่ ๑ แฮนด์สูงประมาณ ๑๐ ซม. ) หน้าสั้น ขาสั้น ลำตัวสั้น แผงขนคอเป็นพุ่มดกฟู ไม่ตั้งตรง ลำตัวสั้น แข็งแรงทนทาน หากินตามภูมิประเทศ
The Thai-Mongol type pony at 5 years old. This is the local breed which is believed that it was fetch from the West-Northern part of China. It stands between 110- 120 cm with strong legs that withstand all conditions.
The Thai-Mongol type pony at 5 years old. This is the local breed which is believed that it was fetch from the West-Northern part of China. It stands between 110- 120 cm with strong legs that withstand all conditions.
ม้าพันธุ์พื้นเมืองของไทยเท่าที่ค้นพบสามารถแบ่งได้สองประเภท ประเภทแรกคือ ม้าสายพันธุ์มองโกล (Thai-Mongol pony) จากประวัติเดิมนั้นจะใช้เป็นม้าต่างระหว่างชายแดนประเทศไทยตอนเหนือ กับประเทศจีนพม่าและลาวในสมัยโบราณ ภายหลังจึงแพร่พันธุ์ไปเลี้ยงกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย ม้าสายพันธุ์นี้จะมีความสูงไม่เกิน ๑๓๐ ซม. สำหรับตัวผู้ และตัวเมียสูงไม่เกิน ๑๒๐ ซม. ลักษณะเด่นคือมีหน้าแหลมเหมือนม้าสายพันธุ์อาหรับ คอสั้น ลำตัวสั้น ขนแผงคอเป็นพุ่มดกไม่เป็นระเบียบ ขาสั้น กีบเล็ก
อีกประเภทหนึ่งคือ ม้าสายพันธุ์ไทยใหญ่ (Thai- Burmese type pony) แหล่งกำเนิดใหญ่อยู่แถบจังหวัดชายแดนไทย- เมียนม่าร์ ม้าเหล่านี้สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่พันธุ์จากม้าศึกที่มากับทัพพม่าคราวเข้าตี กรุงศรีอยุธยา หรือสงครามเก้าทัพ ผ่านไปตามจังหวัดที่มีชายแดนติดกับเมียนม่าร์โดยลัดเลาะผ่านมาทางจังหวัด ระนอง ชุมพร ประจวบคิรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และยังคงมีม้าประเภทนี้บางส่วนมีบ้างบางส่วนในจังหวัดอยุธยาซึ่งคาดว่าเป็น ม้าลูกผสมที่เกิดระหว่างแม่พันธุ์ไทยมองโกลกับพ่อม้าเทศที่นำมาจากต่าง ประเทศเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาพื่อใช้ในการศึกสงคราม ม้าไทยใหญ่นี้จะมีโครงสร้างใหญ่กว่าม้าไทยมองโกลเล็กน้อย ลักษณะเด่นคือ รูปร่างบึกบึน หัวใหญ่ คอยาว คล้ายม้าเทศ ขาสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ขนแผงคอจัดเรียงเป็นระเบียบ พบได้ทั่วไปบริเวณจังหวัดรอยต่อระหว่างประเทศไทยและเมียนม่าร์
ในข้างบนภาพแสดงลักษณะม้าไทยสายพันธุ์ไทยใหญ่ตัวผู้ (Thai -Burmese type pony) มีความสูงประมาณ ๑๒๕ ซม ส่วนหัวจะใหญ่ขาสั้น เมื่อเทียบกับลำตัว แผงขนคอเป็นเป็นระเบียบ กีบและน่อง แข็งแรงทนทาน
The stallion, Thai -Burmese type pony shows its strong neck and limbs. In general, it is rarely to find the local breed with white coat. This breed is easy to handle and play a good role as a riding pony.
The stallion, Thai -Burmese type pony shows its strong neck and limbs. In general, it is rarely to find the local breed with white coat. This breed is easy to handle and play a good role as a riding pony.
0 comments:
Post a Comment