Pages

Saturday, November 24, 2012

ไปควบม้าที่บ้านแม่สะลองใน

ขี่เสือ(ภูเขา)ไปควบม้าที่บ้านแม่สะลองใน



ฉากหลัง วิวทัศน์สวยงามหลังฝนตกโปรยปรายน้อย พวกเรากำลังขี่ม้าสนุกบนดอยนางนอน และบริเวณหลังภูใจใสรีสอร์ท ในบ้านแม่สะลอง อ.แม่จัน จ.เชียงราย

ทริปขี่เสือ(ภูเขา)ไปควบม้าสนุกมาก...

 ....วันแรก(เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กย.4 พวกเราออกเดินทางทีแรกหวั่นใจ พอถามใครก็บอกว่า "ไม่ขี่ม้า" โดยเฉพาะเฮียเปี๊ยก กับผู้พันมานพ ออกตัวว่าไม่อยากขี่ม้าทำให้เราอึดอัดใจมาก เพราะคุยกับคุณสีหมอก (เจ้าของสีหมอกฟาร์ม) ว่าจะมาเรียนขี่ม้าที่ฟาร์มกันทั้งหมด 5 คน (นับรวมถึงอาหมง อาจี้กงหรือเฮียเผ่า) และอีกอย่างน้าหมงก็บอกว่า ไม่ค่อยอยากพักกับเขา แต่อยากพักเต้นท์และหุงกินข้าวเองมากกว่า...จนสุดท้ายพอเราปั่นจักรยานเข้า ไปจากเมืองเชียงรายไปบ้านแม่สะลองในนับระยะทางประมาณ 50 กม. ได้ไปเดินชมบริเวณฟาร์มม้าของคุณสีหมอก และทุกคนก็ตัดสินใจมาร่วมกิจกรรมตามที่เราได้ตั้งใจไว้ โดยตั้งชื่อทริปนี้ว่า "ขี่เสือ(ภูเขา)ไปควบม้าที่บ้านแม่สะลองใน"

 ....เมื่อพี่บังอ้วนกลับมาแล้ว ได้โทรเรียกเสือออยด้วยใช้วิธีขอคืนดีกันเดิม จนเสือออยเข้าใจดีก็หายงอนกันแล้ว พี่บังอ้วนเล่าเรื่องไปเรียนขี่ม้าสนุกดี ความจริงอยากจะพาเสือออยไปด้วย แต่แผนของเสือออยคลาดกันไปคนละทริป เพราะไปเชียงใหม่คนเดียวเพื่อดูงานโอท้อปและเยี่ยมคุณเสือสาวเมืองหนาว กับพี่ติ๋ว พร้อมร่วมกิจกรรมในชมรมจักรยานวันอาทิตย์เชียงใหม่จัดทริปไปถ้ำเมืองออน 65 กม.

 ....พี่บังอ้วนส่งอัลบั้มภาพถ่ายให้เสือออยทำรายงานเล่าเรื่องให้เพื่อนชาว thaimtb อ่าน เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้คุณสีหมอก เจ้าของสีหมอกฟาร์ม เพราะค่าใช้จ่ายค่าอาหารม้าตัวละ 100 บาทต่อวัน จึงต้องฝากให้เสือออยช่วยเหลือด้านประชาสัมพันธ์ชวนเพื่อนๆไปเรียนม้าชม ภูมิประเทศกันนะคะ




นี่แหละ...พระขี่ม้าบิณฑบาต ที่ทำให้เกิด Unseen in Thailand ขึ้นมาเพื่อการอนุรักษ์ม้าไทยภูเขาความกันดารแห่งแผ่นดินดอย...มิใช่อุปสรรคแห่งธรรม
....ท่านพระครูบาเหนือชัย โฆสิโต (ครูบาเสือโคร่ง) หรือฉายา "นักบุญแห่งขุนเขา" ก็เคยเป็นอดีตทหารม้าเก่าผ่านศึกสมรภูมิมาแล้ว ชาวบ้านก็เรียกท่านพระครูบาเหนือชัยว่า "ตุ๊เหมอ" ท่านพระครูบาเหนือชัยได้แนะนำให้คุณสีหมอกไปช่วยไถ่ชีวิตม้าอันน่าสงสาร 2 ตัวแรกจากโรงฆ่าสัตว์ นำมาเลี้ยงม้าตัวนี้ไว้ในฟาร์มของคุณสีหมอก เพื่อสร้างศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ม้าไทยภูเขา มีม้าแกลบ (ก็ใช่ว่าเป็นม้าไทยภูเขาเหมือนกัน) อยู่ในความดูแลประมาณ 150 ตัว แต่ของฟาร์มสีหมอกมีม้าอยู่ราว 60 ตัว คุณสีหมอกจึงเปิดให้บริการขี่ม้าในภูมิประเทศ (XC) ให้ผู้ที่ชอบการผจญภัยได้มาสัมผัสกับธรรมชาติของป่าเขาอย่างใกล้ชิด
....ช่วง เวลาที่พี่บังอ้วนกำลังไปหาท่านพระครูบาเหนือชัยนั้น ลูกพระวัดได้บอกว่าท่านป่วยเป็นไข้หวัดอยู่ เลยไม่ออกบิณฑบาต จึงชวดถ่ายรูปพระขี่ม้า เลยปั่นจักรยานไปหาคุณสีหมอกฟาร์มอยู่ข้างล่าง



พระลูกสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทองกำลังขี่ม้าออกบิณฑบาต....เหตุ นี้ท่านพระครูบาเหนือชัย ได้นำเด็กชายที่เป็นลูกหลานของชาวเขาที่ยากจนและอยู่ห่างไกลความเจริญ เข้ามาบวชเรียนเพื่อศึกษาพระธรรม และเรียนหนังสือภาษาไทยพร้อมทั้งได้เรียนวิชาศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย และการตีกลองสะบัดชัย
....ตามปกติท่านพระครูบาเหนือชัย พาพระลูกเจ้าสำนักที่นี่ใช้ม้าแกลบเป็นพาหนะในการออกบิณฑบาตไปยังหมู่บ้าน สี่หมื่นไร่ มีระยะทาง 5 กิโลกว่า โดยขี่ม้าลัดเลาะทุ่งหญ้า ป่าเขา และลงห้วยลำธาร จึงเป็นภาพที่แปลกตาสะดุดใจของนักท่องเที่ยว



คุณสีหมอกกำลังให้ม้า "เมฆินท์" ออกกำลังเพื่อลดความคึกคะนองก่อนจะเอาเจ้าเมฆินท์ให้พี่บังอ้วนขึ้นอาน เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากม้าพยศได้ ....พี่บังอ้วนเล่าว่า ม้าที่ผู้พันมานพขี่อยู่ชื่อ "เพชรขาว" เป็นม้าแสนเชื่องดีมากกว่าเจ้าเมฆินท์ เจ้าเพชรขาวมาจากบ้านสามสูง ชายแดนพม่า วันที่คุณสีหมอกพาม้าตัวใหม่กลับบ้านระหว่างทางก็เกิดแผ่นดินไหวพอดี จึงเรียกม้าสีขาวตัวนี้ว่า "เพชรขาวแผ่นดินสะเทือน" ปัจจุบันเจ้าเพชรขาวมีอายุมากขึ้นกลายเป็นม้าพารามิโน คือ ขนที่ตัวเป็นสีเหลือง แต่ขนแผงคอสีขาว
....เจ้าเมฆินท์ ม้าสีน้ำตาลเข้มดำที่พี่บังอ้วนขี่อยู่นั้น ดูเหมือนว่ายังตกอาการคึกคะนองอยู่...เสียวเมื่อไหร่มีอันตกอานม้าแน่



คุณสีหมอกกับชีวิตอิสระที่เลือกไว้แล้ว...น่าอจิฉาจัง....ม้าตัวนี้ชื่อ "สิงขร" เป็นม้าโปรดของคุณสีหมอก....วัน แรกที่เริ่มขี่ม้าประมาณบ่ายสามโมงเย็น อากาศดีมาก ไม่มีแดด ฝนตกปรอยๆ "เอ้า..เตรียมตัวให้พร้อมออกไปได้แล้วครับ" คุณสีหมอกออกคำสั่งให้พวกเราถือสายบังเหยีนให้คันขึ้น ม้าจะวิ่งตามไปด้วย พาพวกเราขี่ม้าขึ้นดอยผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ เดินผ่านทุ่งหญ้าบางครั้งก็ควบผ่านนาข้าวไร่ของชาวบ้าน พวกเราทุกคนต้องคอยดึงสายบังเหยีนให้ตึงขึ้นเพื่อไม่ให้ม้าเผลอไป กิน(มั่ว)ข้าวของชาวบ้านปลูกไว้


"พร้อมแล้วครับ" พวกเราร้องลั่นคำรามเหมือนท้าแข่งม้าเร็วกัน
เมื่อพวกนักปั่นเสือภูเขากลายเป็นนักเรียนหัดขี่ม้าครั้งแรก
....จุด เริ่มต้นการหัดขี่ม้าเล่น พวกเราได้ขึ้นอานม้าครบเครื่อง รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจตลอดโดยเฉพาะคุณสีหมอกได้พาพวกเราขี่ม้าลุยห้วยลำธาร น้ำตกเล็กในหุบเขา แต่พอขึ้นบกอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นทางเนินสูงชัน และแคบต้องให้ม้าควบด้วยความเร็วพอดี คิดว่าเร็วมากราว 40-50 กม./ชม. เพื่อให้ม้ามีกำลังส่งโดดข้ามเนินสูงแต่ละคนโดนหนามไผ่เกี่ยวเข้ากลายเป็น ของฝากรอยแผลกันถ้วนหน้า เจ็บก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆนะ...พี่บังอ้วนบอกพร้อมถลกชายกางเกงบริเวณหัวเข่า ให้เสือออยดูพบว่ามีรอยเส้นสีเลือดแห้งเป็นรอยข่วน เนื่องจากพวกเรานุ่งกางเกงขาสั้นไปถูกหนามไผ่ได้ทุกคนด้วย



บริเวณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ม้าไทยภูเขาของสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง มองจากด้านบนบริเวณถ้ำอาชาทอง ในพื้นที่หมู่บ้านแม่สะลองใน ท่ามกลางฝนตกโปรยปรายตลอดวัน ....คุณสีหมอกให้แนะนำว่า ควรขี่ม้าช่วงเย็นดีกว่าช่วงเช้า อากาศดีม้าไม่เครียด คนขี่ม้าก็ไม่ร้อน การขี่ม้าแค่ครึ่งวันกำลังดี ถ้าขี่ม้าอยู่นานเกินไปจะพาลเข็ดขยาดไม่กล้าขึ้นขี่ม้าอีก เพราะจะเจ็บก้นและปวดหลังคล้ายๆกับการหัดขี่จักรยานทางไกลใหม่ๆ ต้องใช้เวลาหลายวันๆกว่าจึงจะปรับร่างกายเข้ากับการขี่ม้าได้ดี.



ผู้พันมานพยืนโอบสันคอเจ้าเมฆินท์อย่างเอ็นดู ....ม้า ที่พวกเราขี่ม้าทุกตัวจะตามหลังม้าผู้นำ "สิงขร" ของคุณสีหมอกพาไป หากคุณสีหมอกควบม้าตะบึ่งออกไปอย่างรวดเร็ว พวกเราก็จะควบม้าให้ตามไล่ทันคุณสีหมอกได้ ตลอดทางคุณสีหมอกจะคอยอธิบายวิธีการต่างๆ และอธิบายถึงภูมิประเทศอย่างรอบรู้ และเข้าใจธรรมชาติเป็นอย่างดี


พี่บังอ้วนกับเจ้าเมฆินท์...กลายเป็นเพื่อนเข้ากันได้ดี บอกว่า เจ้าเมฆินท์หายคึกคะนองแล้ว
จบทริปการเรียนรู้การขี่ม้าในฟาร์มสีหมอก
....จบ การขี่ม้าในวันที่สองวันสุดท้าย ทุกคนบอกว่า เป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าจดจำ และจะกลับมาอีกในโอกาสหน้าแน่ พี่บังอ้วนอยากให้เสือออยช่วยเขียนลงเฉพาะส่วนของสีหมอกฟาร์ม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้ทางสีหมอกฟาร์มได้มีลูกค้ารายใหม่ๆ มาใช้บริการ ท่านผู้ใดสนใจการขี่ม้ากรุณาติดต่อกับคุณสีหมอก ประพันธ์วงศ์ เบอร์มือถือสายตรงที่ 01-7245818 และ 01-7967775
....พี่บังอ้วนบอก เสือออยว่า รับรองราคาทริปขี่ม้าไม่แพงหรอก ในราคามิตรภาพอันประทับใจดีจริงนะ เสือออยอยากไปเมื่อไหร่ให้พี่พาไปอีก "แน่ใจหรอพี่" เสือออยยิ้มด้วยได้ฟังเรื่องราวของพี่บังอ้วนไปเที่ยวมาแล้วค่ะ
ลืมบอกว่าแนบตำราคู่มือนักเดินทางไปด้วย
....สีหมอกฟาร์ม ตั้งอยู่ที่บ้านแม่สะลองใน อ.แม่จัน เมืองเชียงราย และใกล้สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทองเล็กน้อยๆ เป็นฟาร์มม้าคอกเล็กๆ อยู่ติดกับบริเวณภูใจใสรีสอร์ท ห่างตัวเมือเชียงรายไป 50 กม.กว่า พวกเราปั่นจักรยานแบบสิงห์บรรทุกไปขึ้นเนินสูงลงมาบ้างได้สนุกมาก
....หาก ต้องการเรียนรู้ชีวิตในฟาร์ม สามารถรับรองลูกค้าสนใจการขี่ม้าในภูมิประเทศได้เพียงไม่เกิน 6 คนต่อการขี่ม้า 1 ทริป โดยมีเส้นทางให้เลือกแบบครึ่งวัน และแบบเต็มวัน หากเลือกแบบเต็มวันจะมีบริการอาหารกลางวันด้วย...เรื่องที่พัก พี่บังอ้วนบอกว่ามีบ้านพักเป็นกระท่อมในฟาร์มสีหมอก คุณสีหมอกจะเลี้ยงน้ำชา ข้าวให้กินตามสบาย และที่ภูใจใสรีสอร์ทมีห้องพักหรูสบายแบบคนมีกะเป๋าหนักเท่านั้นเอาล่ะ จบเล่าเรื่องสนุกได้เพียงพอแล้ว..คือว่ากล้องคอมแพ็คของพี่บังอ้วนถ่ายฟิลม์ ไปครึ่งม้วนยังไม่หมด เลยตัดทอนส่วนรูปที่เหลือไม่เกี่ยวกับเรื่องเล่าหรอกค่ะ




สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ ประจวบคีรีขันธ์



      สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองฯ ตั้งอยู่ บนพื้นที่ติดต่อกัน 2 จังหวัด เขตรอยต่อของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นพื้นที่ที่อยู่ในโครงการปลูกป่ามูลนิธิชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง มีพื้นที่ 646 ไร่ เดิมสถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพระ อำเภอ  ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ โดยฟาร์มม้าแห่งนี้ใช้ชื่อว่า “ แผนกเซรุ่ม “

 
     สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองแห่งนี้ มีการจัดการฟาร์มที่มีรูปแบบการเลี้ยงม้าแบบปล่อยแปลง โดยแบ่งเป็น แปลงหญ้าปล่อยม้า แปลงปลูกหญ้าสด อาคารปฏิบัติงานและบ้านพักของเจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ มีภารกิจในการ ผลิตพลาสมาจากม้าเพื่อทำเซรุ่ม ได้แก่ เซรุ่มแก้พิษงูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูแมวเซา และต่อมาปี 2549 ได้ผลิตเซรุ่มแก้พิษงูทับสมิงคลา และ เซรุ่มแก้พิษงูแบบรวมหลายชนิดในขวดเดียวกัน จำหน่ายในปี 2551 รวมถึงผลิตและจำหน่ายเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย
 

 
     ภายหลังจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการฉีดกระตุ้นม้าที่ ใช้ผลิตเซรุ่มแก้พิษงู ที่มีการใช้แอ๊ดจูแว้นท์อย่างจริงจัง จนได้ภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นแล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้าฯ ได้นำโปรแกรมการฉีดที่พัฒนานี้ โดยเฉพาะการฉีดกระตุ้นม้าเพื่อผลิตพลาสมารวมพิษงู มาปรับเปลี่ยนบางอย่างและเริ่มต้นที่จะทำให้ครบวงจน ตั้งแต่การฉีดกระตุ้นในม้าไปจนถึงการเพียวริไฟด์ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เซรุ่มที่พร้อมใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ผลิตภัณฑ์ คือ
1. เซรุ่มรวมพิษงูที่มีผลต่อระบบประสาท ที่รวมเซรุ่มแก้พิษงูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยมและงูทับสมิงคลาไว้ในขวดเดียวกัน
2. เซรุ่มรวมพิษงูที่มีผลต่อระบบโลหิต ที่รวมเซรุ่มแก้พิษงูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูแมวเซาไว้ในขวดเดียวกัน

 

 

 
     นอกจากผลิตพลาสม่าเพื่อทำเซรุ่มแก้พิษงูและพิษสุนัขบ้าแล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ ยังจัดการระบบผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกม้า โดยปรับเปลี่ยนจากวิธีเดิมที่ปล่อยพ่อม้าเข้าไปผสมกับแม่ม้าต่าง ๆ ในแปลงอย่างอิสระ เป็น การจัดระบบผสมพันธุ์ที่มีการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์โดยตรงมาผสมตามแผนที่ กำหนด โดยวางแผนการผลิตจำนวนลูกม้าที่เกิดในแต่ละปี ในจำนวนที่ไม่มากเกินไปและเริ่มนำการผสมเทียมเข้ามาใช้แทนการผสมจริง เพื่อลดอันตรายจากการเตะของแม่ม้า และได้ตรวจคุณภาพของน้ำเชื้อที่จะใช้ผสมก่อน
สำหรับการจัดระบบผสมพันธุ์โดยคัดพ่อแม่พันธุ์ ก่อให้เกิดผลดีต่าง ๆ คือ
1. สามารถกำหนดสายพันธุ์ของลูกม้าที่ต้องการได้
2. ลูกม้าที่เกิดมามีคุณภาพ
3. สามารถตรวจการผสมติดของแม่ม้าได้ทันที ช่วยลดการสูญเสียเวลาในการใช้งานแม่ม้า
4. รู้เวลาที่แน่นอนของการตั้งท้อง นำไปสู่การจัดการต่าง ๆ ช่วงการตั้งท้องและการดูแลระหว่างแม่ม้าคลอดลูก
5. ลดอัตราการตายของลูกลง
6. กรณีที่ใช้วิธีผสมเทียม สามารถตรวจคุณภาพน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ เพื่อทำนายอัตราการผสมติดและคัดทิ้งพ่อพันธุ์ รวมถึงป้องกันพ่อพันธุ์ติดเชื้อโดยตรงจากแม่ม้า
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บและการย้ายฝากตัวอ่อนม้า โดยวิธีนิรศัลยกรรม ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำมาใช้ผลิตลูกม้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องสัตว์สายพันธุ์ดี เพียงแต่เป็นแม่ม้าที่มีสุขภาพดี มีขนาดและรูปร่างที่ไม่แตกต่างเท่าไหร่นักกับแม่ม้าสายพันธุ์ดี ที่ต้องการใช้เป็นแม่พันธุ์ในการผลิตลูกม้า ทำให้แม่ม้าสามารถให้ลูกมากกว่า 1 – 2 ตัว / ปี 

 

 
การจัดการแปลงปลูกหญ้า
 
อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงม้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารข้น ที่มีส่วนประกอบของโปรตีนและแร่ธาตุบางตัวที่สูงกว่าหญ้า ซึ่งเป็นอาหารหยาบอีกชนิดหนึ่งที่ต้องให้ม้ากินทุกวัน นอกเหนือจากการได้รับสารอาหารที่มีในหญ้า เพราะหญ้าจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารของม้าที่มีความยาวหลายสิบเมตรทำหน้าที่ ได้อย่างปกติ ลดการเกิดภาวะเสียดท้อง ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ม้าตายได้
 
 
 
การดูแลและจัดการม้า

ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ เลี้ยงม้าแบบปล่อยแปลง ไม่มีการขังคอก แตกต่างกับการเลี้ยงแบบเดิม ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบขังคอก การเลี้ยงแบบปล่อยแปลงมีข้อดี คือ ม้าจะมีอิสระในการดำรงชีวิต ไม่ถูกบังคับหรือกักขัง คล้ายกับการอยู่ป่าหรือธรรมชาติ ได้ออกกำลังกายตลอดเวลา แต่ก็มีข้อเสียคือ  การจัดและบังคับม้า รวมถึงการดูแลรักษาไม่สามารถเข้าใกล้ตัวม้าได้มากนัก 

 

 
การผลิตสัตว์ทดลอง

นอกเหนือจากการผลิตพลาสมาจากม้า แล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ ยังมีงานวิจัย การผลิตสัตว์ทดลอง ได้แก่ กระตาย หนูตะเภา และหนูเม้าส์ โดยหนูเหล่านี้จะมีจำนวนการงานที่มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น การใช้หนูเม้าส์มาทดสอบเซรุ่ม โดยการหาระดับแอนติบอดี้หรือระดับภูมิคุ้มกันโดยวิธี Neutralization test การใช้เพื่อตรวจยืนยันผลการตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และการนำไปทำวิจัยด้านพิษงูหรือพิษสุนัขบ้าต่าง ๆ หนูตะเภาเป็นสัตว์ที่เหมาะสมต่อการใช้เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์วัคซีน BCG ส่วนกระต่ายนำไปใช้ในการทดสอบหาความบริสุทธิ์ของเซรุ่ม เป็นการตรวจหาสารที่จะทำให้เกิดไข้ โดยการฉีดเซรุ่มที่ต้องการทดสอบในกระต่าย พร้อมวัดอุณหภูมิในกระต่ายเป็นระยะ  ๆ
แผนพัฒนางานของสถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ในปีพ.ศ. 2554 – 2556
1. การผลิตเซรุ่มชนิดใหม่
- เซรุ่มป้องกันบาดทะยัก กำลังอยู่ระหว่างเตรียมม้าและกำหนดโปรแกรมการฉีดกระตุ้นในม้า ซึ่งจะสามารถผลิตพลาสมาดิบจากม้าได้ในปีงบประมาณ 2555
- เซรุ่มแก้พิษจากการบริโภคหน่อไม้ ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการชื่อ “การศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตเซรุ่มต้านพิษจากเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลิ นั่ท” โดยเซรุ่มดังกล่าวหากผลิตใช้ได้เองจะเป็นการง่ายต่อการหาซื้อและมีราคาต่ำ กว่าที่จะต้องนำเข้า
- เซรุ่มแก้พิษงูลายสาบคอแดง (แต่มีปัญหาอยู่ที่การรีดพิษงู)
2. การจัดการม้า สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ มีเจ้าหน้าที่ เครื่องมือที่พร้อมในการผ่าตัด แต่ยังขาดห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้นที่มีลักษณะที่ถูกต้องใช้เป็นสถานที่ผ่า ตัด แต่ได้มีการวางแผนจะนำอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง มาปรับปรุงออกแบบเป็นห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น คอกขังเตรียมผ่าตัด รวมถึงห้องตรวจโรคตาในม้า ซึ่งจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2556  และ การนำเทคนิคการเก็บและย้ายฝากตัวอ่อนม้า มาช่วยในการจัดการระบบผสมพันธุ์ผลิตลูกม้า โดยจะเริ่มในปี 2555

3. งานห้องปฏิบัติการ มีการพัฒนางานตรวจหาเชื้อไวรัสที่ติดต่อถึงคนในม้า เพื่อป้องกันเชื้อปนเปื้อนในพลาสมา และ พัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อมในการตรวจและควบคุมมาตรฐานการผลิตพลาสมา ที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงการพัฒนาการเพาะเชื้อทางแบคทีเรียและเชื้อรา นำไปสู่งานวิจัยในม้า
4. งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และโครงการอื่น ๆ

 
 

นารายณ์ฟาร์ม แห่งดินแดนที่ราบสูง

นารายณ์ฟาร์ม แห่งดินแดนที่ราบสูง

image

นารายณ์ฟาร์ม แห่งดินแดนที่ราบสูง.

พูดคุยเรื่องหมาๆ มาก็มาก ขอเลี้ยวขวาขึ้นไปยังดินแดนที่ราบสูงเพื่อไปดูธุรกิจอาชาที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในขณะนี้บ้างว่าน่าเข้าไปสัมผัสแค่ไหน 


คนที่จะเป็นไกด์นำพาเราไปดูครั้งนี้ก็คือ ผอ.พงษ์เพชร์ ทาหะพรหม ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารายณ์บริบาล และยังเป็นเจ้าของฟาร์มม้า นารายณ์ฟาร์ม ที่เรากำลังพูดถึงนั่นเอง ก่อนที่จะล้วงลึกถึงศูนย์รวมม้า นารายณ์ฟาร์ม ผอ.พงษ์เพชร์ บอกว่าต้องมารู้ประวัติม้ากันซะหน่อยก็แล้วกัน


  


ม้า เป็นสัตว์ที่คนนำมาเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ม้าจึงเปรียบเสมือนสมาชิกภายในบ้าน เป็นทั้งผู้รับใช้และเป็นทั้งเพื่อนไปในตัว ม้าเป็นสัตว์ตระกูลสูงที่มีประโยชน์ทั้งในเวลาปกติและในเวลาสงคราม สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รักษาเอกราชและความเป็นไทของชาติไทยไว้ให้กับคนรุ่นหลังก็ได้อาศัยม้าไว้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขี่ออกรบ เพราะในสมัยก่อนไม่มียวดยานพาหนะ

พันธุ์ม้า มีอยู่ประมาณ 170 พันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ม้าและโพนี่ โดยใช้ความสูงเป็นเกณฑ์ อย่างสูง 14.2 แฮนด์ เรียกว่า ม้า ส่วนที่ต่ำกว่า 14.2 แฮนด์ เรียกว่า โพนี่ กลุ่มที่เรียกว่าม้ายังแบ่งออกเป็น ม้างาน และ ม้าขี่ ม้างาน อาจเรียกว่าม้าเลือดเย็น ม้าขี่ เรียกว่า ม้าเลือดอุ่น แต่ทั้งม้าเลือดเย็นและม้าเลือดอุ่นต่างก็มีอุณหภูมิร่วม 100.5 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 38 องศาเซลเซียส

ม้าใช้งานจะมีรูปร่างใหญ่ แข็งแรง ลำตัวหนา เงียบ ส่วนม้าใช้ขี่รูปร่างเพรียว กระดูกสมส่วน ว่องไว รูปร่างของม้าโพนี่ที่ดีเมื่อดูแล้วจะต้องสมดุล เราอาจสังเกตดูนิสัยม้าได้จากนัยน์ตา โดยธรรมชาติม้าจะมีนิสัยตื่นตกใจง่าย ดังนั้นเราจะต้องเข้าหามันด้วยความนุ่มนวล เมื่อม้าทำผิดเราจะต้องทำโทษทันที แต่เมื่อทำดีเราจะต้องชมโดยตบที่คอเบาๆ นิสัยไม่ดีของม้าใช่มีมาแต่กำเนิด แต่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เราสามารถจะแก้ได้โดยอาศัยคนเลี้ยง คนเลี้ยงม้าที่ดีจะต้องเป็นเป็นคนเงียบ เรียบร้อย มีความเมตตาต่อสัตว์ ทำอะไรต้องสม่ำเสมอและมั่นคง

   



ม้าที่ใช้งานในประเทศเรา ปัจจุบันมี 3 ชนิดคือ
1.ใช้ในกิจการแข่งม้าและการกีฬา
2.ใช้ในกิจการทหาร 
3.ใช้ในกิจการผสมพันธุ์ เพื่อขายเป็นม้าแข่ง ได้แก่การทำฟาร์มม้าพันธุ์ดี
เรียกได้ว่าทั่วภูมิภาคของไทยนิยมเลี้ยงม้ากันมากโดยเฉพาะม้าไทยแม้จะมีความเชื่อว่าม้าไทยมีขนาดเล็ก ดื้อ ฝึกยาก แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนรักม้ายังอนุรักษ์อยู่ จะเห็นได้จากหลายพื้นที่ของไทยนิยมใช้ม้าในภารกิจต่างๆ เช่นงานบวช การท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งการลำเลียงสินค้าจากพื้นที่ที่เป็นภูเขา เป็นต้น และอีกภารกิจที่ม้ากำลังถูกกล่าวถึงมากเวลานี้ก็คือ ภารกิจอาชาบำบัดผู้ป่วยโรคออทิสติก หรือแม้กระทั่งการเยียวยาผู้ป่วยที่มีปัญหาสมาธิสั้น รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก ซึ่งจะว่าไปแล้วการใช้สัตว์มาช่วยในการบำบัดรักษาคนนั้นมีมานานมากแล้ว และก็ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะม้าเท่านั้น หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการใช้สุนัขช่วยฟื้นฟูจิตใจผู้ป่วย หรือการใช้ปลาโลมาช่วยบำบัดโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ สมาธิสั้น กระทั่งเชื่อว่าเสียงโลมาจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย แต่ความวิเศษของม้าที่เหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ คงอยู่ที่เรื่องของสรีระ การเคลื่อนไหว ซึ่งมนุษย์สามารถขึ้นไปนั่งขี่บนหลังม้า รับรู้และสัมผัสการเคลื่อนไหวนั้นๆ  และเวลาขี่ม้าเด็ก (ผู้ป่วย) กับผู้ปกครองจะได้มีโอกาสสื่อสาร ทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีม้าเป็นตัวเชื่อมโยง ช่วยสารสัมพันธ์ที่สำคัญเพราะเวลาอยู่บนหลังม้าเราบอกให้เขาทำอะไรเด็กก็มักจะเชื่อฟังเรามากกว่าปกติ


   



เป็นการทำความเข้าใจในภารกิจของม้าที่มีบทบาทมากพอสมควรในสังคมปัจจุบันที่ ผอ.พงษ์เพชร์ ทาหะพรม ได้พูดคุยให้เราฟัง ทีนี้เรามาเข้าเรื่องของนารายณ์ฟาร์มกันดีกว่าว่าสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน ในฟาร์มประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีม้ากี่สายพันธุ์เผื่อใครอยากเข้าไปสัมผัสจะได้รับรู้เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น

นารายณ์ฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 555 หมู่ที่ 5 บ้านบะแค .เมืองพล-แวงใหญ่ .แวงใหญ่ .แวงใหญ่ .ขอนแก่น และอีกที่ก็คือ 777 หมู่ที่ 7 บ้านท่าเว่อ .ท่ามะไฟหวาน .แก้งค้อ .ชัยภูมิ ซึ่งในที่นี้จะขอพูดถึงที่แวงใหญ่ก็แล้วกัน สถานที่แห่งนี้นั้นมีเนื้อที่กว่า 38 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 แปลง แปลงที่ 1 เป็นแปลงปลูกหญ้าแพงโกล่าซึ่งเป็นหญ้าที่มีโปรตีนสูงเหมาะสำหรับเลี้ยงม้า แปลงที่ 2 ขุดเป็นบ่อเลี้ยงปลานานาชนิดและไร่นาสวนผสม และอีกแปลงเป็นพื้นที่โล่ง สร้างคอกม้าและบ้านพักอาศัย แม้จะห่างไกลความศิวิไลสักนิด แต่การปลูกสร้างที่ผสมผสานลงตัวทำให้สถานที่แห่งนี้ร่มรื่น เหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้อย่างสบาย ยิ่ง ผอ.พงษ์เพชร์ ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้อีกแห่งของชุมชนย่านนี้ เพราะ นารายณ์ฟาร์ม ถือเป็นศูนย์รวมและเรียนรู้อนุรักษ์ม้าไทย, เทศ, ลูกผสม, ม้าแฟนซี และม้าแสนรู้มากมาย


   



จุดเด่นของ นารายณ์ฟาร์ม จะมีพ่อพันธุ์หลายสายพันธุ์ ทั้งม้าไทย ม้าควอเตอร์ ม้าอาราเบี่ยน ม้าลูกผสม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ม้าชั้นดี และมีม้าขี่คุณภาพเยี่ยมจำหน่ายในราคาไม่แพง แค่เริ่มต้นที่ 20,000 บาทเท่านั้นเอง ซึ่งปัจจุบันม้าขี่กำลังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ยิ่งทั่วโลกรณรงค์ลดสภาวะโลกร้อนด้วยแล้ว ม้าขี่ก็ยิ่งได้รับความสนใจ ซึ่งม้าขี่ที่นารายณ์ฟาร์มจะเป็นม้าไทยพันธุ์ผสม ซึ่งจุดเด่นของม้าพันธุ์ผสมจะเป็นม้าที่มีความอดทน แข็งแรง ตัวไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป เลี้ยงง่ายใช้พื้นที่ไม่มาก การกินอยู่ก็สบายๆ แค่มีหญ้าขนหรือหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ใช้ได้แล้ว  เรื่องโรคภัยไข้เจ็บหายห่วงไม่มีให้เห็น ยิ่งช่วงนี้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวและงานแฟร์ต่างๆ ให้ได้เที่ยวกันหลายงาน ส่งผลให้วงการม้าคึกคักตามไปด้วย มีหลายครั้งที่มีการประกวดม้า นารายณ์ฟาร์มเราก็ส่งประกวดด้วยและได้รับรางวัลมาแล้วมากมายเช่นกัน สำหรับลักษณะพันธุ์ม้าไทยที่นิยมเลี้ยงในขณะนี้มี 3 ขนาดคือ 1. ความสูงตั้งแต่ 1.3 เมตรขึ้นไป มีลักษณะโครงสร้างใหญ่เหมาะนำไปพัฒนาสายพันธุ์ 2. ความสูงตั้งแต่ 1.2 เมตร เป็นม้าขนาดกลางที่มีจำนวนมาก ใช้ง่ายเหมาะกับคนไทยและปลอดภัยในการขี่ รูปร่างสวยงามสมส่วน คนไทยนิยมขนาดนี้มาก และขนาดที่ 3 เป็นขนาดเล็กคือต่ำกว่า 1.2 เมตร เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเช่นกัน มักเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนแก้เหงา เหมาะกับเด็กเล็กหัดขี่แต่สายพันธุ์นี้หายากราคาสูง นอกจากนี้ยังมีม้าสายพันธุ์แฟนซี (ม้าด่าง) เป็นพันธุ์หายากมาก แต่สวยคุ้มค่าราคาสูงมักเป็นที่นิยมของผู้พบเห็นเพราะสายพันธุ์สะดุดตา ซึ่งที่นารายณ์ฟาร์มก็มีเช่นกันโดยเฉพาะพ่อพันธุ์อย่างเจ้าสยามแฟนซี โดดเด่นมากเวลานี้ 


   



สำหรับใครที่อยากได้ม้าไปเลี้ยง ผอ.พงษ์เพชร์ บอกว่า ยินดีให้คำปรึกษา นอกจากนี้ยังมีบริการฝึกให้ด้วยโดยครูฝึกผู้ชำนาญการ บริการส่งม้าให้ถึงที่ บริการสร้างคอกโดยผู้เชี่ยวชาญ (ความกว้างของคอกเพียง 3x4 เมตรก็ใช้ได้แล้ว) มีอุปกรณ์เสริม ต่างๆ ที่เป็นหนังแท้ 100 % เช่น อาน รองเท้าบูธ หมวก และอื่นๆ ในราคาที่เป็นกันเอง ถ้าต้องการอาหารเสริมก็มีบริการให้ หากซื้อไปแล้วมีลูกออกมาก็จะรับซื้อลูกคืน (ม้าตั้งท้อง 11 เดือน ตกลูกเอง เพียง 2 ชั่วโมงก็วิ่งปร๋อ) ซึ่งปัจจุบันประเทศมาเลเซีย กัมพูชา ลาว พม่า ต้องการม้าจากเรามาก อ้อ! ม้าก็มีประสาทส่วนกลางโตเหมือนหมา สายตาดี หูดี เหมือนหมาเช่นกัน จะสังเกตง่ายหากเจ้าของกลับเข้ามาเขาจะร้องทักเหมือนหมายังไงยังงั้น 

เป็นอย่างไรบ้างครับการทัวร์ฟาร์มม้า นารายณ์ฟาร์ม ครั้งนี้ หวังว่าแฟนๆ คงจะได้สาระน่ารู้เกี่ยวกับม้าไม่มากก็น้อย สำหรับผมแล้วถือว่า การทำธุรกิจฟาร์มม้า เวลานี้น่าสนใจจริงๆ เงินลงทุนก็ไม่มากมายอะไร เลี้ยงง่ายไม่ขี้โรค ประโยชน์ก็มากหลาย ถึงจุดนี้คงมีหลายคนอยากลงทุนเปิดฟาร์มม้าแล้วละซิ งั้นโทรปรึกษาผู้มีประสบการณ์อย่าง อาจารย์พงษ์เพชร์  ทาหะพรหม แห่งนารายณ์ฟาร์ม ก่อนก็แล้วกันว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร โทรศัพท์สายตรงหมายเลข 081-7254341, 086-3101191 หรือจะเดินทางไปศึกษาฟาร์มม้าด้วยตนเองเพื่อให้ได้เห็นกับตาก็น่าจะดี ฟาร์มมีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่เลขที่ 555 หมู่ที่ 5 บ้านบะแค .เมืองพล-แวงใหญ่ .แวงใหญ่ .แวงใหญ่ .ขอนแก่น 40330 หรือแห่งที่ 2 ตั้งอยู่เลขที่ 777 หมู่ที่ 7 บ้านท่าเว่อ .ท่ามะไฟหวาน .แก้งคร้อ .ชัยภูมิ 36150 สะดวกที่ไหนไปดูกันที่นั่นนะครับ 


  

ขอบคุณ นิตยสารอาณาจักรสัตว์เลี้ยง

ม้าเทวดาเลี้ยง



  ระยะ นี้มีผู้สนใจสอบถามมาเรื่องการเลี้ยงม้า ส่วนใหญ่กลัวเรื่องการดูแลพร้อมค่าใช้จ่าย บางคนกลัวว่าฝึกไม่เป็น ก็เลยเอารูปฝูงม้าแบบบ้านๆ มาให้ดูว่าหากรักจริง หาม้าให้ถูกประเภท ถูกแหล่งมาเลี้ยง หรืออาจปล่อยให้เทวดาเลี้ยงให้บ้างในยามขัดสน ถ่ายพยาธิตามระยะเวลาที่หมอโก้แนะนำ ฝึกขี่ตามวิธีของหมอต้อย นัดหมายคุณดนัยกับท่านชายน้อยไปเที่ยวออกเทรล และอาจพ่วงท่านอื่นไปก็น่าจะสนุกนะ หรือใครจะมีอะไรเป็นอย่างอื่น



 
คุณ หมูครับ ตัวนี้ครับเจ้าเพชร อึดมาก เด็กขี่ดี ผู้ใหญ่ อย่างผมก็เคยขี่แล้ว รับประกันความเชื่อง ต้องขายเพราะทะเลาะกับเจ้าเบิ้มทุกวัน แต่ต้องขนส่งเองนะครับ
ผมเองก็มีม้าPONY 2 ตัวก็เกือบๆเทวดาเลี้ยงเหมือนกันแต่เสริมอาหารเม็ดหรือผลไม้ในไร่ตามฤดูกาล  เสริมเกลือไอโอดีนกับน้ำดื่ม    อยากทราบว่าม้าไทยลูกผสมเทศ จะเลี้ยงแบบเดียวกันได้หรือไม่  ม้าที่ไร่ไม่ตอกเกือกครับ  อีกอย่างคือคนขี่สูง 176 ซม  หนัก  77 กก.ดูไม่ค่อยสมกับม้าPONY ครับ       แนะนำให้ซื้อม้าไทยใหญ่  หรือม้าไทยลูกผสมเทศ   ถ้าลูกผสมเทศ  ผสมพันธุ์ไหนดีที่สุดครับ

การเลี้ยงดูม้า

การเลี้ยงดูม้า
            เนื่องจากไทยโพนี่ตั้งเป้าในการผลิตลูกม้าเพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมใน ประเทศไทย โดยเฉพาะการทำให้ม้านั้นเป็นผู้ช่วยใส่ปุ๋ยให้กับพืชต่างๆ เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนกาแฟ สวนทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย และสวนผลไม้ประเภทอื่น โดยมีข้อม้ว่าจะต้องปรับขนาดของม้าให้มีสรีระและส่วนสูงที่เหมาะสมกับคน ไทย และเราได้พบว่า ม้าลูกผสมที่ส่วนสูงไม่เกิน 155 ซม.(ประมาณ 15.2 แฮนด์) จะมีความเหมาะสมและทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทยมากที่สุด แต่หากมีความสูงเกินจากนี้ จะพบความอ่อนแอในม้าตัวนั้นๆ เช่นกีบไม่แข็งแรง เปลี่ยนอาหารไม่ได้ หรือท้องอืดได้ง่าย ที่สำคัญคือม้าจะมีขนาดใหญ่มากและต้องให้อาหารเสริมตลอดเวลา ไม่สามารถเลี้ยงดูโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติจากท้องถิ่นเป็นหลักได้ ทำให้เป็น ภาระของผู้เลี้ยงมากกว่าเป็นผู้แบ่งเบาภาระ และในขณะนี้ได้ค้นพบว่าม้าลูกผสมเหล่านี้สามารถกินลูกยาง ใบยางพารา ใบปาล์ม ทางมะพร้าว ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก็ควรจะมีการถ่ายพยาธิให้ม้าอย่างน้อยปีละ สอง-สาม ครั้ง และควรมีโรงเรือนเพื่อให้ม้าได้พักในเวลากลางคืน แต่ไม่จำเป็นต้องกางมุ้ง ให้เขา แค่สุมไฟไล่ยุงและมีน้ำสะอาดให้ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว
ม้าของเราที่เลี้ยงเป็นม้าที่มีขนาดกำลังดี เหมาะกับสรีระคนไทย เข้ากับสิ่งแวดล้อมแบบร้อนชื้นและทนยุงได้ดีมาก 
 
การให้อาหารโดยการคำนวณจากน้ำหนักม้า
สิ่ง ที่นำมาเสนอเอามาจากเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมการคำนวณน้ำหนักม้าโดยการวัดรอบอก ม้า (Heart Girth)  และการวัดความยาวม้า จากอกไปโคนหาง ( Body Length)  หลังจากนั้นนำมาคำนวณปริมาณอาหารที่จะต้องให้ม้าต่อมื้อ โดยมีหน่วยเป็นทั้ง กก. และปอนด์ นอกจากนี้ยังมีตารางน้ำหนักม้าที่ความสูงต่างๆเช่น ม้าสูง 13 แฮนด์ หนักประมาณ 290-350 กก.   ม้าสูง 14 แฮนด์ หนักประมาณ 350-420 กก. และม้าสูง 15 แฮนด์จะหนักประมาณ 420-520 กก.  
การใส่ค่าประกอบการคำนวณในการให้อาหารม้าจะต้องใส่ค่าตัวแปรของการรับภาระของม้า (Work Load) ดังนี้คือ  
ม้าทำงานเบา   (Light Load)    เช่นใช้ขี่เดินเล่นใช้เวลาไม่นาน หรือ   ม้าที่ฝึกเล็กๆน้อยๆ
ม้าทำงานปานกลาง (Moderate Load) เช่น ใช้ขี่ออกเทรลวันละ 1-2 ชม.   ม้าที่ฝึกประมาณไม่เกินครึ่ง ชม. ต่อวัน
ม้า ทำงานหนัก (Heavy Load) ม้าที่เข้ารับการฝึกอย่างเข้มข้น   ม้าแข่งเอ็นดูร๊านซ์ ม้าขี่กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง   ม้าเข้าแข่งขันประเภท เดรสสาจ
ตัวอย่าง การคำนวณ ม้าที่มีความยาวรอบอกเท่ากับ 60 นิ้ว   ยาวลำตัว 80 นิ้ว จะมีน้ำหนัก 379 กก. ในสภาพของการใช้งานเบา ที่น้ำหนักตัวปกติ (Normal Weight)  และควรให้อาหารหยาบ 5 กก. ต่อวัน    และอาหารข้นหรือหัวอาหารประมาณ 2 กก. ต่อวัน 
อีกสูตรหนึ่ง อันนี้เป็นการคำนวณมือ โดยการใช้สูตรดังนี้
น้ำหนัก ม้า    = รอบอก X รอบอก X  ความยาวลำตัว เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้หารด้วย 300 และบวกอีก 50 หน่วยออกมาเป็นปอนด์  ผมลองดูทั้งสองสูตรแล้วพบว่าสูตรอันแรกเวิร์กกว่า มาก ๆ
 
 
การอาบน้ำม้า
การ อาบน้ำม้าที่ไม่ได้ใช้งานมากให้ทำอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ และควรสร้างซองอาบน้ำให้มั่นคง ม้าควรเริ่มหัดอาบน้ำตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน
การ แปรงขน ควรใช้แปรงสำหรับแปรงขนม้าโดยเฉพาะ อย่าใช้แปรงซักผ้าหรืออื่นๆ เพราะไม่ได้ผลดี การแปรงขนควรทำทุกวัน หากไม่เช่นนั้นจะทำให้ขนม้าติดอยู่ตามแปรงแกะออกลำบาก และก่อให้เกิดโรคผิวหนังม้าในที่สุด
การ แคะกีบ ควรแคะกีบให้มาทุกครั้งหลังอาบน้ำ พยายามใช้เหล็กแคะกีบ เขี่ยเศษสิ่งสกปรกในกีบออกมาให้หมด หากกีบมีกลิ่น เหม็นต้องสังเกตว่ามีบาดแผลหรือไม่ และใส่ยารักษาให้เรียบร้อย
อาหารม้า
อาหารม้า
อาหารม้าสามารถแบ่งได้ตามวัยดังนี้ คือ  อาหารม้าลูกม้า  อาหารม้าโต อาหารแม่ม้า และอาหารม้าแข่ง  อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีขายเป็นตราอักษรดังๆ เช่น อาหารม้าของซีพี อาหารม้าของนิวทริน่า (Nutrena) (สองยี่ห้อนี้มีส่วนผสมของโปรตีนไม่เกิน 14 %)  นอกจากนี้ยังมีอาหารม้าสูตรผสมเอง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถผสมเองได้  แต่หากหาอาหารม้าไม่ได้ ให้ใช้สูตร(เพื่อพลาง) ดังนี้
อาหารหมู     3.5             ส่วน (ม้าเล็กใช้อาหารหมูเล็ก  ม้ากลางใช้อาหารหมูกลาง แม่ม้าหรือม้าท้องใช้อาหารหมูนม หากมีอาหารม้าก็ใช้อาหารม้าเลย)
รำละเอียด    3-4             ส่วน
ข้าวเปลือก      2              ส่วน
ข้าวโพด          1              ส่วน
กากน้ำตาล   0.3-0.5        ส่วน
รวมทั้งหมด  10 ส่วนต่อมื้อ หรือหากคิดเป็นกิโลกรัมก็ไม่ควรเกิน  3 กก. ต่อมื้อสำหรับม้าใหญ่ (ม้าเทศ)  และหากม้าเล็กกว่านี้ก็ลดลงตามสัดส่วน   และควรให้อาหารวันละสามมื้อ หรืออย่างน้อยควรให้เช้าและเย็น
หมายเหตุว่า  1 ส่วนประมาณ 1 กระป๋องนมข้นหวาน
เสร็จจากการให้อาหารข้นข้างบนนี้แล้วหลังจากนั้นจึงทอดหญ้า(เอาหญ้าใส่ราง) ให้กิน การทอดหญ้าจะมีรางหญ้าต่างหากและใส่หญ้าแห้งหรือฟางไว้ให้ม้าเล็มกินได้ตลอด เวลา แต่หากเลี้ยงแบบประหยัดก็ให้นำม้าไปปล่อยในแปลงหญ้า หรือล่ามเชือกให้กินหญ้าได้
 
      การ ให้อาหารม้ามีข้อเตือนใจว่า สำหรับม้ายืนโรงหรือม้าขังคอกที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หากให้อาหารน้อยก็แค่ผอมและอดอาหาร แต่การให้อาหารมากเกินไปและไม่เป็นเวลาอาจทำให้ม้าท้องอืดถึงตายได้
น้ำ จะต้องมีภาชนะใส่น้ำสะอาดให้ม้ากินตลอดเวลา เน้นว่า  น้ำต้องสะอาดและต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
     
การให้แร่ธาตุอาหารเสริม
เนื่อง จากม้าเป็นสัตว์ที่ใช้พลังงานสูง ร่างกายมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากอาหารหลักที่ได้รับในแต่ละวันแล้ว ม้ายังต้องการแร่ธาตุอาหารมาบำรุงร่างกายตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องด้วย และหาก เป็นม้าที่ใช้งานหนักเสียเหงื่อเยอะ จำเป็นต้องชดเชยแร่ธาตุให้ครบถ้วน สำหรับกรณีนี้เราจึงต้องจัดอาหารเสริมไว้ให้ม้าได้เลียกินตลอดเวลา และที่ฟาร์มได้ใช้แร่ธาตุอาหารคลุกเคล้ากับเกลือวางใว้ให้ม้าตลอดเวลา และจากการสังเกตพบว่าม้าจะมีการขยายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มให้ อาหารเสริมไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
 
เมื่อ ก่อนตอนเริ่มเลี้ยงม้าแรกๆ ไทยโพนี่ยังคงยืนยันการเลี้ยงม้าแบบพอเพียง กล่าวคือให้เฉพาะหญ้าและอาหารเสริมเป็นครั้งคราว แต่เมื่อลองไปได้สักพักก็พบว่าอาการเสริมสำหรับม้าก็เปรียบดั่งวิตามินและ เกลือแร่สำหรับคน ในระยะแรกเคยผสมดินโป่งเลียนแบบธรรมชาติให้เขาเลีย ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง ไทยโพนี่จึงเลิกผสมดินโป่ง หันมาใช้เกลือคลุกซีรีเนียมแทน และใส่รางไว้ให้เลียยามต้องการตลอดเวลา
การให้แร่ธาตุเสริมในม้า (ข้อมูลจาก Selenium - poison or miracles: By Robin Marshall : www.horsetalk.co.nz)
เป็นที่ถกเถียงกันในวงการคนเลี้ยงม้ามานานแล้วว่า ซีรีเนียม หรือแร่ธาตุเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นหรือไม่ อย่างไร 
ขอตอบก่อนเลยว่า เอกสารฉบับนี้ยืนยันการเดินทางสายกลางไว้ครับ นั่นคือ น้อยเกินไปก็ไม่ดี และมากไปก็มีโทษ
เมื่อ แรกเริ่มเลี้ยงม้านั้น ไทยโพนี่ไม่เคยให้ความสำคัญกับแร่ธาตุหรืออาหารเสริมใดๆ สำหรับม้าเลย เพราะเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับคนเลี้ยงม้าระดับรากหญ้า และโดยที่ การเลี้ยงม้านั้นก็ถือว่าเป็นภาระหนักพอสมควรอยู่แล้ว หากไปเพิ่มภาระราย จ่ายก็จะทำให้เกษตรกรเกิดความเบื่อหน่ายและเลิกเลี้ยงในที่สุด ก็จะทำให้ ปริมาณผู้เลี้ยงและปริมาณม้าลดจำนวนลง จนในที่สุดก้ไม่เกิดกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับม้าขึ้น 
ภาย หลังจากไทยโพี่มีประสบการณ์การเลี้ยงม้าและเพาะพันธุ์ม้ามากขึ้น เราจึงพบว่า อาหารเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะซีรีเนียม   เพราะจะทำให้ม้ามีรูปร่างสมบูรณ์ และแข็งแรงมากกว่าตอนที่ไม่ได้ให้แร่ธาตุเสริม    ดังนั้นวันนี้จะขอกล่าวถึงซีรีเนียมโดยเฉพาะ
ธาตุ ซีรีเนียม (Selenium , Se) นั้นเรารับรู้กันมานานว่ามีความสำคัญทางโภชนาการตั้งแต่ปี 1957   แต่ได้เริ่มบันทึกบันทึกผลของมันโดย มาร์โค โปโล   ใน ค.ศ. 1817 ว่าเป็นสารที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ที่หากม้ากินเข้าไป (ในจำนวนมากเกินไป) ก็จะทำให้กีบแตก หรือสึกกร่อนง่าย    และเจ้าสารชนิดนี้พบในพืชที่ขึ้นทางตอนเหนือของอเมริกากลาง ประมาณแถวๆ มลรัฐควีนส์แลนด์ 
นัก วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เจ้าพืชที่ชื่อ แอสตรากาลัส เรสเมส (Astragalus racemes) เป็นพืชที่สะสมซีรีเนียมได้มากถึง 14990 ส่วน ใน 1000 ส่วน หรือพูดง่ายๆ มันมีสะสมสารซีรีเนียมว่ามีมากจนล้นตัวมันนั่นเอง
ในนิวซีแลนด์พบว่า สัตว์ที่กินสารเหล่านี้มากจนเกินขนาดมักจะตาย เพราะยังไม่มียาแก้ 
การ ขาดสารซีรีเนียมนั้น มักพบว่า สัตว์จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ   ท่าเดินหรือการเดินจะไม่เรียบหรือกระโดกกระเดก   (Stiff Gaits)   และปัญหาอื่นๆตามมาเยอะแยะ   เช่น กินเท่าไรก็ไม่อ้วน สำหรับม้าจะสังเกตง่ายๆว่า กระดูกสะโพกและซีโครงจะโปนออกมา (อันนี้ไทยโพนี่ว่าเองจากประสบการณ์)
มี ผู้รู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามอ้างว่า การใช้ซีริเนียมนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกทีเดียวเชียว กล่าวคือเป็นเรื่องของฟาร์มใครฟาร์มมัน   เพราะว่าขึ้นกับว่าปริมาณซีริเนียมในดินหรือแหล่งที่ตั้งของฟาร์มนั้นมีซิ รีเนียมอยู่มากน้อยแค่ไหน เพียงไร  
การให้ซีรีเนียมเสริมอาจทำได้โดยการฉีดร่วมกับการให้วิตามิน บี 12   แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์
สำหรับ ม้านั้น มีข้อถกเถียงกันมานานเรื่องซีรีเนียม หากเป็นม้าแข่งได้รับอาหารม้าแข่งตามปกติ ก็ไม่ต้องเสริม เพราะในอาหารม้าแข่งจะมีซีรีเนียมผสมอยู่แล้ว แต่หากเป็นม้าทั่วไป ที่ปล่อยเล็มหญ้าก็ควรเสริมแร่ธาตุดังกล่าวบ้าง 
แต่ สุดท้ายโรบินสรุปว่า สำหรับม้าควรให้ประมาณ   0.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ม้าหนัก 300-500 กก. ก็ควรใช้ประมาณ 30-50 มิลลิกรัม หรือประมาณ ครึ่งช้อน - 1 ช้อนชา ต่อวัน เน้นว่า ต่อวันนะครับ ไม่ใช่ต่อมื้อ )
ของ ไทยโพนี่เวลาใช้ก็จะผสมเกลือประมาณ เกลือ 1 กก. ต่อซีรีเนียม 3 ช้อนโต๊ะ (สำหรับม้า 10 กว่าตัว) คลุกคล้าใส่ภาชนะไว้ข้างรางอาหารหรือวางไว้ในที่ที่ม้าทุกตัว สามารถมาเลียกินได้ตลอดเวลา     สักอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ให้ครั้งก็เพียงพอ
 
การถ่ายพยาธิ
วิธีการดังนี้ครับ
1. หาซื้อยาถ่ายพยาธิตามร้านสัตวแพทย์หรือร้านอาหารสัตว์ทั่วไป ยี่ห้อตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำ
2. ขอเข็มฉีดยา พร้อมหลอดดูด (ไซริงขนาดไม่น้อยกว่า 20 ซีซี) เขามาด้วย
3. แวะซื้อน้ำหวานเฮลบลูบอยมาสัก 1 ขวดที่ร้านขายของทั่วไป
4. เปิดฝาขวดยา ติดเข็มเข้าที่หลอดไซริง เจาะฉึกเข้าไปที่ฝา จุ่มเข็มให้ลึกเพื่อดูดตัวยา หากให้ดีควรเอียงขวดสักหน่อยพองาม ดูดยาเข้าหลอดหากเป็นม้าใหญ่ก็ซัก 10 ซีซี (ม้าหนัก300 กก.) และลดหลั่นกันไปตามลำดับ แต่ม้าเล็กยังไงก็ไม่ควรจะน้อยกว่า 5 ซีซี
5. ดึงไซริงออก ชักเข็มออกจากหลอดไซริงที่มียาอยู่ บอกคนที่อยู่ใกล้ๆให้เทน้ำหวานใส่ถ้วยสักค่อนถ้วย นำหลอดยาจุ่มในน้ำหวานดึงตูดดูดน้ำหวานจนเต็มพิกัด เขย่ายาและน้ำหวานสักเล็กน้อยพอเข้ากัน
6. เรียงม้าเข้ามาตามเบอร์ หากไม่มีขลุมจงจับใส่ให้เรียบร้อย จับม้าเงยหน้าอ้าปาก เอาหลอดยาแตะปากให้รู้ว่าหวาน พอม้าอ้าปากจึงกดเข็มส่งให้ยาพุ่งเข้าให้ถึงลำคอ ดันปากล่างม้าไว้จนกลืนเกลี้ยงเกลา
7. อีก 3-4 เดือน จึงมาทำพิธีตั้งแต่ 1-6 ใหม่


ขั้นตอนแรก
นำหลอดดูดยาติดเข็มให้เรียบร้อย พร้อมจุ่มลงดูดตัวยา ม้าใหญ่ 10 ซีซี ม้าเล็ก ม้าไทย 5 ซีซี
ขณะเดียวกันให้เทน้ำหวานใส่ขันรอไว้
เมื่อดูดยาได้แล้ว ปลดเข็มฉีดยาออก นำหลอดดูดไปจุ่มในขันหรือถ้วยน้ำหวาน ดึงก้านดูดให้ได้น้ำหวานจนเต็มหลอด

จับม้ารอไว้ และรอกรอกยาเข้าปาก

ดันปากม้ากันคายออก
เมื่อ ฉีดยาเข้าปากแล้วให้ดันปากล่างของม้าขึ้น ระวังอย่าให้คาย เก็บอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย ขวดยาที่เหลือแช่ตู้เย็นเอาไว้ให้พันมือเด็ก
 
การตรวจพิสูจน์สายเลือดม้าโดยใช้ ดี เอ็น เอ  (สรุปจาก Equine DNA testing : Dr Jenny Cahill: March 27, 2008 :www.horsetalk.co.nz)
การ ตรวจสอบพันธุกรรมหรือ ดีเอ็นเอ ของม้านั้นเป็นเทคโนโลยีอันเดียวกันที่ใช้กับคน หากแต่สามารถทำได้มากกว่าการตรวจสอบหาพ่อแม่   นั่นคือสามารถตรวจสอบเรื่องของสายพันธุ์   สี โรคที่มีมากับม้าสายนั้นๆ         อีกทั้งเพื่อเป็นการยืนยันสายพันธุ์พ่อแม่ของลูกม้าก่อนการขึ้นทะเบียนอีก ด้วย     และต่อไปจะเป็นการ(พยายาม...อย่างยิ่งยวด )ที่จะอธิบายให้พอเข้าใจได้อย่างง่ายๆ สำหรับการพิสูจน์ โดย เจ้า ดีเอ็นเอ ที่ว่า จะต้องประกอบด้วย 
- โครโมโซม เจ้าตัวนี้จะอยู่ในนิวเคลียส (เหมือนไข่แดง) ของเซลล์ร่างกายคน   โครโมโซมจะอยู่เป็นคู่ แต่ละคู่จะประกอบด้วยของพ่อและของแม่อย่างละอัน
ดีเอ็นเอ   (DNA,deoxyribonucleic acid) เป็นโมเลกุลของตัวประกอบ 4 ตัวหลัก คือ A (adenine), T (thymine), G (guanine) และ C (cytosine) 
- ยีนส์   เจ้าตัวนี้มาพร้อมกับตัว ยีนส์ มาร์กเกอร์ หรือที่เรียกว่าโลไซ
- ไมโครแซทเทลไลท์ หรือว่าดาวเทียมจิ๋ว เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวกำหนด ดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ มาร์กเกอร์ 
- อัลลีล Allele ตัวนี้สำคัญสุด เพราะว่าเป็นตัวกำหนดยีนส์ หรือ ยีนส์มาร์กเกอร์    โดยจะมีมาสองตัว   เป็นของพ่อและของแม่อย่างละตัว
ฝรั่ง เขาอ้างว่า เมื่อมีการพิสูจน์ ดีเอ็นเอ ม้านั้น แม้ว่าจะเป็นสมุดคู่มือประวัติทะเบียนม้าทองคำที่ก่อตั้งในปี 1791 โดยเวเธอร์บี้แอนด์ซัน   ก็ได้ตรวจพบว่า จากจำนวนแม่ม้าแข่งพันธุ์ดี 30 ตัว    ประมาณ ครึ่งนึงหรือ 15 ตัว พบว่ามีสายเลือดไม่ตรงกับการบันทึกในสมุดประวัติ (แต่มีคนไทยจำนวน เยอะมากที่ฝรั่งบอกบอกว่า สายเลือดต้องอย่างนั้นอย่างนี้... เราก็เชื่อเขาทันที ...นี่ตรวจแค่ 30 ตัวนะครับ ) และอันนี้ขอเฉลยเลยว่า ของฝรั่งเขาก็มั่วเหมือนกัน ครับทั่น   หากท่านมีม้ามากกว่าสามตัว และมีลูกม้าหนุ่มอยู่ในฝูง ก็จะรู้ว่าการป้องกันการผสมของม้านั้นยากกว่าที่ เราคิด ปัจจัยอีกหลายประการคือ ม้าหลุดไปผสม   ม้าที่นำมาแข่งหลุดมาผสม   ลูกม้าผสมกันเอง ฯ จิปาถะ
    
ใน ตอนท้ายของบทความนี้เขาบอกว่า   เท่าที่ผ่านมาการจัดทำสมุดทะเบียนม้ามีจุดอ่อนมากมาย การตรวจ DNA จะช่วยท่านเจ้าของม้ากำจัดจุดอ่อนที่ว่านี้     ดังนั้น เขาจึงแนะนำว่าควรเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของม้าเร่งนำพ่อม้าและแม่ม้าไปบันทึก การตรวจ ดีเอ็นเอ เสียแต่เนิ่นๆ    เพื่อจะได้สร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ก่อน เมื่อลูกม้าเกิดออกมาก็ตรวจเฉพาะ ของลูกอย่างเดียว เพื่อเป็นการยืนยัน ความถูกต้องอีกที เนื่องจากในแต่ละปี มีการตรวจพบว่ามีลูกม้าจำนวนเยอะมากที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ เนื่องจากแม่ม้าตายไปก่อน 
การใช้บาร์โค้ดในม้า RFID Chips in Horses
ท่าน ที่ไปซื้อสินค้าตามห้างร้านต่างๆคงจะคุ้นตากับการที่พนักงานเก็บเงินนำ สินค้ามารูดปรื๊ด ๆ ๆ... ที่เครื่องยิงบาร์โค้ด โดยหากเราสังเกตสักหน่อยก็จะพบว่าที่สินค้าจะมีแถบขีดสีดำเรียงเป็นเส้น เล็กๆ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของสินค้าแต่ละชนิด ไม่ซ้ำกัน   วิธีการนี้นอกจากจะทำให้คิดราคาสินค้าได้รวดเร็วแล้ว ยังมีความแม่นยำเป็น อย่างสูงที่จะไม่ทำให้ลูกค้าได้สินค้าผิดไปจากราคาที่เลือกมา
ใน วงการม้าก็เช่นกัน ปัจจุบันเริ่มมีการรณรงค์ที่จะใช้บาร์โค้ดติดเข้าไปในตัว ม้า สาเหตุหลักก็เกิดจากการที่มีโรคระบาดม้าประเภท EHV-1 (Equine Herpes Virus Type 1) หรือที่บางคนเรียกว่าโรคเอดส์ม้า เชื้อโรคนี้ในยามปกติจะไม่แสดงตน แต่เมื่อ ม้าเริ่มมีอาการเครียดก็จะเริ่มมีอาการ และสามารถติดต่อผ่านทางอุปกรณ์ เครื่องใช้ส่วนตัวหรือลมหายใจของม้าได้ เช่น ขลุม สายจูง ภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น และเจ้าเชื้อโรคนี้ส่งผลทำให้วงการต้องได้รับความเสียหายหลายร้อย หรือหลายพันล้านบาท
เมื่อ ประมาณปี ค.ศ. 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีการเสนอให้ใช้แถบบาร์โค้ดหรือ RFID (Radio frequencies Identification) ฝังเข้าในตัวม้า วงการอื่นเขาใช้มานานแล้ว เช่น หมู วัว หรือกระต่าย ทั้งนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมโรคม้าเสียก่อนเป็นอันดับ แรก แต่ประโยชน์อื่นๆที่ตามมาก็มีอีกมากมาย เช่น การขึ้นทะเบียนม้า   การตรวจสอบสายพันธุ์   การตามหาม้าที่โดนขโมย   การป้องกันการสวมทะเบียนม้าแข่ง ฯ
วิธี การทำก็ไม่ยาก โดยการใช้ชิปที่มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวสาร ฝังหรือฉีดที่ บริเวณต้นคอม้า (ปลายผม ต้นตระโหนก) ด้านซ้าย   ก่อนการฝังนั้นก็จะต้องมีการใส่ข้อมูลเสียก่อนว่าเป็นม้าประเภทไหน ลูกใคร เคยตรวจโรครักษาที่ไหนอย่างไรมาก่อน....อื่นๆอีกจิปาถะ เหมือนข้อมูลสินค้าตามห้าง เมื่อเวลาจะใช้ก็ใช้เครื่องยิงบาร์โค้ดมายิงปี๊บ เข้าไป หลังจากนั้นจึงนำมาแปลรหัส หากมีข้อมูลตรงกับที่บันทึกไว้ก็ไม่มี ปัญหา 
การ ฝังชิปและการใช้งานไม่ยากครับ เพราะวันก่อนเห็นช่อง TPBS นำรายการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาออกอากาศการใช้งานของ RFID ในหมู และกระต่าย ก็เห็นว่าง่ายและสะดวกน่าใช้ดีมาก
ที่สำคัญคือลดข้อขัดแย้งที่ว่าม้าสายอะไร พันธุ์ไหน พ่อแม่คือตัวไหน หรือม้าแข่งสวมทะเบียน ได้อย่างหมดจดครับ

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court