Pages

Sunday, September 18, 2011

ม้า

ม้า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Equus caballus หรือ Equus ferus caballus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ที่ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงและถูกใช้ในกิจกรรมการเดินทางขนส่ง การทหาร กีฬา สันทนาการและอาจจะใช้เป็นอาหารของมนุษย์ในบางวัฒนธรรมมานานนับพันปีแล้ว ปัจจุบันบทบาทของม้าถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะแบบใหม่จน บทบาทลดลงไปเหลือเพียงทางกีฬาและสันทนาการโดยส่วนใหญ่ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันเราจะเห็นม้าเป็นสัญลักษณ์ที่ควบคู่กับคาวบอย

 ม้าในวรรณคดี

ม้า ราคา

เด็ดเดี่ยวตอนอายุ 15 วัน ลูกขององอาจตัวนี้ด่างตามตำรา พื้นขาวแต้มแดง ขนคอ ขนหางขาว

เด็ดเดี่ยวอายุ 2 เดือนเด็ด เดี่ยว  ลูกม้าอายุ 7  เดือน (เกิด 5  มิ.ย. 53) ตัวนี้ใครสนใจต้องจองครับ ไทยโพนี่รับเลี้ยงให้จนหย่านม  เป็นลูกม้าตัวผู้ ลูกขององอาจกับแม่ม้าลูกผสมสูง 130 ซม.  ตัวนีส่วนสูงเต็มที่ไม่น้อยกว่า 140 ซม. แน่นอน รับประกันคุณภาพ  ราคาลดเหลือ 60,000 เท่านั้น ครับ (ราคานี้ไม่รวมค่าขนส่งครับ) และมีบริการส่งลูกม้าให้ถึงบ้านเลย



รูปนี้ถ่ายกับแม่เขาครับเด็ดเดี่ยวกับแม่เขา ที่สูง 130 ซม. รับประกันโตเต็มที่เกิน 140 ซม. แน่นอน

เด็ดเดี่ยวอายุ 3 เดือนถ่ายรูปคู่กับลูกม้าตัวเมียอายุ 6 เดือน
เด็ดเดี่ยวตอนอายุ  3  เดือนกับพี่สาวอายุ 8เดือน เทียบขนาดให้เห็นจะๆ   สำหรับรูปล่างเป็นรูปตอนอายุ 6 เดือน

ลูกม้าเด็ดเดี่ยว  อายุ  เดือน

ลูกม้าตัวผู้ชื่อเด็ดเดี่ยว  ลูกองอาจ ที่ด่างต้องตามตำราตัวสุดท้ายของฟาร์ม

ลูกม้าอายุชื่อธันวา  แม่ไทย พ่ออองอาจ



ตัวถัดมาลูกม้าตัวผู้อายุ1 ขวบเศษ เกิดเมื่อ ธ.ค. 52  เป็นลูกองอาจกับแม่ม้าไทย  ตัวนี้เป็นตัวเดียวที่ไม่ด่าง เป็นตัวน้องของท่านอุทัศน์ ณ พังงา  สูงเต็มที่ประมาณ 130 + ซม. ขายราคา 15,000 บาท

ปักกิ่งลูกม้าอายุ 10  วัน เกิดเมื่อตรุษจีน 3  กพ.ที่ผ่านมานี่เอง
ตัวถัดมาสำหรับวันนี้เป็นลูกม้าที่เกิดเมื่อตรุษจีน ( 3 ก.พ. 54) ที่ผ่านมานี่เอง  เป็นลูกขององอาจครับ  ราคาขาย 25,000 บาท

มงคล ลูกม้าเกิดเมื่อ วันฉัตรมงคล ( 5 พ.ค.54)
ลูกม้าตัวผู้ชื่อมงคล สูงยาว เข่าดี  เป็นลูกขององอาจที่ไม่ด่างครับ
ลูกม้าตัวผู้ชื่อมงคล เกิดวันฉัตรมงคลที่ผ่านมา

ลูกม้าตัวสุดท้ายของปีนี้  มงคลลูกม้าเกิดเมื่อวันฉัตรมงคล  ขายราคา 25,000 บาทครับ

ลำดับต่อไปเป็นม้าสาวตัวเมียอายุ สองปีครับ (ขอ อภัยที่ครั้งแรกลงอายุผิด เพราะตรวจสอบแล้วเขาเกิดก่อนเด็ดเดี่ยวแค่ 5 เดือนเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นลูกม้าที่เกิดปีเดียวกับเด็ดเดี่ยว) ชื่อ สร้อยทอง (เพราะมีสร้อยที่คอ) เป็นม้าด่างลูกขององอาจกับแม่ม้าลูกผสมรุ่นสอง (ลูกของกาละแมร์และเจ้าเบิ้ม)  ใครได้ไปเลี้ยงหากใส่เชื้ออาหรับเข้าสักหน่อยรับรองไปโลด  ตัวนี้ใครสนใจราคาลดสุดๆแล้ว 55,000 บาท รับรองตัวนี้ประกาศไปไม่เกินสองอาทิิตย์ต้องมีคนคว้าไปเป็นแม่พันธุ์แน่นอน

ลูกม้าด่างตัวเมียลูกองอาจส่วนสูงประมาณ 128 ซม. เชื่องนิสัยดีมาก
ลูกม้าด่างตัวเมียลูกขององอาจส่วนสูงประมาณ 127 ซม.ฝึกแล้วเล็กน้อย


ภาพตรงหน้าสร้อยทองลูกม้าเด่นประจำฉบับบของเรา

ลำดับต่อไปเป็นแม่ของลูกด่างตัวเมียด้านบน ชื่อ กาละแมร์ เป็นม้าลูกผสมแม่ไทยสีดำสนิท  อายุประมาณ 7 ปี ส่วนสูง 125 ซม. กับเจ้าเบิ้ม  อดีตพ่อม้าดังของเรา   ตัวนี้แม่ของเขาเป็นม้าไทยที่มีหน้าตาไปทางอาหรับอย่างแรง และจัดเป็นม้าสายก่อตั้งของเราอีกตัวหนึ่ง  ราคาขาย 45,000 บาทครับ
แม่ม้าอายุประมาณ  7 ปี ส่วนสูง 125 ซม.


รูปเจ้าโค๊กแม่ของกาละแมร์ ยายของสร้อยทอง โปรดสังเกตุหน้าจิ้งจกและรูจมูกที่ไปทางอาหรับครับ (แม่ม้ารุ่นก่อตั้ง ตายไปหลายปีแล้วครับ แต่ยังเห็นบางเว็บเอาไปลงอยู่ ไม่รู้เพื่อจุดประสงค์อะไร)

การฝึกม้า

มูนสไมล์  อนาคตพ่อม้าหลักของเราในอนาคต กำลังรับการใส่อานเพื่อสร้างความคุ้นเคยครั้งแรก
 การฝึกม้า  Horse Training
 ก่อนการฝึกม้า เราควรทราบว่าภาษากายของเขาเป็นอย่างไร เพื่อจะได้สะดวกต่อการสื่อสารกับเขา
ม้าเป็น สัตว์ที่เป็นเหยื่อโดยธรรมชาติ และวิธีการเมื่อม้าพบคู่ต่อสู้หลักคือการหนี และมีหลักสังเกตอากับกริยาของ ม้าโดยสังเกตจากอาการต่างของม้าได้ง่าย เช่น
-การเอียงหูไปข้างหน้าหรือข้างหลัง การกระทืบขาหน้า หรืออื่นๆ ในที่นี้จะยกตัวอย่างของกริยาต่างๆมาให้ทราบอย่างคร่าวๆ ดังนี้
- หูเอียงไปข้างหลังสองข้าง มีอารมณ์โกรธ หวงถิ่น หวงลูก หวงอาหาร อย่ามายุ่งกับฉัน
- เอียงไปข้างหน้าเพียงข้างเดียว ยังลังเลใจ ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อดี แต่มีแนวโน้มเริ่มรับฟังแล้ว มีสัญญาณที่ดี
- เอียงไปข้างหน้าพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมจะรับฟัง พร้อมรับการฝึก ลองบอกมาซิว่าจะให้ฉันทำอะไร
กระทืบเท้าหน้า ตะกุยขาหน้า   อย่าขังฉันหรืออย่าล่ามฉันไว้อย่างนี้ ปล่อยฉันเดี๋ยวนี้นะ ไม่อย่างนั้นไม่ยอม เพราะรำคาญเต็มทีแล้ว 
ยืดคอ พร้อมสูดจมูกไปในอากาศพร้อมยื่นคอไปข้างหน้าสุดๆ    ฉันพอใจมาก อารมณ์ดี ฉันถูกใจเธอ มาเป็นแฟนกันนะ
กลิ้งลงไปนอนกับพื้น   เกลือกตัวกับพื้นกลิ้งไปกลิ้งมา วันนี้อากาศดีจัง   ฉันกินอิ่มแล้วด้วย อยากอาบแดด
ก้มหัวย่อตัวต่ำ ยื่นหน้าเดินเข้าหาและยิงฟัน   อย่าทำเราเลยนะ เราพวกเดียวกันนะ   อย่าทำฉัน
การฝึกขี่ม้าไทยครั้งแรกๆ  อาจให้เด็กลองขึ้นหลังดู ม้าจะได้รับน้ำหนักไม่มากนัก
ข้อแนะนำ อย่าเข้าหาม้าหรือพยายามให้บทเรียนขณะเขากินอาหาร 
 เมื่อเรียนรู้ภาษากายของม้าแล้วหลังจากนั้นจึงนำม้าไปฝึก
และ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร ไทยโพนี่จึงนิยมที่จะฝึกลูกม้าเพียงเบื้องต้น หลังจากนั้นจึงส่งม้าให้แก่ลูกค้าที่ต้องการนำไปฝึกขี่หรือใช้งานอย่างจริง จังต่อไป โดยสามารถแบ่งขั้นตอนการฝึกลูกม้าดังนี้
ลูกม้าอายุ ไม่เกิน 6 เดือน
1.      อายุ 5-6 เดือนจับลูกม้าใส่ขลุมเบื้องต้น  วิธีการก็คือ คล้องลูกม้าโดยใช้เชือกที่มีขนาดพอเหมาะ และทำปมที่ปลายเชือกป้องการรูดไปรัดคอลูกม้า (วัดจากปลายเชือกมาประมาณ 1 เมตร  ตามขนาดลำคอลูกม้าและผูกปมเชือกไว้หนึ่งขมวด) เพื่อใช้คล้องลูกม้า
2.       นำ ลูกม้าเข้าคอก  พยายามคล้องให้ได้ หากลูกม้ากลัวและวิ่งก็ปล่อยให้ขาวิ่ง หากให้ดีก็เปิดคอกให้เขาวิ่งออกจากคอก การเตลิดของลูกม้าทำให้เขามีสภาพเหมือนโดนไล่ออกจากฝูง และเมื่อเหนื่อยก็จะย้อนกลับมา หาฝูง
3.      เมื่อลูกม้ากลับมาจึงพยายามจับปลายเชือกและผูกกับเสาไว้ ค่อยๆปลอบลูกม้าจนเขาไม่มีอาการตกใจ
4.      นำขลุมมายกให้ลูกม้าดู และทำท่าสวมเข้าที่ปลายจมูก ลูกม้าจะดิ้นตกใจ ค่อยๆลูบตัวจนหายกลัว และใส่ขลุมให้เรียบร้อย
5.       จูงลูกม้าที่ใส่ขลุมไปอาบน้ำเพื่อบอกเขาว่าหากยอมใส่ขลุมแล้วจะสบาย
 
 ลูกม้าควรได้รับการฝึกตีวงเมื่อาอยุประมาณ 1 ปีไปแล้ว
ลูกม้า ที่อายุประมาณ 2 - 2.5 ขวบจะเริ่มนำมาฝึกตีวงในคอกวงกลม (Round Pen) แต่หากขัดสนงบประมาณก็อนุโลมให้ฝึกตีวงโดยการใช้เชือกโยงขวาหรือโยงซ้ายและ ตีวงขวาและซ้ายตามลำดับ วิธีเริ่มต้นจะต้องนำม้ามาใส่บังเหียนเสียให้เรียบร้อยดังภาพ ในครั้งแรกม้า จะพยายามใช้ลิ้นดันบังเหียน วิธีแก้ไขคือใส่บังเหียนให้พอดี และทิ้งบังเหียนคาปากม้าไว้สักครึ่งชั่วโมง พอให้เขารู้ว่าต่อไปนี้เหล็กในปากที่คาอยู่จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเขาแล้ว การใส่บังเหียนที่เหมาะสมไม่ควรตึงและหย่อนจนเกินไป กล่าวคือหากตึงไปปากม้าจะบาดเจ็บ และหากหย่อนไปม้าจะพยายามคายจนหลุดออกมา
เก็บปลาย เชือกบังเหียนให้สั้นผูกเอาไว้บนหลังม้า และนำม้าไปตีวงสัก 15 นาที หรือพอให้ม้ามีเหงื่อซึม ในขั้นนี้เน้นว่าควรให้ม้าได้ออกกำลังพอสมควร จะลดอาการตกใจลงได้สำหรับการฝึกขั้นต่อไป
 
 การขี่ม้าของไทยโพนี่เริ่มจากการขี่ม้าหลังเปล่า
การขึ้นหลังม้าครั้งแรก
เมื่อตี วงจนเข้าที่ดีแล้วจึงพักให้หายตื่นกลัว จากนั้นจึงค่อยเดินเข้าหาม้า และเข้าลูบจับบริเวณหลัง บอกให้รู้ว่าไม่มีอันตรายใดๆ ช่วงนี้ม้าที่ฝึกครั้งแรกจะตระหนกตกใจ บางตัวอาจไม่ยอมให้เข้าใกล้ การฝึกขั้นนี้ต้องใช้ความอดทนจนสามารถเข้าใกล้ ม้าได้ เมื่อม้ายอมให้เข้าใกล้แล้วจึงเอาลำตัวของเราพาดหลังม้าค่อยๆ ถ่ายน้ำหนักไปยังหลังม้า ทำเช่นนี้สัก 2-3 ครั้ง หากม้าไม่ตื่นกลัวจึงค่อยพลิกตัวเอาขาคร่อมไปสู่ท่านั่งขี่ตามลำดับ ในชั้น นี้ยังไม่ต้องผูกอาน ม้าที่ขี่หลังเปล่าได้แล้วจะง่ายสำหรับการฝึกติดอานในอนาคต  
 
 
     การฝึกติดอาน
 เมื่อลูกม้าอายุประมาณ  2 ขวบหรือกว่านั้น ภายหลังการตีวงเสร็จก็ให้นำมาฝึกติดอาน เมื่อพบว่าม้าไม่ตื่นกลัวก็นำมาที่ติดอานแล้วมาตีวงต่อไป และทำดังนี้เหมือนการฝึกตีวงตามปกติ
 
 
     การขี่ม้า และการฝึกขี่ม้า  Horse Riding
ลูกม้าเมื่อมีอายุประมาณ 2.5  - 3  ขวบ เมื่อผ่านการตีวงมาพอสมควรแล้วจึงนำมาติดอานเพื่อทดลองขี่ การขี่ม้าครั้งแรกจะต้องรอให้ม้ามีอายุไม่น้อยกว่าสองปี หากน้อยกว่านั้นม้าอาจประสบปัญหาเรื่องกระดูก และเมื่ออายุครบแล้วหากการเลี้ยงไม่ดีหรืออาหารไม่ถึงก็ควรรอให้ลูกม้ามี กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์เสียก่อน โดยอาจรอจนลูกม้าอายุ 3-3.5 ปี
วิธีการฝึกขี่ก็โดยการนำลูกม้ามาฝึกตีวงเพื่อวอร์มร่างกายเสียก่อน หลังจากนั้นจึงนำม้าติดอาน เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงลองเอาลำตัวพาดบนหลังม้า เมื่อพบว่าม้าไม่มีอาการขัดขืนจึงค่อยโน้มตัวไปข้างหน้า และนำขาคร่อมหลัง และนั่งบนอาน เมื่อนั่งแล้วยังไม่ต้องสอดเท้าในโกลน และลองขี่ม้าโดยมีคนถือสายที่ใช้ตีวงบังคับอยู่ ลองให้ม้าเวียนขวาและซ้าย เมื่อม้าเชื่อฟังคำสั่งดีแล้วจึงปลดเชือกตีวงออกและลองขี่จริงๆ  เป็นอันจบการฝึก

เจ้าเบิ้มกับผู้เขียน พ่อม้าตัวแรกของฟาร์ม
 
 
 
     อุปกรณ์ที่ใช้ในการขี่ม้า (สมควรอย่างยิ่งต้องมีอย่างน้อยตามรายการข้างล่าง)
    • บังเหียน ครบชุด  ชุดบังเหียนจะประกอบด้วยเหล็กขวางปากม้า (ฺBits) ซึ่งมีทั้งแบบอ่อนและแบบแข็ง  สายบังเหียน (Rein)  ซึ่งมีทั้งสายหนังและสายผ้าที่ใช้ในการบังคับม้า
    • อาน ม้า  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรองนั่งบนหลังม้า สามารถใช้ได้ทั้งแบบอังกฤษ และอเมริกัน  การเลือกอานควรเลือกที่มีขนาดพอเหมาะกับม้า และขนาดของม้าในเมืองไทยก็ควรใช้อานที่มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ  15 นิ้ว
    • สาย รัดทึบ  เป็นสายหนังหรือสายผ้าใบที่ใช้รัดอานให้แนบแน่นกับลำตัวม้า สายอัดทึบควรรัดให้แน่นบริเวณอกม้า เพื่อป้องกันอานพลิกหรือขยับ
    • ผ้ารองอาน  ใช้รองอาน ทำมาจากผ้าหรือพรมอย่างหนา
    • โกลน   .เป็นเหล็กหล่อสำหรับใช้เป็นที่เหยียบตอนขึ้นม้า  และสอดเท้าเพื่อพักเท้าขณะขี่
    • ขลุม  เป็นสายหนังหรือผ้าใบที่ใช้สวมหัวม้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงในการเข้าจับ จูง หรือบังคับอย่างอื่น
    • ถุงมือ ต้องมีเพื่อป้องกันมือได้รับบาดเจ็บ หรือกรณีอุบัติเหตุไม่คาดฝัน แรงดึงของเชือกจะทำให้บาดมือได้
    • หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค
    • รองเท้าขี่ม้า รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าบู๊ทสามารถใช้ได้
 
วิธีการขึ้นหลังม้าที่ฝึกยากของมานะ หนุ่มเมืองจันทร์ เขาบอกว่า 
เป็นวิธีที่ผมใช้กับเจ้าเดี่ยวม้าที่บ้าน สมัยที่มาอยู่บ้านใหม่ๆเจ้าของไม่เคยขี่เป็นม้าปล่อยแปลง ดื้อ กัด ทุ่มใส่เป็นบางที
1. หาแหล่งน้ำที่ใกล้ๆบ้าน ควรมีความลึกหลายระดับ
2. ใส่ขลุม ผูกเชือกให้ยาวประมาณ 5 เมตรครับ
3. เมื่อเชือกพร้อม คนพร้อม ก็นำม้าลงน้ำ
4. ถ้าม้าไม่ยอมลงน้ำ ควรหาผู้ช่วย ไล่ก้นลงน้ำ เพราะส่วนมากจะไม่ลงเองต้องกระตุ้น(ถ้าผู้ฝึกอยู่ในน้ำแล้วควรระวัง ม้ากระโดดลงน้ำใส่คนอันตรายมากโดนมาแล้วครับ)
5. เมื่อม้าลงน้ำแล้ว ให้ผู้ช่วย ช่วยจับเชือก ส่วนผู้ฝึกจูงม้าไปยังตำแหน่งที่น้ำลึกๆ (ลึกจนขาม้าไม่ถึงยิ่งดี)
6. จากนั้นก็เข้าทางด้านข้างม้าแล้วพยายามขึ้นหลังใช้มือด้านนึงจับขลุมตรงปาก ไว้ พยายามจนขึ้นหลังได้ถ้าม้าไม่เคยจะดิ้นมาก(แต่หนุกดีผมชอบครับ)
7. เมื่อม้ายอมให้ขึ้นหลัง ก็ขึ้นลงบ่อยๆในน้ำ อย่าพึ้งเอามาตรงตื้นๆ
8.ขึ้นลงจนม้าชิน หรือมันเหนื่อยก็แล้วแต่ ค่อยๆจูงมาตรงแหล่งน้ำที่ลึงประมาณใต้ท้องม้า
9.ขึ้นขี่อีกรอบ ขั้นตอนนี้ม้าจะวิ่งหรือกระโดด เพราะขาเขาถึงพื้นแล้วให้ผู้ช่วยจับเชือกดีๆครับ พยายามขึ้นจนได้ ขึ้นลงๆๆๆๆๆๆจนชิน
10. เมื่อชินแล้วก็ย้ายม้ามาตรงแหล่งน้ำ ประมาณเข่าม้า ขึ้นลงจนม้านิ่ง อยู่บนหลังนานๆ ผู้ฝึกไม่ควรกลัวดำ
11.เมื่อม้าชินก็ย้าย มายังแหลังน้ำริมฝั่ง มึน้ำแฉะๆดินนุ่มๆตกจะได้ไม่เจ็บ ขึ้นลง เอาหญ้าขนริมฝั่งให้ม้ากินไปด้วยคุยกะมันเยอะๆ ขึ้นลงบ่อยๆ อยู่บนหลังนานๆ
12. จากนั้นก็เอาขึ้นบกเลยครับ จะขึ้นหลังได้ง่ายมาก มีโดดบ้าง

การเพาะพันธุ์ม้า

การผสมพันธุ์ม้าของเราในระยะเริ่มตั้งฟาร์ม
4. การพัฒนาพันธุ์ม้าของไทยโพนี่
จาก ที่กล่าวมาแล้วว่า ไทยโพนี่เริ่มการเลี้ยงม้าจากลูกม้าที่ได้จากการนำแม่ม้าไทยไปผสมกับพ่อม้า แข่ง ทั้งนี้ เพื่อต้องการสายเลือดและรูปร่างของม้าแข่งพันธุ์เธอโรเบร็ตมายกระดับสาย เลือด (Up Grade)  โดย จะทำให้ลูกม้าที่ได้มีโครงสร้างใหญ่มากกว่าม้าไทยเล็กน้อย ข้อเสียก็คือลูกม้ารุ่นนี้ยังมีนิสัยของม้าป่าแบบม้าไทยติดอยู่อีกเยอะ เมื่อลูกม้าตัวเมียรุ่นแรกโตขึ้น จึงนำไปผสมกับพ่อม้าของไทยโพนี่ที่ชื่อเจ้าเบิ้ม  (ปัจจุบันจำหน่ายออกจากฟาร์มแล้ว)  โดยเจ้าเบิ้มเป็นพ่อม้าลูกผสม สูงประมาณ 15 แฮนด์  เป็นม้าที่เกิดในประเทศไทย ลักษณะเด่นของเบิ้มคือเป็นม้าลูกผสมควอเตอร์ฮอร์ส  ที่มีลักษณะเด่นคือ นิ่ง นิสัยดี  ขี่ สบาย ไม่ก้าวร้าว กีบแข็งแรงทนทาน ไม่มีปัญหาเรื่องโรคกีบให้รำคาญใจ สามารถผสมกับแม่ม้าไทยให้ลูกสวยสุดๆ แม้ว่าแม่ม้าตัวนั้นจะไม่มีความสวยเลย การที่ไทยโพนี่ใช้พ่อม้าที่เป็นม้าขนาดกลาง เนื่องจากต้องการนำมายกระดับสายเลือดให้เข้าใกล้สากลแต่ก็ยังคงต้องการ ลักษณะเด่นในเรื่องของความทนทานและกีบที่แข็งแรงของม้าไทย  ข้อดีของการใช้พ่อม้าขนาดกลางคือ ทำให้การเลี้ยงรวมทั้งบริหารจัดการได้ง่ายและทำให้แม่ม้าไม่ได้รับอันตรายขณะผสมและขณะคลอด



พ่อม้าตัวแรกของเรา  เจ้าเบิ้ม
พ่อม้าลูกผสมควอเตอร์ฮอร์ส เจ้าเบิ้ม พ่อม้าตัวแรกของฟาร์ม สูงประมาณ 153 ซม.ล่าสุดไปอยู่ที่ ด่านสิงขร  จ.ประจวบคีรีขันธุ์

สำหรับพ่อม้าที่จะมาเป็นกำลังหลักในอนาคตอันใกล้คือพ่อม้าที่ชื่อ องอาจ เป็นม้าด่างแบบแฟนซี (
Pinto Horse)  ปัจจุบันอายุห้าปี (เกิด ส.ค. 48)  ในระยะแรกจะผสมเฉพาะม้าในฟาร์มเท่านั้น เพราะว่าต้องระมัดระวังเรื่องโรคม้าที่เริ่มระบาด  องอาจ คือที่มาของแบรนด์ไทยโพนี่ นั่นหมายถึงม้าไทยลูกผสมที่เป็นม้าด่างผลิตโดยฟาร์มของที่นี่จะมีตราสินค้า ว่าไทยโพนี่ จุดขายของฟาร์มคือ เป็นม้าด่างไทยสไตล์สากลที่เลี้ยงได้ง่ายๆ ในภูมิอากาศแบบสวนยาง สวนกาแฟ และสวนปาล์มของไทย (องอาจเป็นลูกของวันเฉลิมของอำพลฟาร์ม และแม่ม้าสายเลือดลิปปิซานเนอร์ชื่อบัวขาว)

วันเฉลิม พ่อขององอาจ
แสดงรูปวันเฉลิม พ่อขององอาจ

บัวขาว แม่ขององอาจ  ส่วนสูงของเธอประมาณ 142 ซม.
แสดงรูปของบัวขาว แม่ขององอาจ

 องอาจ พ่อม้าตัวเก่งที่ให้ลูกสวยอันดับหนึ่งของเมืองไทย กับส่วนสูงประมาณ 145 ซม.
รุปขององอาจ  พ่อม้าตัวปัจจุบัน

แม่ม้า
          จาก ที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่าไทยโพนี่เริ่มจากแม่ม้าเพียงสองตัว ภายหลังจากเปิดตัวเป็นทางการจึงเริ่มซื้อแม่ม้าเข้ามาอีกประมาณ 3-5 ตัว และภายหลังก็ได้ลูกม้าเพิ่มบ้าง จนในปัจจุบันมีม้าประมาณ 15-20 ตัว ม้าจำนวนนี้ได้ทยอยขายออกไปบ้าง บางทีก็ซื้อเข้ามาใหม่ ทำให้มีจำนวนม้าหมุนเวียนสับเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากไทยโพนี่ต้องการรักษาปริมาณม้าไม่ให้มากเกินไป เพื่อที่จะไม่เป็นภาระต่อผู้เลี้ยงและทำให้แม่ม้าไม่สมบูรณ์เพียงพอ สำหรับแม่ม้าของไทยโพนี่ยึดหลักว่าจะใช้แม่ม้าลูกผสมที่มีสูงประมาณ 130 ซม. ขึ้นไป เนื่องจากม้าขนาดนี้หากให้ลูกจะทำให้ได้ขนาดพอเหมาะ ตลาดมีความต้องการสูง และจะเริ่มบำรุงแม่ม้าตอนท้องประมาณ 6 เดือนไปแล้ว เพื่อให้ลูกที่ได้มีสภาพสมบูรณ์สวยงาม
แม่ม้าตัวแรกของฟาร์ม


แม่ม้าท้องในฟาร์ม

ลูกม้า Foals
          ลูกม้าของไทยโพนี่มีทุกขนาดโดยมีตั้งแต่ลูกม้าไทย ลูกม้าลูกผสม  โดย จะแยกลูกม้าให้หย่านมตอนอายุประมาณ 8 เดือน ถึง 1 ปี หลังจากนั้นจึงนำมาใส่ขลุมและฝึกเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ลูกม้ารู้จักการปรับตัวให้เคยชินกับมนุษย์  และ โดยที่กล่าวแล้วว่า ไทยโพนี่เน้นม้าที่นิสัยดี หากลูกม้าตัวใหนที่เริ่มมีอาการเตะ หรือกัด ก็จะนำมาฝึกฝนเบื้องต้นเพื่อให้บทเรียนแก่เขา และเท่าที่ผ่านมาลูกม้าที่จำหน่ายออกยังไม่เคยพบปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูเลย ที่สำคัญคือลูกม้าของไทยโพนี่ทุกตัวจะมีคู่มือบันทึกการผสม พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เพื่อเป็นประวัติเบื้องต้นทุกตัว
ไทยโพนี่จะเลี้ยงดูลูกม้าที่เพิ่งเกิดจนอายุไม่ต่ำกว่า 1 ขวบจึงเริ่มจำหน่ายออก  ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ต้องการนำม้าไปเลี้ยงได้มีโอกาสเลี้ยงให้รอดปลอดภัย และเพื่อให้ผู้เลี้ยงมีความคุ้นเคยกับลูกม้าตั้งแต่เล็ก
อายุของลูกม้าและม้าตามวัยต่างๆ
ช่วงนี้มีมือใหม่การตระเวณหาซื้อม้ากันเยอะ  มี ทั้งคนที่ได้ของดีและไม่ดี ผู้ขายก็อยากจะขายม้าแก่ หรือม้าไม่สมบูรณ์ให้ได้ราคาดี ส่วนผู้ซื้อก็อยากจะได้ของดี ม้าดี ม้าหนุ่มสาว ราคาถูก เรื่องนี้ไทยโพนี่มีความเห็นว่าเมื่อเราเลือกม้ามาอยู่กับเรานั้นแทบจะทั้ง ช่วงชีวิตของเรา และก็ไม่เคยเห็นใครที่มีม้าแค่ตัวเดียวแล้วพอ มีแต่จะหาเพิ่ม วันนี้จึงเอาเรื่องของอายุม้าสำหรับมือใหม่มาให้รู้พอสังเขป  (อัตราอายุม้า 1 ปี เทียบเท่าคนที่อายุ 7 ปี)
1. ลูกม้าไม่เกิน 6 เดือน  ขนอุยเต็มตัว แข้งขายาวมากจนเห็นได้ชัด  ส่วนใหญ่ยังกินนมแม่ และเห็นแม่ต้องเห็นลูกเดินคลอเคลียกัน
2. ลูกม้า 6-12 เดือน ขนอุยเริ่มบางลง โดยเฉพาะที่ขาและหน้าแข้งจะไม่มีขนอุยเหลือแล้ว  แต่ที่อื่นเช่นบริเวณลำตัวยังปกคลุมประมาณ  ร้อยละ 90 ยังไม่หย่านม  ลำตัวและแข้งขาเริ่มได้สัดส่วนกัน  ลูกเริ่มเดินห่างๆจากแม่ หรือเล็มหญ้าห่างแม่แต่หากไปไหนก็ยังไปด้วยกัน
3. ลูกม้าอายุ 1-2  ขวบ ตัวเมียเริ่มแยกจากแม่ แต่ตัวผู้อาจจะยังกินนม  ขนอุยเริ่มหมดตอนอายุประมาณ 1.5 ปี  ลูก ม้าตัวผู้เริ่มขึ้นตัวเมีย ตัวที่สมบูรณ์ลูกอัณฑะด้านขวา(หรือซ้าย) เริ่มลงมาให้เห็น ลูกม้าตัวเมียที่สมบูรณ์อาจจะเริ่มแสดงอาการเป็นสัดให้เห็นตอนประมาณเกือบ สองขวบ
4. ลูกม้าอายุ 2-3 ปี ม้าตัวผู้เป็นหนุ่ม  ลูก อัณฑะลงมาครบทั้งสองข้าง ม้าตัวเมียเริ่มยอมให้ตัวผู้ทับแล้ว ม้าตัวผู้จะโตจนเกือบจะเต็มที่แล้ว และหากนานไปจะขยายความหนาแทน ส่วนความสูงอาจจะเพิ่มอีกไม่เกิน 3-5   ซม. (จนกว่าอายุจะครบ5 ปี)
5. ม้าอายุ 3-4 ปี เป็นม้าโตเต็มวัย ตัวผู้เริ่มมีเขี้ยวงอก ตัวเมียร่างกายจะเริ่มหนามากกว่าเดิม ม้าในอายุช่วงนี้จะเป็นช่วงสมบูรณ์สุดขีด ส่วนตัวผู้จะคึกมากจนบังคับยาก
6. ม้าอายุ 5-12 ปี เป็นวัยเหมาะสำหรับใช้งาน เนื่องจากตัวผู้จะเริ่มลดความคึกลง ตัวเมียจะเริ่มให้ลูก  ตัวผู้เขี้ยวจะยาวมากขึ้นตามลำดับ  ม้าตัวผู้สามารถใช้เป็นพ่อพันธุ์ได้ดีในอายุช่วงนี้ และสำหรับม้าแข่งตัวเมียจะปลดจากการเป็นแม่ม้าเมื่ออายุเกิน 12 ปี
7. ม้าที่อายุเกิน 12 ปี การดูฟันไม่ค่อยได้ผลสำหรับม้าวัยนี้ แต่หากอ้าปากดูจะสังเกตว่าฟันหน้ามักยาวจนโง้งสังเกตได้ง่าย อาจเริ่มป่วยกระเสาะกระแสะ บางตัวผอมจนขุนไม่อ้วน เริ่มกินหญ้าน้อยลง  ขนคอและขนตามลำตัวไม่เป็นมันแวววาว  หากใครซื้อม้าวัยนี้ไปก็จะเปรียบดั่งเลี้ยงคนชราอีกคน
ลูกม้าของไทยโพนี่  รับรองคุณภาพทุกตัว
การผสมพันธุ์ม้า
  The Breeding Programs
 การ ผสมพันธุ์ม้าของไทยโพนี่ จะมีการคัดสรรและหมุนเวียนเปลี่ยนพ่อพันธุ์ไปเรื่อยๆ โดยเริ่มจากพ่อม้าแข่งที่ใช้ผลิตลูกม้าในรุ่นแรก (ไม่มีพ่อม้าเป็นของตัวเอง ใช้การนำแม่ม้าไปผสม) จนมาถึ่งรุ่นที่สองจึงใช้พ่อม้าลูกผสมควอเตอร์ฮอร์สชื่อเจ้าเบิ้ม ส่วนสูงประมาณ 152 ซม.  และเมื่อคัดลูกม้าตัวเมียในรุ่นที่สองไว้บ้างแล้วจึงกำลังจะนำพ่อม้าด่างชื่อองอาจที่ปัจจุบันอายุประมาณห้าปีมาใช้เป็นพ่อพันธุ์  สำหรับ การผสมพันธุ์นั้นหากแม่ม้าฮีทเองตามธรรมชาติก็จะปล่อยให้พ่อม้าเข้าผสมเอง และหากเป็นแม่ม้าเพิ่งคลอดก็อาจจะทับได้เลยที่ประมาณ 9 วันหลังคลอด หรืออาจจะปล่อยให้ทับรอบที่สอง หรือประมาณ 1 เดือนหลังคลอด  และจากการติดตามสถิติการผสมพบว่า ม้ามักผสมกันในฤดูหนาวหรือประมาณ  พ.ย. ก.พ.



การจัดทำสมุดประวัติทะเบียนม้า 
Stud Book Record
การทำสมุดประวัติม้าของไทยโพนี่ได้อนุโลมใช้ตามแบบฟอร์มของสมาคมผู้เพาะพันธุ์ม้าขี่แห่งประเทศไทย www.SWHBS.comโดยจะยกตัวอย่างมาดังนี้
ประวัติม้า

ชื่อม้า .องอาจ    Name OangArt
เพศ    /¨ ผู้            ¨ เมีย                    ¨ผู้ตอน
พันธุ์..พื้นเมือง     สายพันธุ์ พื้นเมือง…...............................................
สี...ขาว-แดง ปินโต  .........................................................................................................................
น้ำหนัก ..........350...........ก.ก. ความสูง......14.2.................แฮนด์ หรือ .............145...........ซ.ม.

เกิดเมื่อ ..17./..ส.ค../..2548. สถานที่เกิด  .Thaipony Farm.
น้ำหนักแรกเกิด ....................ก.ก ความสูงแรกเกิด ...............HH หรือ .................ซ.ม.

ชื่อพ่อม้า......วันเฉลิม................................... ความสูง.....14.3..................แฮนด์ หรือ ..148........ซ.ม.
พันธุ์....... ไทยพื้นเมือง........................................ สายพันธุ์ พื้นเมือง เธอรโรเบรต..........................................................

ชื่อแม่ม้า.....บัวขาว. ความสูง...14..แฮนด์ หรือ .142 ..ซ.ม.
พันธุ์..พื้นเมือง............................................. สายพันธุ์  ไทย-ลิปิซานเนอร์..................

ผู้ผสมพันธุ์........Mike ThaiPony............................................................
ติดต่อ ....................................................................................................
เจ้าของ....... Mike ThaiPony .....................................................................................................
ติดต่อ ......................................................................................................


ผู้บันทึกข้อมูล …………………………………..
วันที่บันทึก................/…….………/……………
รูปพรรณ

วันที่
รายการ
หมายเหตุ
ม.ค. เม.ย. ธ.ค. 2549
ถ่ายพยาธิ

ก.พ. ส.ค. ธ.ค. 2550
แต่งกีบ

10  ก.พ. 2551
ผสมพันธุ์กับแม่ม้าไทยชื่อน้ำตาล



ข้อเสนอแนะ
สมุดประจำตัวม้า Equine Passport ทำ ขึ้นเพื่อบันทึกข้อมูลประจำตัวม้าของ สมาชิกกลุ่มผู้พัฒนาพันธุ์ม้าขี่แห่งประเทศไทย เป็นรายตัว ในการปฏิบัติงานกับม้า เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบเมื่อเกิดเหตุใดๆขึ้นกับตัวม้า
การกรอกข้อมูล
  1. ชื่อม้า ควรเป็นชื่อที่ใช้เรียกม้าเป็นประจำ ออกเสียงง่ายชัดเจน
  2. พันธุ์ ควรระบุพันธุ์ของม้าให้ตรงตามพันธุ์ ถ้าเป็นลูกผสมให้ยึดตามพันธุ์พ่อม้า ถ้าไม่ทราบให้ระบุเป็นม้าพื้นเมือง
  3. สายพันธุ์ ถ้าทราบว่าม้ามีสายพันธุ์ย่อย (Secondary breed) ให้ระบุด้วย
  4. สี ให้ระบุสีที่เป็นสากล
  5. อายุ ทางกลุ่มจะรับขึ้นทะเบียนม้าอายุ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากม้าอาจเปลี่ยนสีขนได้ ถ้าไม่ทราบวันเกิดให้ดูจากฟัน
  6. น้ำหนักม้า  น้ำหนัก(กก.) = เส้นรอบอก(นิ้ว) 2 X ความยาวไหล่ถึงสะโพก(นิ้ว)
660
  1. ความสูง 1 Hands Horse (HH) เท่ากับ 4 นิ้ว หรือประมาณ  10 เซนติเมตร ทศนิยม เช่น 15.1HH ทศนิยม คือ 1 นิ้ว
  2. พ่อม้า แม่ม้า ถ้าทราบรายละเอียดให้ระบุ
  3. ผู้ผสมพันธุ์ (Breeder) ผู้จัดการผสมพันธุ์ม้า
  4. เจ้าของ (Owner) ผู้เป็นเจ้าของม้าโดยถูกต้องตามกฎหมาย
  5. รูปพรรณ ขวัญ ลักษณะด่าง ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
  6. รูปม้า ควรถ่ายส่งรูปม้าเต็มตัวยืนหันหน้าไปทางซ้าย
  7. รายการบันทึก ควร บันทึกวันที่และรายการที่ปฏิบัติต่อม้าทุกอย่าง เช่น วันเกิด การให้ยาถ่ายพยาธิ ยารักษา วัคซีน ให้ยาบำรุง ตัดแต่งกีบ ผสมพันธุ์ รักษาพยาบาล เคลื่อนย้าย หรือข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ

การเลี้ยงม้า

การเลี้ยงดูม้า
            เนื่องจากไทยโพนี่ตั้งเป้าในการผลิตลูกม้าเพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมใน ประเทศไทย โดยเฉพาะการทำให้ม้านั้นเป็นผู้ช่วยใส่ปุ๋ยให้กับพืชต่างๆ เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนกาแฟ สวนทุเรียน ลิ้นจี่ ลำไย และสวนผลไม้ประเภทอื่น โดยมีข้อม้ว่าจะต้องปรับขนาดของม้าให้มีสรีระและส่วนสูงที่เหมาะสมกับคน ไทย และเราได้พบว่า ม้าลูกผสมที่ส่วนสูงไม่เกิน 155 ซม.(ประมาณ 15.2 แฮนด์) จะมีความเหมาะสมและทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทยมากที่สุด แต่หากมีความสูงเกินจากนี้ จะพบความอ่อนแอในม้าตัวนั้นๆ เช่นกีบไม่แข็งแรง เปลี่ยนอาหารไม่ได้ หรือท้องอืดได้ง่าย ที่สำคัญคือม้าจะมีขนาดใหญ่มากและต้องให้อาหารเสริมตลอดเวลา ไม่สามารถเลี้ยงดูโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติจากท้องถิ่นเป็นหลักได้ ทำให้เป็น ภาระของผู้เลี้ยงมากกว่าเป็นผู้แบ่งเบาภาระ และในขณะนี้ได้ค้นพบว่าม้าลูกผสมเหล่านี้สามารถกินลูกยาง ใบยางพารา ใบปาล์ม ทางมะพร้าว ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก็ควรจะมีการถ่ายพยาธิให้ม้าอย่างน้อยปีละ สอง-สาม ครั้ง และควรมีโรงเรือนเพื่อให้ม้าได้พักในเวลากลางคืน แต่ไม่จำเป็นต้องกางมุ้ง ให้เขา แค่สุมไฟไล่ยุงและมีน้ำสะอาดให้ตลอดเวลาก็เพียงพอแล้ว
ม้าของเราที่เลี้ยงเป็นม้าที่มีขนาดกำลังดี เหมาะกับสรีระคนไทย เข้ากับสิ่งแวดล้อมแบบร้อนชื้นและทนยุงได้ดีมาก 
การให้อาหารโดยการคำนวณจากน้ำหนักม้า
สิ่ง ที่นำมาเสนอเอามาจากเว็บไซต์ที่มีโปรแกรมการคำนวณน้ำหนักม้าโดยการวัดรอบอก ม้า (Heart Girth)  และการวัดความยาวม้า จากอกไปโคนหาง ( Body Length)  หลังจากนั้นนำมาคำนวณปริมาณอาหารที่จะต้องให้ม้าต่อมื้อ โดยมีหน่วยเป็นทั้ง กก. และปอนด์ นอกจากนี้ยังมีตารางน้ำหนักม้าที่ความสูงต่างๆเช่น ม้าสูง 13 แฮนด์ หนักประมาณ 290-350 กก.   ม้าสูง 14 แฮนด์ หนักประมาณ 350-420 กก. และม้าสูง 15 แฮนด์จะหนักประมาณ 420-520 กก.  
การใส่ค่าประกอบการคำนวณในการให้อาหารม้าจะต้องใส่ค่าตัวแปรของการรับภาระของม้า (Work Load) ดังนี้คือ  
ม้าทำงานเบา   (Light Load)    เช่นใช้ขี่เดินเล่นใช้เวลาไม่นาน หรือ   ม้าที่ฝึกเล็กๆน้อยๆ
ม้าทำงานปานกลาง (Moderate Load) เช่น ใช้ขี่ออกเทรลวันละ 1-2 ชม.   ม้าที่ฝึกประมาณไม่เกินครึ่ง ชม. ต่อวัน
ม้า ทำงานหนัก (Heavy Load) ม้าที่เข้ารับการฝึกอย่างเข้มข้น   ม้าแข่งเอ็นดูร๊านซ์ ม้าขี่กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง   ม้าเข้าแข่งขันประเภท เดรสสาจ
ตัวอย่าง การคำนวณ ม้าที่มีความยาวรอบอกเท่ากับ 60 นิ้ว   ยาวลำตัว 80 นิ้ว จะมีน้ำหนัก 379 กก. ในสภาพของการใช้งานเบา ที่น้ำหนักตัวปกติ (Normal Weight)  และควรให้อาหารหยาบ 5 กก. ต่อวัน    และอาหารข้นหรือหัวอาหารประมาณ 2 กก. ต่อวัน 
อีกสูตรหนึ่ง อันนี้เป็นการคำนวณมือ โดยการใช้สูตรดังนี้
น้ำหนัก ม้า    = รอบอก X รอบอก X  ความยาวลำตัว เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วให้หารด้วย 300 และบวกอีก 50 หน่วยออกมาเป็นปอนด์  ผมลองดูทั้งสองสูตรแล้วพบว่าสูตรอันแรกเวิร์กกว่า มาก ๆ
การอาบน้ำม้า
การ อาบน้ำม้าที่ไม่ได้ใช้งานมากให้ทำอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอ และควรสร้างซองอาบน้ำให้มั่นคง ม้าควรเริ่มหัดอาบน้ำตั้งแต่อายุประมาณ 4-6 เดือน
การ แปรงขน ควรใช้แปรงสำหรับแปรงขนม้าโดยเฉพาะ อย่าใช้แปรงซักผ้าหรืออื่นๆ เพราะไม่ได้ผลดี การแปรงขนควรทำทุกวัน หากไม่เช่นนั้นจะทำให้ขนม้าติดอยู่ตามแปรงแกะออกลำบาก และก่อให้เกิดโรคผิวหนังม้าในที่สุด
การ แคะกีบ ควรแคะกีบให้มาทุกครั้งหลังอาบน้ำ พยายามใช้เหล็กแคะกีบ เขี่ยเศษสิ่งสกปรกในกีบออกมาให้หมด หากกีบมีกลิ่น เหม็นต้องสังเกตว่ามีบาดแผลหรือไม่ และใส่ยารักษาให้เรียบร้อย
อาหารม้า
อาหารม้า
อาหารม้าสามารถแบ่งได้ตามวัยดังนี้ คือ  อาหารม้าลูกม้า  อาหารม้าโต อาหารแม่ม้า และอาหารม้าแข่ง  อาหารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีขายเป็นตราอักษรดังๆ เช่น อาหารม้าของซีพี อาหารม้าของนิวทริน่า (Nutrena) (สองยี่ห้อนี้มีส่วนผสมของโปรตีนไม่เกิน 14 %)  นอกจากนี้ยังมีอาหารม้าสูตรผสมเอง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถผสมเองได้  แต่หากหาอาหารม้าไม่ได้ ให้ใช้สูตร(เพื่อพลาง) ดังนี้
อาหารหมู     3.5             ส่วน (ม้าเล็กใช้อาหารหมูเล็ก  ม้ากลางใช้อาหารหมูกลาง แม่ม้าหรือม้าท้องใช้อาหารหมูนม หากมีอาหารม้าก็ใช้อาหารม้าเลย)
รำละเอียด    3-4             ส่วน
ข้าวเปลือก      2              ส่วน
ข้าวโพด          1              ส่วน
กากน้ำตาล   0.3-0.5        ส่วน
รวมทั้งหมด  10 ส่วนต่อมื้อ หรือหากคิดเป็นกิโลกรัมก็ไม่ควรเกิน  3 กก. ต่อมื้อสำหรับม้าใหญ่ (ม้าเทศ)  และหากม้าเล็กกว่านี้ก็ลดลงตามสัดส่วน   และควรให้อาหารวันละสามมื้อ หรืออย่างน้อยควรให้เช้าและเย็น
หมายเหตุว่า  1 ส่วนประมาณ 1 กระป๋องนมข้นหวาน
เสร็จจากการให้อาหารข้นข้างบนนี้แล้วหลังจากนั้นจึงทอดหญ้า(เอาหญ้าใส่ราง) ให้กิน การทอดหญ้าจะมีรางหญ้าต่างหากและใส่หญ้าแห้งหรือฟางไว้ให้ม้าเล็มกินได้ตลอด เวลา แต่หากเลี้ยงแบบประหยัดก็ให้นำม้าไปปล่อยในแปลงหญ้า หรือล่ามเชือกให้กินหญ้าได้
      การ ให้อาหารม้ามีข้อเตือนใจว่า สำหรับม้ายืนโรงหรือม้าขังคอกที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย หากให้อาหารน้อยก็แค่ผอมและอดอาหาร แต่การให้อาหารมากเกินไปและไม่เป็นเวลาอาจทำให้ม้าท้องอืดถึงตายได้
น้ำ จะต้องมีภาชนะใส่น้ำสะอาดให้ม้ากินตลอดเวลา เน้นว่า  น้ำต้องสะอาดและต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน
     
การให้แร่ธาตุอาหารเสริม
เนื่อง จากม้าเป็นสัตว์ที่ใช้พลังงานสูง ร่างกายมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากอาหารหลักที่ได้รับในแต่ละวันแล้ว ม้ายังต้องการแร่ธาตุอาหารมาบำรุงร่างกายตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องด้วย และหาก เป็นม้าที่ใช้งานหนักเสียเหงื่อเยอะ จำเป็นต้องชดเชยแร่ธาตุให้ครบถ้วน สำหรับกรณีนี้เราจึงต้องจัดอาหารเสริมไว้ให้ม้าได้เลียกินตลอดเวลา และที่ฟาร์มได้ใช้แร่ธาตุอาหารคลุกเคล้ากับเกลือวางใว้ให้ม้าตลอดเวลา และจากการสังเกตพบว่าม้าจะมีการขยายกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มให้ อาหารเสริมไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
เมื่อ ก่อนตอนเริ่มเลี้ยงม้าแรกๆ ไทยโพนี่ยังคงยืนยันการเลี้ยงม้าแบบพอเพียง กล่าวคือให้เฉพาะหญ้าและอาหารเสริมเป็นครั้งคราว แต่เมื่อลองไปได้สักพักก็พบว่าอาการเสริมสำหรับม้าก็เปรียบดั่งวิตามินและ เกลือแร่สำหรับคน ในระยะแรกเคยผสมดินโป่งเลียนแบบธรรมชาติให้เขาเลีย ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง ไทยโพนี่จึงเลิกผสมดินโป่ง หันมาใช้เกลือคลุกซีรีเนียมแทน และใส่รางไว้ให้เลียยามต้องการตลอดเวลา
การให้แร่ธาตุเสริมในม้า (ข้อมูลจาก Selenium - poison or miracles: By Robin Marshall : www.horsetalk.co.nz)
เป็นที่ถกเถียงกันในวงการคนเลี้ยงม้ามานานแล้วว่า ซีรีเนียม หรือแร่ธาตุเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นหรือไม่ อย่างไร 
ขอตอบก่อนเลยว่า เอกสารฉบับนี้ยืนยันการเดินทางสายกลางไว้ครับ นั่นคือ น้อยเกินไปก็ไม่ดี และมากไปก็มีโทษ
เมื่อ แรกเริ่มเลี้ยงม้านั้น ไทยโพนี่ไม่เคยให้ความสำคัญกับแร่ธาตุหรืออาหารเสริมใดๆ สำหรับม้าเลย เพราะเกรงว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองสำหรับคนเลี้ยงม้าระดับรากหญ้า และโดยที่ การเลี้ยงม้านั้นก็ถือว่าเป็นภาระหนักพอสมควรอยู่แล้ว หากไปเพิ่มภาระราย จ่ายก็จะทำให้เกษตรกรเกิดความเบื่อหน่ายและเลิกเลี้ยงในที่สุด ก็จะทำให้ ปริมาณผู้เลี้ยงและปริมาณม้าลดจำนวนลง จนในที่สุดก้ไม่เกิดกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับม้าขึ้น 
ภาย หลังจากไทยโพี่มีประสบการณ์การเลี้ยงม้าและเพาะพันธุ์ม้ามากขึ้น เราจึงพบว่า อาหารเสริมสำหรับม้านั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะซีรีเนียม   เพราะจะทำให้ม้ามีรูปร่างสมบูรณ์ และแข็งแรงมากกว่าตอนที่ไม่ได้ให้แร่ธาตุเสริม    ดังนั้นวันนี้จะขอกล่าวถึงซีรีเนียมโดยเฉพาะ
ธาตุ ซีรีเนียม (Selenium , Se) นั้นเรารับรู้กันมานานว่ามีความสำคัญทางโภชนาการตั้งแต่ปี 1957   แต่ได้เริ่มบันทึกบันทึกผลของมันโดย มาร์โค โปโล   ใน ค.ศ. 1817 ว่าเป็นสารที่มีอยู่ในพืชบางชนิด ที่หากม้ากินเข้าไป (ในจำนวนมากเกินไป) ก็จะทำให้กีบแตก หรือสึกกร่อนง่าย    และเจ้าสารชนิดนี้พบในพืชที่ขึ้นทางตอนเหนือของอเมริกากลาง ประมาณแถวๆ มลรัฐควีนส์แลนด์ 
นัก วิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า เจ้าพืชที่ชื่อ แอสตรากาลัส เรสเมส (Astragalus racemes) เป็นพืชที่สะสมซีรีเนียมได้มากถึง 14990 ส่วน ใน 1000 ส่วน หรือพูดง่ายๆ มันมีสะสมสารซีรีเนียมว่ามีมากจนล้นตัวมันนั่นเอง
ในนิวซีแลนด์พบว่า สัตว์ที่กินสารเหล่านี้มากจนเกินขนาดมักจะตาย เพราะยังไม่มียาแก้ 
การ ขาดสารซีรีเนียมนั้น มักพบว่า สัตว์จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ   ท่าเดินหรือการเดินจะไม่เรียบหรือกระโดกกระเดก   (Stiff Gaits)   และปัญหาอื่นๆตามมาเยอะแยะ   เช่น กินเท่าไรก็ไม่อ้วน สำหรับม้าจะสังเกตง่ายๆว่า กระดูกสะโพกและซีโครงจะโปนออกมา (อันนี้ไทยโพนี่ว่าเองจากประสบการณ์)
มี ผู้รู้ที่ไม่ประสงค์ออกนามอ้างว่า การใช้ซีริเนียมนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกทีเดียวเชียว กล่าวคือเป็นเรื่องของฟาร์มใครฟาร์มมัน   เพราะว่าขึ้นกับว่าปริมาณซีริเนียมในดินหรือแหล่งที่ตั้งของฟาร์มนั้นมีซิ รีเนียมอยู่มากน้อยแค่ไหน เพียงไร  
การให้ซีรีเนียมเสริมอาจทำได้โดยการฉีดร่วมกับการให้วิตามิน บี 12   แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์
สำหรับ ม้านั้น มีข้อถกเถียงกันมานานเรื่องซีรีเนียม หากเป็นม้าแข่งได้รับอาหารม้าแข่งตามปกติ ก็ไม่ต้องเสริม เพราะในอาหารม้าแข่งจะมีซีรีเนียมผสมอยู่แล้ว แต่หากเป็นม้าทั่วไป ที่ปล่อยเล็มหญ้าก็ควรเสริมแร่ธาตุดังกล่าวบ้าง 
แต่ สุดท้ายโรบินสรุปว่า สำหรับม้าควรให้ประมาณ   0.1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ม้าหนัก 300-500 กก. ก็ควรใช้ประมาณ 30-50 มิลลิกรัม หรือประมาณ ครึ่งช้อน - 1 ช้อนชา ต่อวัน เน้นว่า ต่อวันนะครับ ไม่ใช่ต่อมื้อ )
ของ ไทยโพนี่เวลาใช้ก็จะผสมเกลือประมาณ เกลือ 1 กก. ต่อซีรีเนียม 3 ช้อนโต๊ะ (สำหรับม้า 10 กว่าตัว) คลุกคล้าใส่ภาชนะไว้ข้างรางอาหารหรือวางไว้ในที่ที่ม้าทุกตัว สามารถมาเลียกินได้ตลอดเวลา     สักอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ให้ครั้งก็เพียงพอ
การถ่ายพยาธิ
วิธีการดังนี้ครับ
1. หาซื้อยาถ่ายพยาธิตามร้านสัตวแพทย์หรือร้านอาหารสัตว์ทั่วไป ยี่ห้อตามที่สัตวแพทย์แนะนำ ส่วนใหญ่เป็นยาน้ำ
2. ขอเข็มฉีดยา พร้อมหลอดดูด (ไซริงขนาดไม่น้อยกว่า 20 ซีซี) เขามาด้วย
3. แวะซื้อน้ำหวานเฮลบลูบอยมาสัก 1 ขวดที่ร้านขายของทั่วไป
4. เปิดฝาขวดยา ติดเข็มเข้าที่หลอดไซริง เจาะฉึกเข้าไปที่ฝา จุ่มเข็มให้ลึกเพื่อดูดตัวยา หากให้ดีควรเอียงขวดสักหน่อยพองาม ดูดยาเข้าหลอดหากเป็นม้าใหญ่ก็ซัก 10 ซีซี (ม้าหนัก300 กก.) และลดหลั่นกันไปตามลำดับ แต่ม้าเล็กยังไงก็ไม่ควรจะน้อยกว่า 5 ซีซี
5. ดึงไซริงออก ชักเข็มออกจากหลอดไซริงที่มียาอยู่ บอกคนที่อยู่ใกล้ๆให้เทน้ำหวานใส่ถ้วยสักค่อนถ้วย นำหลอดยาจุ่มในน้ำหวานดึงตูดดูดน้ำหวานจนเต็มพิกัด เขย่ายาและน้ำหวานสักเล็กน้อยพอเข้ากัน
6. เรียงม้าเข้ามาตามเบอร์ หากไม่มีขลุมจงจับใส่ให้เรียบร้อย จับม้าเงยหน้าอ้าปาก เอาหลอดยาแตะปากให้รู้ว่าหวาน พอม้าอ้าปากจึงกดเข็มส่งให้ยาพุ่งเข้าให้ถึงลำคอ ดันปากล่างม้าไว้จนกลืนเกลี้ยงเกลา
7. อีก 3-4 เดือน จึงมาทำพิธีตั้งแต่ 1-6 ใหม่

ขั้นตอนแรก
นำหลอดดูดยาติดเข็มให้เรียบร้อย พร้อมจุ่มลงดูดตัวยา ม้าใหญ่ 10 ซีซี ม้าเล็ก ม้าไทย 5 ซีซี
ขณะเดียวกันให้เทน้ำหวานใส่ขันรอไว้
เมื่อดูดยาได้แล้ว ปลดเข็มฉีดยาออก นำหลอดดูดไปจุ่มในขันหรือถ้วยน้ำหวาน ดึงก้านดูดให้ได้น้ำหวานจนเต็มหลอด

จับม้ารอไว้ และรอกรอกยาเข้าปาก

ดันปากม้ากันคายออก
เมื่อ ฉีดยาเข้าปากแล้วให้ดันปากล่างของม้าขึ้น ระวังอย่าให้คาย เก็บอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย ขวดยาที่เหลือแช่ตู้เย็นเอาไว้ให้พันมือเด็ก
การตรวจพิสูจน์สายเลือดม้าโดยใช้ ดี เอ็น เอ  (สรุปจาก Equine DNA testing : Dr Jenny Cahill: March 27, 2008 :www.horsetalk.co.nz)
การ ตรวจสอบพันธุกรรมหรือ ดีเอ็นเอ ของม้านั้นเป็นเทคโนโลยีอันเดียวกันที่ใช้กับคน หากแต่สามารถทำได้มากกว่าการตรวจสอบหาพ่อแม่   นั่นคือสามารถตรวจสอบเรื่องของสายพันธุ์   สี โรคที่มีมากับม้าสายนั้นๆ         อีกทั้งเพื่อเป็นการยืนยันสายพันธุ์พ่อแม่ของลูกม้าก่อนการขึ้นทะเบียนอีก ด้วย     และต่อไปจะเป็นการ(พยายาม...อย่างยิ่งยวด )ที่จะอธิบายให้พอเข้าใจได้อย่างง่ายๆ สำหรับการพิสูจน์ โดย เจ้า ดีเอ็นเอ ที่ว่า จะต้องประกอบด้วย 
- โครโมโซม เจ้าตัวนี้จะอยู่ในนิวเคลียส (เหมือนไข่แดง) ของเซลล์ร่างกายคน   โครโมโซมจะอยู่เป็นคู่ แต่ละคู่จะประกอบด้วยของพ่อและของแม่อย่างละอัน
ดีเอ็นเอ   (DNA,deoxyribonucleic acid) เป็นโมเลกุลของตัวประกอบ 4 ตัวหลัก คือ A (adenine), T (thymine), G (guanine) และ C (cytosine) 
- ยีนส์   เจ้าตัวนี้มาพร้อมกับตัว ยีนส์ มาร์กเกอร์ หรือที่เรียกว่าโลไซ
- ไมโครแซทเทลไลท์ หรือว่าดาวเทียมจิ๋ว เจ้าตัวนี้จะเป็นตัวกำหนด ดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ มาร์กเกอร์ 
- อัลลีล Allele ตัวนี้สำคัญสุด เพราะว่าเป็นตัวกำหนดยีนส์ หรือ ยีนส์มาร์กเกอร์    โดยจะมีมาสองตัว   เป็นของพ่อและของแม่อย่างละตัว
ฝรั่ง เขาอ้างว่า เมื่อมีการพิสูจน์ ดีเอ็นเอ ม้านั้น แม้ว่าจะเป็นสมุดคู่มือประวัติทะเบียนม้าทองคำที่ก่อตั้งในปี 1791 โดยเวเธอร์บี้แอนด์ซัน   ก็ได้ตรวจพบว่า จากจำนวนแม่ม้าแข่งพันธุ์ดี 30 ตัว    ประมาณ ครึ่งนึงหรือ 15 ตัว พบว่ามีสายเลือดไม่ตรงกับการบันทึกในสมุดประวัติ (แต่มีคนไทยจำนวน เยอะมากที่ฝรั่งบอกบอกว่า สายเลือดต้องอย่างนั้นอย่างนี้... เราก็เชื่อเขาทันที ...นี่ตรวจแค่ 30 ตัวนะครับ ) และอันนี้ขอเฉลยเลยว่า ของฝรั่งเขาก็มั่วเหมือนกัน ครับทั่น   หากท่านมีม้ามากกว่าสามตัว และมีลูกม้าหนุ่มอยู่ในฝูง ก็จะรู้ว่าการป้องกันการผสมของม้านั้นยากกว่าที่ เราคิด ปัจจัยอีกหลายประการคือ ม้าหลุดไปผสม   ม้าที่นำมาแข่งหลุดมาผสม   ลูกม้าผสมกันเอง ฯ จิปาถะ
    
ใน ตอนท้ายของบทความนี้เขาบอกว่า   เท่าที่ผ่านมาการจัดทำสมุดทะเบียนม้ามีจุดอ่อนมากมาย การตรวจ DNA จะช่วยท่านเจ้าของม้ากำจัดจุดอ่อนที่ว่านี้     ดังนั้น เขาจึงแนะนำว่าควรเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าของม้าเร่งนำพ่อม้าและแม่ม้าไปบันทึก การตรวจ ดีเอ็นเอ เสียแต่เนิ่นๆ    เพื่อจะได้สร้างเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้ก่อน เมื่อลูกม้าเกิดออกมาก็ตรวจเฉพาะ ของลูกอย่างเดียว เพื่อเป็นการยืนยัน ความถูกต้องอีกที เนื่องจากในแต่ละปี มีการตรวจพบว่ามีลูกม้าจำนวนเยอะมากที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ เนื่องจากแม่ม้าตายไปก่อน 
การใช้บาร์โค้ดในม้า RFID Chips in Horses
ท่าน ที่ไปซื้อสินค้าตามห้างร้านต่างๆคงจะคุ้นตากับการที่พนักงานเก็บเงินนำ สินค้ามารูดปรื๊ด ๆ ๆ... ที่เครื่องยิงบาร์โค้ด โดยหากเราสังเกตสักหน่อยก็จะพบว่าที่สินค้าจะมีแถบขีดสีดำเรียงเป็นเส้น เล็กๆ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของสินค้าแต่ละชนิด ไม่ซ้ำกัน   วิธีการนี้นอกจากจะทำให้คิดราคาสินค้าได้รวดเร็วแล้ว ยังมีความแม่นยำเป็น อย่างสูงที่จะไม่ทำให้ลูกค้าได้สินค้าผิดไปจากราคาที่เลือกมา
ใน วงการม้าก็เช่นกัน ปัจจุบันเริ่มมีการรณรงค์ที่จะใช้บาร์โค้ดติดเข้าไปในตัว ม้า สาเหตุหลักก็เกิดจากการที่มีโรคระบาดม้าประเภท EHV-1 (Equine Herpes Virus Type 1) หรือที่บางคนเรียกว่าโรคเอดส์ม้า เชื้อโรคนี้ในยามปกติจะไม่แสดงตน แต่เมื่อ ม้าเริ่มมีอาการเครียดก็จะเริ่มมีอาการ และสามารถติดต่อผ่านทางอุปกรณ์ เครื่องใช้ส่วนตัวหรือลมหายใจของม้าได้ เช่น ขลุม สายจูง ภาชนะใส่อาหาร เป็นต้น และเจ้าเชื้อโรคนี้ส่งผลทำให้วงการต้องได้รับความเสียหายหลายร้อย หรือหลายพันล้านบาท
เมื่อ ประมาณปี ค.ศ. 2007 ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีการเสนอให้ใช้แถบบาร์โค้ดหรือ RFID (Radio frequencies Identification) ฝังเข้าในตัวม้า วงการอื่นเขาใช้มานานแล้ว เช่น หมู วัว หรือกระต่าย ทั้งนี้ก็เพื่อจุดประสงค์ในการควบคุมโรคม้าเสียก่อนเป็นอันดับ แรก แต่ประโยชน์อื่นๆที่ตามมาก็มีอีกมากมาย เช่น การขึ้นทะเบียนม้า   การตรวจสอบสายพันธุ์   การตามหาม้าที่โดนขโมย   การป้องกันการสวมทะเบียนม้าแข่ง ฯ
วิธี การทำก็ไม่ยาก โดยการใช้ชิปที่มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวสาร ฝังหรือฉีดที่ บริเวณต้นคอม้า (ปลายผม ต้นตระโหนก) ด้านซ้าย   ก่อนการฝังนั้นก็จะต้องมีการใส่ข้อมูลเสียก่อนว่าเป็นม้าประเภทไหน ลูกใคร เคยตรวจโรครักษาที่ไหนอย่างไรมาก่อน....อื่นๆอีกจิปาถะ เหมือนข้อมูลสินค้าตามห้าง เมื่อเวลาจะใช้ก็ใช้เครื่องยิงบาร์โค้ดมายิงปี๊บ เข้าไป หลังจากนั้นจึงนำมาแปลรหัส หากมีข้อมูลตรงกับที่บันทึกไว้ก็ไม่มี ปัญหา 
การ ฝังชิปและการใช้งานไม่ยากครับ เพราะวันก่อนเห็นช่อง TPBS นำรายการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาออกอากาศการใช้งานของ RFID ในหมู และกระต่าย ก็เห็นว่าง่ายและสะดวกน่าใช้ดีมาก
ที่สำคัญคือลดข้อขัดแย้งที่ว่าม้าสายอะไร พันธุ์ไหน พ่อแม่คือตัวไหน หรือม้าแข่งสวมทะเบียน ได้อย่างหมดจดครับ

ม้าสายพันธุ์หลักของโลก

ม้าสายพันธุ์หลักของโลก
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสายพันธุ์ม้าที่หาได้ในเมืองไทยเป็นเท่านั้น

The Arab, Arabian Horse
  

เอื้อ เฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ สูงประมาณ 153 ซม.  จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก 57 หมู่ 5 ตำบลเกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี การเดินทางให้ขับจาก กทม.ไปให้ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี   เลี้ยวซ้ายข้างศูนย์โตโยต้า ขับไปอีกประมาณ 3 กม.

ม้าพันธุ์อาหรับ หรือมีฉายาว่า ผู้ดื่มด่ำสายลม (Drinkers of the wind)  เป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดมาจากทางทวีปเอเชีย โดยมีสายพันธุ์แรกเริ่มเชื่อกันว่าน่าจะมาจากม้าพันธุ์ BARB หรือ ANDALUSIAN ของสเปนที่ถูกจับใส่เรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปตั้งแต่โบราณ หลังจากมาขึ้นบกที่อินเดียและจีนก็เข้าผสมกับม้าพื้นเมืองและม้าในแถบทะเล ทรายอาราเบีย ส่วนความเชื่ออีกสายหนึ่งเชื่อว่า เป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลทรายอาหรับล้วนๆ (มีการขุดพบโครงกระดูกม้า) โดยได้ถูกเพาะเลี้ยงโดยชนเผ่าเบดูอิน (Bedouin) และชนเผ่านี้เขามีความเชื่อว่า ม้าของเขาเป็นของขวัญจากพระผู้เป็นเจ้าประทานลงมาให้      ดังนั้นการเลี้ยงดูม้าจะประคบประหงมมาก ห้ามมิให้ผสมข้ามสายพันธุ์อย่างเด็ด ขาด แม้ในตอนกลางคืนก็จะนำม้าเข้านอนในเต็นท์ด้วย ดังนั้นจึงทำให้ม้าสายพันธุ์นี้มีความสนิทสนมกับคนมากเป็นพิเศษ ความโดดเด่นของม้าอาหรับเกิดขึ้นในยุคอัศวิน กล่าวคือ สมัยนั้นนิยมใช้ม้าตัวโตของทางยุโรปและหุ้มเกราะเวลาออกรบ แต่ครั้นออกรบจริงกับพ่ายแพ้แก่ฝ่ายข้าศึกที่ขี่ม้าตัวเล็ก แต่ปราดเปรียวคล่องแคล่วกว่า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการพ่ายแพ้ต่อกองทัพ ม้าเจงกิสข่านที่ใช้รูปแบบการขี่ม้าเข้าหาข้าศึกและสามารถยิงธนูใส่จนทำให้ รูปแบบการรบต้องกลับพลิกแพลงออกไป ต่อมาจึงทำให้ผู้ผสมพันธุ์ม้าต่างก็นำเอามาอาหรับไปผสม อาทิเช่น พันธ์โอลอฟ ทรอตเตอร์ ของรัสเซีย ม้าพันธุ์มอร์แกนของอเมริกา ม้ามาวารีของอินเดีย  และแม้แต่ม้าพันธุ์เธอรัพเบรตของอังกฤษ ก็เกิดจากม้าอาหรับผสมกับม้าที่ทำงานในฟาร์ม (Draft Horse)  
ในประเทศอังกฤษม้าสายนี้จะมาจาก ฟาร์ม Crabbet Stud เป็นแหล่งใหญ่  ใครต้องการเลือกซื้อม้าสายนี้ให้เลือกที่มีสายเลือดของ Crabbet เป็นหลักแม้ในออสเตรเลียก็ยังสามารถหาสายเลือดนี้ได้ไม่ยาก
 นอกจากนี้ ม้าสายออสเตรเลียจะมีพ่อม้าหลักที่นำมาจากอินเดียชื่อ HECTOR ปัจจุบันการขายลูกม้าก็ยังมีโฆษณาว่าเป็นสายนี้อยู่ประปราย และเจ้า เฮกเตอร์นี้ก็เชื่อกันว่าน่าจะเป็นตัวกลั่นของม้ามาวารี (Marwari) เจ้าม้าหูบิด ที่โด่งดังของอินเดีย
 สำหรับประเทศอเมริกาผู้ที่นำม้า พันธุ์นี้เข้าไปเพาะเลี้ยงและบันทึกไว้อย่างเป็นทางการคนแรกๆ คือ ท่านนายพล ยูลิซิส (Ulyseses S. Grant) ได้รับพ่อม้าอาหรับชื่อ ลีโอพาร์ด และ ลินเดนทรี จากท่านสุลต่าน อับดุล ฮามิด ที่สองแห่งประเทศตุรกี เข้าไปแพร่พันธุ์ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของม้าพันธุ์นี้ในอเมริกา  ม้า อาหรับมีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนดังนี้คือ  
1.      มี หน้าแหลมคล้ายจิ้งจก จมูกเชิดงอนขึ้น และมีคางเป็นสันกลมสังเกตได้ชัดตามภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Dished Face และข้อนี้ก็จัดว่าเป็นลักษณะเด่นของม้าไทย 
2.      โคนหางจะยกขึ้นเวลาวิ่งเนื่องจากมีกระดูกโคนหางน้อยกว่าสายอื่น 2 ชิ้น
3.      จังหวะ วิ่งมีจังหวะที่ขาลอยจากพื้นพร้อมกันทั้งสี่ขา (Floating Gaits) ทำให้เวลาขี่สามารถลดแรงกระแทกช่วยผ่อนแรงผู้ขี่ได้อย่างมากมาย ม้าสายพันธุ์นี้มีส่วนสูงอย่างมากไม่เกิน 15.2 แฮนด์ (155-156 ซม. ) แต่ที่พบมากจะมีส่วนสูงประมาณ 15 แฮนด์ (153 ซม.)   
4.       ลำ คอเรียวโค้งยาวเป็นรูปคอหงส์ แต่ลักษณะนี้ไม่เน้นมากนัก เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่าเป็นลักษณะของลำคอที่มาจากม้าพันธุ์ เธอโรเบรต   
 
 ภาพพ่อม้าอาหรับชื่อ  พญาเย็น เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณธวัชแห่งสินไพบูลย์ฟาร์ม ต.  สระกระโจม อ. ดอนเจดีย์  จ. สุพรรณบุรี
ข้อมูลทางกายภาพ
1. ม้าอาหรับมีซี่โครง17ซี่ (ม้าพันธุ์อื่นมี 18ซี่)
2. ม้าอาหรับมีกระดูกเชิงกราน( Lumbar Vertebrate )  5 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 6ชิ้น)
3. ม้าอาหรับมีกระดูกหาง 16 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 18 ชิ้น) ดังนั้น จึงต้องยกหางเวลาวิ่งเพื่อลดน้ำหนักไปในตัว
เนื่องจากม้าอาหรับมีการเพาะพันธุ์โดยท่านชี๊ค และชี๊คจะตั้งชื่อม้าตามชื่อของตนเอง เท่าที่ค้นคว้าได้สายพันธุ์ม้าอาหรับในปัจจุบันสืบทอดสายเลือดมาจากม้า 5 สายของชี๊คตามชื่อดังนี้
Kehilan, Seglawi, Abeyan, Hamdani, และ Habdan
ในประเทศไทยพบว่าม้าสายพันธุ์นี้มีผู้นำเข้ามาน้อยมาก แต่ก็ยังพอมีอยู่บ้างแถบจังหวัดภาคกลางและโคราช ผู้สนใจลองหาแม่ม้าไทย ลักษณะดีๆอย่างในภาพค่อยๆผสมยกสายเลือดกับพ่อพันธุ์ดีๆ สักสามรุ่นก็น่าจะได้ลูกงามๆสักตัว
ข้อ ดีของม้าพันธุ์นี้คือ แม้ว่าจะนำแม่ม้าสายพันธุ์อื่นมาผสมกับพ่อม้าพันธุ์อาหรับ ก็สามารถที่จะขึ้นทะเบียนเป็นม้าพันธุ์ “Half Arabian” ได้โดยไม่ผิดกติกาใดๆ 
ข้อ ด้อยที่เห็นได้ชัดของม้าพันธุ์อาหรับคือ เป็นม้า Hot Blood นั่นหมายถึงเขาจะมีความคึกคักมากและตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้ที่จะใช้ม้าสำหรับงานหนัก เช่น เอ็นดูร๊านซ์ (็Endurance Horse Racing) แต่หากต้องการม้าที่นิ่งสงบเรียบร้อยก็ควรหลีกเลี่ยงไปหาม้าสายพันธุ์อื่นจะ เหมาะสมกว่า

Thoroughbred
ม้าพันธุ์เธอร์รัพเบรต หรือต่อไปจะขอเรียกว่า Tb เนื่องจากเป็นการอนุโลมให้เรียกตามสากล คำคำนี้โดยความหมายก็อาจจะแปลได้ว่า เป็นม้าที่เป็นผลจากการผสมกันของม้าพื้นเมืองทั่วๆ ไป โดยไม่ใช่การสืบสายเลือดมาจากสายพันธุ์แท้ หรือไม่สามารถนับได้ว่าเป็นสายพันธ์แท้ ( Purebred ) แต่หากดูจากโครงสร้างแล้วจะพบว่า ม้า TB เป็นผลผลิตของม้าเลือดร้อนหรือม้าอาหรับ ผสมกับม้าเลือดเย็นแถวๆ อังกฤษ เช่นพวก Draft Horse หรือม้าใช้งานในฟาร์มที่มีส่วนสูงถึง 18 แฮนด์ ดังนั้นม้า TB จึงมีรูปร่างเพรียวสูงใหญ่แต่มีขาเรียวเล็ก ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีในนามของม้าแข่ง   ลักษณะเด่นของม้า Tb คือ สูง เพรียว แข้งขายาว ส่วนสูงที่วัดได้ถึงตะโหนกประมาณ 15.2 -17 แฮนด์ สีที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นสีเดียว เช่น สี Bay , Brown ,Chestnut หรือสี Grey และสีที่พบน้อยคือ สี Roan สีพาโลมิโน และ สีขาวแบบ White   เป็นม้าที่จัดว่าเป็นสายเลือดร้อน หรือ Hot Blood  ประเทศแหล่งกำเนิดคือประเทศอังกฤษ  ประโยชน์ใช้สอยคือ   ใช้แข่ง ขี่ข้ามสิ่งกีดขวาง เดรสสาจ    และเป็นพ่อม้าที่ใช้ปรับปรุงพันธุ์ม้าพื้นเมือง (Upgrade)
การพัฒนาสายพันธุ์ เชื่อกันว่าใน ระยะแรกหรือประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ได้มีการนำม้าอาหรับไปผสมไขว้กับแม่พันธุ์พื้นเมือง ที่เกาะอังกฤษ โดยสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่ามีการพัฒนามาจากพ่อม้าสามตัว ที่นำเข้ามากับแม่ม้า ประมาณ 76 ตัว ที่เป็นสายอาหรับหรือ บาร์บของสเปน   หลังจากนั้นจึงแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก โดยใน ค.ศ. 1730 ได้มีการนำเข้าไปยังอเมริกาเหนือ ใน ค.ศ. 1814 ถูกนำเข้าไปในออสเตรเลีย   และนำเข้าไปยังยุโรปและญี่ปุ่นในประมาณ คริสศตวรรษที่ 18   โดยปัจจุบันมีม้า Tb ในอเมริกาแห่งเดียวถึง หนึ่งล้านสามแสนตัว และลูกม้าที่ขึ้นทะเบียนอีกปีละประมาณ 120,000 ตัว 
พ่อม้าหลักสามตัวแรกคือ เจ้า ไบร์ลี่ เตอร์ก Byerly Turk (1680s),เจ้า ดาร์ลี่ อาระเบียน  the Darley Arabian (1704), และเจ้า ก็อดโดฟิน อารเบียน  the Godolphin Arabian  (เป็น ที่น่าสังเกตว่าเจ้าก็อดโดฟิน นี้เป็นต้นกำเนิดของม้าเกือบจะทั่วโลก)    นอกจากนี้ยังมีพ่อม้าอีกสองตัวที่ได้รับการยอมรับคือ  เจ้าอัลค็อก อาระเบียน Alcock Arabian และเจ้า บราวโลว์ เติร์ก Brownlow Turk
ลูกหลานของสามพ่อม้าหลักดังกล่าวที่สืบทอดสายเลือดคือ
1.      สายก็อดโดฟินคือ เจ้า แม็ทเค็ม Matchem ผู้เป็นหลานปู่  
2.      สายเบอร์ลี่ เตอร์ก เจ้า ฮีร็อด Herod ( หรือ King Herod)  
3.      สาย เบอร์ลี่ เตอร์กคือ เจ้า อีคลิป Eclipse เจ้าสุริยุปราคาผู้ไม่เคยแพ้ใคร    เนื่องจากเจ้าตัวนี้เป็นม้าแข่งและในประวัติไม่เคยแพ้ใครเลย 
ม้า Tb ที่นำมาเป็นม้าแข่งนั้นได้มีการถกเถียงกันในวงกว้างว่าอาจเป็นการทรมานสัตว์ เนื่องจากผู้เลี้ยงม้าแข่งจะนำลูกม้าที่มีอายุเพียงสองปี ซึ่งจัดว่ายังไม่ โตเต็มที่เข้าแข่งขัน เนื่องจากม้า Tb มีหัวใจและกีบที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับลำตัว และอัตราการรับน้ำหนักขณะใช้ความเร็วสูง จึงทำให้การ แข่งขันบางครั้งจึงมีอันตรายต่อทั้งม้าและคน
 
การพัฒนาพันธุ์ม้า TB ในอังกฤษ
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้เริ่มสร้างสนามแข่งม้าอันสุดแสนคลาสสิคขึ้นมา สนามม้าเหล่านี้ได้แก่ สนามเซนต์ เลเกอร์สเต็กส์    สนามเอ็บสัม โอ๊กส์   สนามเอ็บสัม ดาร์บี้ สนามสองพันกินนี2,000 Guineas Stakes   และสนามหนึ่งพันกินนี 1,000 Guineas Stakes สนาม เหล่านี้บางแห่งห้ามนำม้าตัวเมียลงแข่ง (เช่นสนามหนึ่งพันกินนี ) แต่ส่วนใหญ่ไม่ห้าม ระยะทางที่ใช้ก็เริ่มตั้งแต่ 1600 - 2820 เมตร      โดยในสมัยก่อนหน้า (ยุคต้น ศต. 18) ได้กำหนดให้มีการใช้ระยะที่ยาวกว่าคือประมาณ 6.4 กม.   ดังนั้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงม้าเกิดการเปลี่ยนแนวทางการใช้ม้าแข่งมาเป็นม้าที่มี อายุน้อยลง 
การพัฒนาความสูงของ TB ในอังกฤษเริ่มในกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 19   โดยม้า เบย์ มิดเดิลตัน ที่มีความสูงกว่า 16 แฮนด์ (มากกว่าคู่แข่งประมาณ 1 แฮนด์ คือม้า ดาร์ลี่ อาระเบียน )     ผลของชัยชนะอย่างต่อเนื่องของ TB เหนืออาหรับ นั้นเน้นย้ำว่า การเพิ่มสายเลือดอาหรับลงในม้า TB นั้นไม่น่าจะเวิร์ก เพราะในปี ค.ศ. 1885 ได้มีการจัดแข่งม้า TB  ชื่อ ไอแอมบิค กับม้าอาหรับชื่ออาซิล การแข่งขันใช้ระยะทางประมาณ 4800 ม.   โดยเจ้าไอแอมบิคแม้ว่าต้องแบกน้ำหนักเพิ่มอีก 29 กก.   ก็ยังชนะเจ้าอาซิลไปได้โดยทิ้งห่างถึง 20 ช่วงตัว 
ย่างเข้าศตวรรษที่ 20 ความกลัวที่ว่าม้า Tb อังกฤษจะถูกม้าอเมริกันมาไหลบ่ามาบดบังรัศมี (สนามม้าของอเมริกันโดนปิดในปี 1913 ทำให้ม้าอเมริกันถูกส่งมาแข่งที่อังกฤษ ) ดังนั้นอังกฤษจึงออกมาตรการเจอร์ซี่,  Jersey Act    โดยได้มีการห้ามม้าที่ไม่สามารถหาบรรพบุรุษของตนเองได้จากเจนเนอรัล สตัด บุ๊ค มาบันทึกเพื่อทำสมุดทะเบียนประวัติได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อจุดประสงค์จะรักษาพันธุ์ TB บนเกาะอังกฤษเอาไว้ให้บริสุทธิ์ให้ได้    แต่กฎนี้มีผลต่อม้าจากอเมริกันน้อยมาก เนื่องจาก การทำสมุดประวัติทะเบียนม้าอเมริกัน American Stud book นั้นเพิ่งเริ่มทำหลังจากอังกฤษให้กำเนิด เจนเนอรัล สตัด บุ๊ค หรือที่เรียกว่า GSB มาแล้วประมาณ 100 ปี   จึงทำให้มีม้าอเมริกันได้เปรียบ เนื่องจากมีม้าเพียงตัวสองตัว เท่านั้น ที่ไม่สามารถหาประวัติย้อนไปยัง GSB ได้ แต่ภายหลังก็ได้แก้กฎนี้ให้สำหรับม้าที่สามารถตรวจสายพันธุ์ย้อนหลังไป ได้ 9 รุ่น จากสมุดทะเบียนประวัติมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับมาก็เพียงพอสำหรับการขึ้น ทะเบียน สถานการณ์จึงคลี่คลาย
 ม้า TB ในอเมริกา
ม้าตัวแรกที่นำเข้าอเมริกาชื่อเจ้า บุนร็อค Bulle Rock โดยท่านซามวล กิสท์ เมื่อปี ค.ศ. 1730 ที่เมืองแฮนโนเวอร์ รัฐเวอร์จิเนีย และที่รัฐนี้ก็ถือว่าเป็นศูนย์กลาง ม้า TB แห่งอเมริกาเลยทีเดียวเชียว และในช่วงเวลาการปฏิวัติอเมริกานั้น ได้มีการระงับการนำเข้าม้าจากอังกฤษและเริ่มใหม่เมื่อมีการเซ็นสัญญาสงบ ศึก หลังสงบศึกก็ได้มีการนำเข้าพ่อม้าสองตัวกลั่นคือ   เจ้าเมสเซนเจอร์ผู้นำข่าวสาร (Messenger) กับม้า ดิโอเมด (Diomed)    พ่อม้าเมสเซนเจอร์นั้นหากจะว่าไปแล้วมีผลงานไม่โดดเด่นนัก แต่ก็ถือว่าเป็นต้นสายของม้าพันธุ์สแตนดาร์ดเบรต Standardbred ที่ลือลั่นของอเมริกันชน สำหรับพ่อม้า ดิโอเมด มีผลิตผลที่ถือได้ว่าเป็นสุดยอดคือลูกของเขา ม้าเซอร์ อาร์ชีSir Archy ได้แชมป์ที่สนามดาร์บี้ Derby Stakes  ภายหลังการปฏิวัติอเมริกา เมืองหลวงของม้าที่นั่นย้ายไปทางตะวันตก นั่นคือเมืองเคนตั๊กกี้และ เทนเนสซี
การแข่งม้าที่ถือว่าเป็นสุดยอดในยุค ต้นศตวรรษที่ 19 มีอยู่ไม่กี่ครั้ง   ครั้งแรกเมื่อปี 1823 ที่เมืองลองไอส์แลนด์ รัฐนิวยอร์ก เป็นการปะทะกันระหว่าง เซอร์อาร์ชี กับ อมริกันอีคลิป หรือเจ้าสุริยุปราคาดารารัศมี   สิบปีให้หลัง (ปี 1838) ก็มีปะทะกัน อีกครั้งหนึ่งระหว่าง ม้าบอสตัน กับม้าแฟชั่น ที่มีการวางเดิมพันฝ่ายละ สองหมื่นเหรียญ และแม็ทช์ล่าสุดก่อนที่จะเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้คือ การปะทะกันระหว่างม้า เล็กซิงตัน กับม้าเลอคอม หรือ เลอคอมเต (Lexington and Lecompte) การแข่งครั้งแรกจัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์ในปี 1854 และครั้งนั้นเจ้าเลอคอมเตชนะ ภายหลังได้มีการจัดแมชท์ล้างตาขึ้นในปี 1855 และในครั้งนี้เจ้าเล็กซิงตันเป็นผู้กำชัย และม้าดังทั้งสองตัวนี้ต่าง ก็เป็นลูกของพ่อม้าบอสตัน   ผู้สืบทอดสายเลือดมาจากเซอร์ อาร์ชี อัศวินโต๊ะกลมนั่นเอง
ม้าด่าง  The Paint Horse
ในปี ค.ศ. 1595 ชาวสเปนชื่อเฮอร์นันโด้ คอร์เตส แล่นเรือเพื่อค้นคว้าหาแผ่นดินใหม่ และเขาได้นำม้าสองตัว ใส่เรือไปด้วย โดยตัวหนึ่งจัดเป็นม้า ปินโต (ม้าด่างของอินเดียนแดงที่เราเห็นในหนัง) ที่มีถุงเท้าขาวทั้งสี่เท้า อีกตัวเป็นม้าด่างสีเทาดำ (ด่างขาว) และนี่จัดว่าเป็นต้นกำเนิดม้าด่างครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ใน ประวัติศาสตร์
ต้น คริสต์ศตวรรษที่ 18 อินเดียนแดงเผ่าคอมมานเช่ ที่เราถือว่าเชี่ยวชาญเรื่องม้าที่สุดในโลก ก็หันมาจับม้าด่างจากฝูงมาฝึกขี่ จนเป็นสัญลักษณ์และได้รับความนิยมอย่างมาก หลักฐานเรื่องนี้สามารถดูได้จาก ภาพเขียนโบราณตามแหล่งต่างๆ
จน เมื่อประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการตั้งชื่อพนธุ์ม้าเหล่านี้ว่า ปินโต เพ้นท์ หน้าลาดด่างขาวแดง (Skewbald) หน้าลาดด่างขาวดำ (Piebald) จนล่วงเข้ากลางศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการจัดตั้งสมาคมม้าปินโตขึ้นมา และ ในปี 1962 จึงมีการตั้งสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) ตามมา
รี เบกก้า ไทเลอร์ ถือเป็นผู้ให้กำเนิดของสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) เหตุผลก็นื่องจากบรรดาผู้เลี้ยงม้าต่างรู้ดีว่าม้าด่างนั้นไม่มีข้อกำหนด อะไรเป็นที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นเพื่อลดข้อถกเถียงที่จะเกิดขึ้น เธอจึงคิดที่จะขึ้นทะเบียนม้าด่างให้เป็นเรื่องเป็นราวเสียที การตั้งสมาคมฯ ในตอนแรกเริ่มจากการโทรไปคุยกับกลุ่มผู้สนใจม้า และสอบถามเรื่องการขึ้นทะเบียน พร้อมกับจดข้อมูลที่ได้ไว้ในกระดาษแผ่นเล็กๆทีละแผ่น ใส่ลิ้นชักในครัวของเธอไว้ จนสุดท้ายมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ จนทางกลุ่มคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อรวบรวมคนคอแนวเดียวกันเข้า มาให้เป็นรูปธรรม
กลุ่ม เล็กๆนี้เริ่มจากการนำม้าด่างที่มีอยู่มาโชว์ตัวให้ผู้สนใจเข้ามาชมที่เมือง โอกลาโฮมา และมันก็เปรียบเสมือนกับการสุมเพลิงเข้าไปในใจกลุ่มคนที่มีใจรักม้าให้ร้อน ระอุขึ้นมา หลังจากนั้นจึงไปจัดโชว์ที่เมืองอื่นๆอีกสองสามเมือง จนสุดท้ายได้รับการยอมรับจากทางการ (Class Approved)
หลัง จากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ กลุ่มคนประมาณ 20 คนจึงมารวมตัวกันที่เท็กซัส เพื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นมา โดยม้าที่รีเบกก้าเริ่มนำมาขึ้นทะเบียนเป็นม้าด่างขาวดำแบบโทบิยาโน (Tobiano) ชื่อเจ้าบัณฑิต (Bandits) โดยได้นำมาจดทะเบียนเพ็ดดีกรีเป็นตัวแรก และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการออกหนังสือเวียนไปยังสมาชิกถึงความก้าวหน้าของ สมาคมอยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นปี 1962 เธอรวบรวมจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมด 150 คน   และขึ้นทะเบียนม้าได้ 250 ม้า
 ใน ปี 1963 -1964 มีการโยกย้ายสำนักงานไปเรื่อยๆ เนื่องจากจำเป็นต้องมีสถานที่เก็บข้อมูลของม้า และมีการเปลี่ยนตัวประธานสมาคม และในปีนี้มีจำนวนม้าทั้งสิ้น 1269 ม้า และมีสมาชิก 1005 คน และได้จัดให้มีการโชว์ระดับโลกขึ้นเรียกว่างานโชว์ม้าด่างโลกหรือคือ World Championship Paint Horse Show
ใน ขณะนั้น ที่เมืองอบีลีน เท็กซัส ก็มีการจัดตั้งสมาคมม้าควอเตอร์ด่างอเมริกัน ( American Paint Quarter Horse Association,APQHA) และทั้งสองสมาคมถกเถียงกันอย่างหนักเพื่อหาเหตุผลที่จะรวมกัน จนล่วงเลยมาถึงในปี 1965 จึงรวมกันสำเร็จ และใช้ชื่อใหม่ว่าสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา (American Paint Horse Association, APHA) ทั้งสองสมาคมสามารถรวบรวมสมาชิกได้ทั้งสิ้น1300 คน และจำนวนม้าทั้งหมด 3800 ม้า
 สำหรับ การขึ้นทะเบียนม้าด่างของอเมริกันนั้น มีข้อแม้ว่า พ่อและแม่ม้าจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าควอเตอร์แห่งอเมริกา AQHA หรือจ๊อกกี้คลับ  และอย่างน้อยพ่อ หรือแม่จะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าด่างของอเมริกา APHA
ลูกม้าที่เกิดมาด่าง จะได้รับการขึ้นทะเบียนมีศักดิ์และสิทธิ์ครบถ้วนทุกประการ แต่หากเกิดมาแล้ว ไม่ด่าง เขาก็ยังการันตีว่าเป็นม้ามีทะเบียนประวัติ แต่ม้าตัวนั้นไม่สามารถเข้าประกวดได้ เขาบอกว่าจะมีเวทีอื่นให้ประกวดแทน
ข้อแตกต่างระหว่างม้า Pinto  และ Paint Horse นั้น คือ ม้าปินโตคือด่างทุกสายพันธุ์ที่มีรอยด่างเกิดขึ้นบนตัว ส่วนม้า Paint Horse จะต้องเป็นม้าที่มีสายเลือด ควอเตอร์ เธอรัพเบรต ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้ว (ในอเมริกา) ดังนั้นเราจึงถือว่า ม้า Paint Horse ทุกตัวเป็น Pinto แต่ไม่ใช่ Pinto ทุกตัวเป็น Paint Horse  แต่สำหรับประเทศไทย ไทยโพนี่ได้ให้คำนิยามไว้ใช้เพื่อพลางดังนี้
ม้า ด่าง : Paint Horse คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน ที่มีเชื้อสายที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
ม้าแฟนซี หรือม้าปินโต : Pinto Horse คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน   ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมี ส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.  
 
การแบ่งประเภทของม้าด่างตามหลักการของอเมริกัน
Tobiano  
ม้า ด่างแบบโทบิยาโน ปกติจะมีสีเข้มพาดที่บริเวณหน้าอกลงถึงโคนขา หรือเอวถึงโคนขาหลัง อาจจะเป็นไปได้ที่บริเวณขาหน้า หรือขาหลัง หรืออาจะมีทั้งสองขา ขาทั้งสี่ข้างต้องเป็นสีขาว   หรืออย่างน้อยตั้งแต่เข่าลงไปต้องเป็นสีขาว   ปกติรอยด่างเข้มมักเป็นรูปวงรี หรือกลม ที่พาดผ่านคอและหน้าอก ทำให้ดูคล้ายใส่เกราะ
 บริเวณหน้าอาจเป็นสีเดียว หน้าลาดใหญ่ หน้าจุด สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้ หางมักมีสองสี

ภาพพ่อม้าคูล ขณะอยู่ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณเบียร์

Overo
อ่านออกเสียงว่า โอแฟ๊โร่
โอแฟ้โร่จะมีลักษณะเด่นคือสีขาวจะไม่ตัดผ่านหลังม้าที่บริเวณตะโหนกม้าและที่หาง
โดยทั่วไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีขาหนึ่ง หรือทั้งสี่ขาเป็นสีดำหรือเข้ม
ส่วนใหญ่สีขาวจะเป็นสีข้างน้อย และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ และมักมีหน้าลาดยาวจรดจมูก หรือน้อยกว่านั้นก็ไม่เป็นไร
สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้
หางมักมีสีเดียว  

ภาพพ่อม้าโกลด์โนเบิลเอื้อเฟื้อภาพโดยคุณหนึ่ง กำแพงแสน

Tovero
(pronounced: tow vair' oh)
โทแฟ๊โร่
บริเวณหูมีสีดำ บางทีอาจจะลามไปถึงหน้าผากและตาทั้งสองข้าง โดยลูกนัยน์ตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจะเป็นสีฟ้า
ปากมีสีคล้ำหรือดำ และบางทีอาจลามไปถึงแก้มเป็นวง
มี จุดหรือรอยด่างใหญ่หรือเล็กบริเวณหน้าอก หากใหญ่มากอาจลามถึงคอ   และมีรอยด่างอีกจุดที่บริเวณท้องมาถึงเอว และอาจลามลงบริเวณหน้าขาหลัง
รอยด่างดังกล่าวอาจเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด
และมีจุดหรือรอยด่างอีกแห่ง บริเวณโคนหาง

ภาพพ่อม้าแจร์มิโน เอื้อเฟื้อภาพจากฟาร์มอรณัช วังน้ำเขียว
ม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ The Lipizzaner
the Lipizzaners in Thailand
ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้
1. แรกเกิดสีดำ หรือออกเทาๆ โตขึ้นสีจางลงและเปลี่ยนเป็นขาวในที่สุด หางและขนแผงคอสีขาว
2. หูเล็ก ตากลมโต คอสั้นหนา รูปร่างกำยำล่ำสัน เป็นมิตรกับคนง่าย ตัวผู้สูง 155-160 ซม. ตัวเมียสูงประมาณ 140-150 ซม.
3. กีบแข็งแรงทนทาน มีสีขาวหรือดำ ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องโรคกีบ
4. ใช้เป็นม้าโชว์ ม้าขี่เล่น ม้าสวยงาม
5. ม้าที่มีสายเลือดลิปิซานเนอร์แต่ไม่ใช่ Pure Breds จะเรียกว่า Part Breds, Part Lipizzaners
6. เป็นม้าที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าม้าสายอื่นๆ ที่โดยปกติจะใช้เวลา 3 ปี แต่ลิปิซานเนอร์จะใช้เวลา 4- 5 ปี จึงจะเริ่มเป็นหนุ่มหรือสาว เนื่องจากโครงสร้างใหญ่กว่าม้าปกติ
เชื่อกันว่าม้าสายพันธุ์ลิปิซานเนอร์ได้ถูกเพาะเลี้ยงที่เมืองลิปีซาน แห่งแคว้นคาร์เทจ เมื่อกว่า 2000 ปีมาแล้ว โดยม้าพันธุ์นี้มีสายเลือดที่สืบเชื้อสายมาจากม้าพันธุ์อาหรับและบาร์บของ สเปน ซึ่งเป็นม้าต้นตำหรับของสายพันธุ์อัลดาลูเชียนที่ยิ่งใหญ่ของสเปน
ถัดมาในยุคแขกมัวร์ครองอำนาจเหนือสเปน ก็ยังคงมีการนำอาหรับมาผสมอยู่บ้างประปราย และช่วงนี้ชาวสเปนที่อยู่ภายใต้การปกครองของแขกมัวร์ได้ส่งม้าออกไปยัง อิตาลี และที่เมืองเฟ็ดเดอริสเบอร์กประเทศเดนมาร์ก และที่อิตาลีก็ได้กำเนิดลิปิซานเนอร์ตัวเก่งต้นตระกูล “ นีอาโพลิตัน” ที่โด่งดังไปทั่วยุโรป
ในปี ค.ศ. 1562 ท่านอาร์คดุ๊ค แมกมิลเลียน ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งออสเตรียก็ได้เพาะเลี้ยงม้าสายสเปนเช่นกัน และอีก 18 ปีถัดมา ท่านอาร์คดุ๊ค คาร์ล ผู้ครองแคว้นออสเตรีย ก็ได้ตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ม้าชื่อว่า ลิปิซา ตั้งอยู่ที่เมือง คาร์สต ใกล้กับเมืองทริสตี
ท่านดุ๊กฯทราบดีว่า ในการเพาะพันธุ์ม้าเพื่อรักษาสายพันธุ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องมีการนำม้าพันธุ์ดีมาผสมเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันสายเลือดชิด ดังนั้น ท่านจึงนำม้าพันธุ์ดีของสเปนมาผสมเป็นช่วงๆ และบางครั้งก็ใช้ม้า(เข้าใจว่าเป็นพันธุ์อาหรับ) จากตะวันออกเข้าผสม และในประมาณ คริสศตวรรษที่17-18 จึงได้มีการนำม้าสายเลือด นีอาโพลิตัน มาที่ฟาร์ม ลิปิซา เพื่อ ไขว้สายเลือดอีกครั้งเพื่อให้ห่างจากสายเลือดของม้าจากเดนมาร์กและเยอรมัน
ในปี 1809-1815 เกิดภาวะแห้งแล้งบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงม้า และในเดือน พ.ค. 1915 จึงได้มีการแยกม้าลิปิซานออกเป็นสองฝูง ฝูงแรกถูกนำไปที่ลักเซนเบิร์ก ใกล้เวียนนา และอีกฝูงถูกนำไปที่แคล็ดรัพ
ในปี 1918 เกิดภาวะล่มสลายของราชวงศ์แฮปส์เบิร์กและจักรวรรดิออสเตรีย ลิปิซาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี รัฐบาลอิตาลีและออสเตรียได้แบ่งม้าออกเท่าๆกัน ออสเตรียนำมาที่ได้ไปเลี้ยงต่อที่ฟาร์ม ไพเบอร์ เมืองสไตน์มาร์ก โดยฟาร์มไพเบอร์นี้เป็นของเอกชน เพาะเลี้ยงม้าสำหรับใช้ในกองทัพ
สำหรับประเทศออสเตรเลีย (ค้นจาก Lipizzaneraustralia.org) ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมผู้จดทะเบียนม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ Australian Lipizzaner Registry (ALR)
เมื่อปี 1995 หรือประมาณ 10 กว่าปีมานี่เอง โดยเขาอ้างเหตุผลแรกว่าม้าพันธุ์นี้ใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องขึ้นทะเบียนไว้ เหตุผลอีกข้อนึงคือ ม้ามีท่าทีการเยื้องย่างที่สง่างาม เหมาะแก่การอนุรักษ์ อีกข้อถัดมาคือการเป็นม้าตั้งแต่ยุคบาโรก ซึ่งจัดว่าเป็นยุคคลาสสิก และข้อสุดท้ายคือ หากใครเลี้ยงม้าพันธุ์นี้แล้วจะรู้ว่า มันคือโรลสรอยซ์แห่งม้านั่นเอง และม้าลิปิซานเนอร์ของออสเตรเลียก้ได้รับการยืนยันจาก ดร. ยูเลลา (Dr. Oulehla) อดีตอาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนสอนขี่ม้าสไตล์สเปนที่กรุงเวียนนาก้ได้ให้คำ จำกัดความลิปิซานเนอร์ของที่นี่ว่า ” สุดยอดความสวยงามสไตล์บาโรก (of a wonderful Baroque type)”
เกล็ดที่ได้จากการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์ก็คือ ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวและไฟไหม้ครั้งใหญ่ในประเทศ อิตาลี เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1600 ทำให้ม้าสายนี้เกือบสูญพันธุ์ และในประมาณ ค.ศ. 1714 จึงได้เริ่มเพาะม้าสายนี้ใหม่โดยเริ่มจากพ่อม้าหลัก 5 ตัวดังรายชื่อดังนี้
• Pluto จากประเทศเดนมาร์ก
• Conversano ม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan
• Neapolitano line, กลุ่มม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan ที่เกิดในปี 1790
• Maestoso, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ หรือว่าสายแคล็ดรัพ
• Favory, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ (Kladruby stud)
ในปี 1880 จึงได้มีการรับรองพ่อม้าเพิ่มอีกคือ
• Siglavy ตัวนี้เป็นม้าสายอาหรับ ที่ฝรั่งเขาบอกว่าทำให้ม้าลิปิซานเนอร์เบาและบางลง
นอกจากนี้ยังมีพ่อม้าจากยุโรปที่ได้รับการรับรองอีก 2 ตัวคือ (จะเห็นว่าแม้จะเป็นทวีปเดียวกันเขายังกันกันเองเลย)
• Tulipan, จากประเทศโครเอเชีย เกิดในปี 1850
• Incitato, พ่อม้าจากฮังการี เกิดในยุค 1810's
การที่ พูดถึงลิปิซานเนอร์โดยไม่กล่าวถึงที่ประเทศออสเตรีย เห็นที่จะแปลกประหลาด เหมือนมาเมืองไทยไม่ได้ดูช้าง ผู้สนใจค้นคว้าสามารถหาดูได้ที่ Piber.com ที่นี่คือเมืองไพเบอร์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยเขาจะมีประวัติท้าวความเรื่องของม้าสายพันธุ์นี้ที่ถูกย้ายไปโยกมา ตั้งแต่ยุดจักรวรรดิ ออสโตร - ฮังการเรี่ยน เรืองอำนาจ และสุดท้ายการนำม้ากลับมาที่เมืองไพเบอร์ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดก็เพิ่งกระทำในประมาณปี 2005 นี่เอง ในโอกาสนี้เขาเลยถือโอกาสผนวกรวมโรงเรียนสอนขี่ม้า Spanish Riding School ที่ลือลั่น เข้ากับแหล่งเพาะพันธุ์ม้า The Piber Stud ที่เกรียงไกร สำหรับที่นี่ หากท่านสนใจจะเพาะม้าสายพันธุ์นี้ เขามีทั้งพ่อม้าจำหน่าย Stallions Listed for Sale โดยมีราคาตั้งแต่ 3000-4000 ปอนด์ (คิดเป็นเงินไทยไม่รวมภาษีก็ประมาณ 200,000- 300,000 บาท หากรวมภาษีนำเข้าก็ประมาณ 500,000  นอกจากนี้เขายังมีแม่ม้าที่ฝึกแล้วหรือยังไม่ฝึก (ฝึกเบื้องต้นเรียกว่า Broken) ราคาประมาณ 3000-5000 ปอนด์ ม้าตอนฝึกแล้วพร้อมใช้งานก็มีครับ
ที่สำคัญคือเขาจะมีประวัติสายพันธุ์ (Ped Degree) ให้ท่านคลิกเข้าตรวจสอบได้ก่อน หากไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้ออีก เด็ดจริงๆ
ม้าลิปิซานเนอร์มีเอกลักษณ์อีกอย่าง ที่สังเกตุเห็นได้โดยง่ายคือ การมีสันจมูกโค้งลงหาพื้นดิน กลับทางกับม้าสายอาหรับที่มีสันจมูกเชิดงอนขึ้น และเนื่องจากม้าพันธุ์นี้ทั่วโลกมีเหลือแค่ประมาณ 3,000 ตัว จึงได้ขึ้นทะเบียนไซเตสเป็นสัตว์อนุรักษ์ไว้ สำหรับในเมืองไทย หากใครต้องการผสมพันธุ์ก็สามารถหาพ่อพันธุ์ได้จากตามแหล่งต่างๆ ดังนี้

1. พ่อม้ามิลเลอร์ของ ภูผาหมอก โคราช (ตัวในรูป)
2. พ่อม้า Milky Way ของคุณต๋อ คอกม้าธาราโชติ ที่ จ.ระยอง
 3. พ่อม้าตัวที่สวยที่สุดในประเทศไทยของคุณชำนาญ อยู่ที่ จ. เชียงใหม่  
4. พ่อม้าของคุณเอ็ดดี้ ปัจจุบันอยู่ที่ชัยนาท  ตัวนี้เป็นพ่อลิปิซานเนอร์สายเลือดใหม่ที่น่าจะมาแรงที่สุด

ม้าพันธุ์ควอเตอร์หรือ ควอเตอร์ฮอร์ส หรืออเมริกันควอเตอร์ฮอร์ส  
เป็น ม้าที่มีชื่อเรียกตามลักษณะการแข่งระยะทางประมาณ ¼ ไมล์ ซึ่งเป็นระยะที่ม้าประเภทนี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุด สถิติที่บันทึกเอา ไว้ว่ากันว่าสามารถทำความเร็วได้ถึง 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (เกือบ 90 กม.ต่อ ชม.) ม้าพันธุ์นี้จัดเป็นม้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกาจนยุคปัจจุบัน และมีจำนวนม้าสายพันธุ์นี้ทั่วโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้มากกว่า 5 ล้านตัว
ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้ คือ ล่ำสันบึกบึน สูงประมาณ 150-155 ซม. คอสั้น หน้าอกกว้างกำยำ   สะโพกกลมบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดอันมหาศาลของพละกำลัง เชื่อง เมื่อฝึกดีแล้วจะสงบนิ่งมาก เหมาะสำหรับ การขี่เล่นเพื่อสันทนาการ   เช่น การขี่ข้ามภูมิประเทศ   การขี่ม้าอ้อมถังเบียร์ หรือในการขี่ม้าจับลูกวัวของคนอเมริกัน  
ประวัติม้าสายนี้เริ่มขึ้นเมื่อ ประมาณ ปี ค.ศ. 1600 ที่ขณะนั้นชาวประเทศสหรัฐอเมริกายังคงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ได้นำเข้าม้า เธอรัพเบรตจากฝั่งอังกฤษ ไปผสมกับม้าพื้นเมืองที่เรียกว่า จิ๊กกาซอว์ ที่มีสายเลือดมาจากม้าสายไอบีเรียน ม้าสายอาหรับและม้าสายสเปน โดยม้าที่นำเข้าจากประเทศอังกฤษในตอนนั้นคือม้า เธอรัพเบรต ที่มีชื่อว่า ยานัส (Janus) ที่เกิดในปี 1746 ซึ่งเป็นหลานปู่ของม้าชื่อก็อดโดฟิน อาเบี้ยน (Godolphin Arabian) และได้ถูกนำเข้าไปยังรัฐเวอร์จิเนียเมื่อปี ค.ศ. 1756 เจ้ายานัส นี้ได้ส่งยีนส์ผ่านไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานทำให้มีผลผลิตของ ม้าแข่งเสี้ยวไมล์มากขึ้น และในขณะเดียวกันการแข่งม้าแบบเสี้ยวไมล์เริ่มได้รับความนิยม ในหมู่ประชาอาณานิคม และโดยที่สนามแข่งในอเมริกาที่มักจะมีช่วง ทางตรงสั้นๆ จึงทำให้เมื่อมีการแข่งขันครั้งใดม้าควอเตอร์ไมล์เหล่านี้มีชัยเหนือ เธอรัพ เบรต อยู่เสมอ ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายมันก็ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ม้า ควอเตอร์ไมล์ และกลายเป็นควอเตอร์ฮอร์สในที่สุด
ในปี ค.ศ. 1800 เริ่มมีคนบุกเบิกไป ทางตะวันตกของอังกฤษมากขึ้น ผู้คนเหล่านี้ต้องการม้าที่ทรหดอดทนต่อสภาพแวด ล้อมมาใช้งาน จึงนำม้าสายพันธุ์ต่างๆมาเพาะเลี้ยง เช่นม้าของสเปน เม็กซิโก รวมทั้งม้าป่าพื้นเมือง และม้าของชนเผ่าอินเดียน แดง เช่นเผ่าโคมันเช่ เผ่าโชโชนิ และเผ่า นีซ เพิร์ซ( Nez Perceไม่ รู้ว่าอ่านอย่างนี้หรือเปล่า) ดังนั้นจึงนำม้าควอเตอร์ไมล์ไปผสม จนพบว่าลูกม้าที่ได้มีลักษณะเด่นที่เรียกว่า "cow sense "   หรือม้าที่มีลักษณะเด่นด้านการต้อนวัว หรือรู้ใจวัวมากที่สุด 
ในประมาณ ปี ค.ศ. 1940 เหล่าคนเลี้ยงม้าอเมริกันได้รวมตัวกันจัดตั้งสมาพันธ์ม้าควอเตอร์ขึ้น และเมื่อจัดทำสมุดประวัติทะเบียนม้าขึ้นมาในสมุดประวัติทะเบียนม้าจะมีหน้า สำหรับจดทะเบียนมาตรฐานและจัดทำหน้าพิเศษ(Appendix)  ให้ม้าที่เป็นลูกผสมกับม้าควอเตอร์กับม้าสายพันธุ์เธอรัพเบรต ได้มีโอกาสขึ้นทะเบียนด้วยเหล่านี้ โดยในระยะแรกถือว่าลูกม้าเหล่านี้ยังไม่ ได้ขึ้นทะเบียน 100 % แต่จะสามารถยอมรับได้เมื่อมีรูปทรง (Conformation) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีผลงานการแข่งขันที่โดดเด่น ก็จะได้รับการบรรจุชื่อเข้าไปในสมุดประวัติทะเบียนมาตรฐานทันที
การจัดทำสมุดประวัติที่เปิดโอกาสให้ ม้าที่มีเชื้อสายพันธุ์อื่นสามารถเข้าจดทะเบียนได้นั้น (Open Stud Book) ไม่ใช่สิ่งใหม่และจัดเป็นเรื่องปกติในอเมริกา และทะเบียนประวัติม้าของเขาก็ไม่ถือว่าเป็นไบเบิลแบบเป๊ะๆ   ม้าที่เป็นลูกผสมสายอื่นเช่น แอพพอลูซ่า อาหรับ คริโอโร ฯ ก็ยังมีโอกาสได้ขึ้นทะเบียนเช่นกัน นอกจากนี้ แล้ว ม้าพันธุ์ใหม่ชื่อพันธุ์ว่า อัสเตก้า ที่เป็นลูกผสมของควอเตอร์และอันดาลูเชี่ยนก็ยังสามารถนับญาติมาเป็นควอเตอร์ ได้เลย
พ่อพันธุ์ที่เป็นต้นกำเนิดของม้า ควอเตอร์สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นม้าชื่อ เจ้าสตีลดัส (Steel Dust) ที่เกิดที่เมืองอิลลินอยย์ เมื่อ ค.ศ. 1843  หลังจากนั้นจึงถูกนำไปที่เท็กซัส ม้าตัวนี้สูงประมาณ 15 แฮนด์ และหนักประมาณ 550 กก. โดยเจ้าสตีลดัสนี้หากแกะรอยตามสายเลือดไปก็จะพบว่าเป็นลูกหลานของเซอร์ อาร์ชี (Sir Archy)  พ่อม้าที่มีสายเลือด เธอรัพเบร็ต ในระยะเริ่มต้นที่เจ้าสตีลดัสผลิตทายาทออกมาและยังไม่มีชื่อเรียกสายพันธุ์ อย่างเป็นทางการนั้น ม้าสายพันธุ์นี้จึงถูกเรียกว่าพันธุ์ สตีลดัส ไปพลางๆก่อน ภายหลังเมื่อมีการขึ้นทะเบียนและมีชื่อเรียกสายพันธุ์ม้าแล้วจึงเรียกว่าม้า ควอเตอร์ฮอร์ส
ในระยะที่สตีลดัสกำลังเป็นพ่อม้า อยู่นั้น ก็มีพ่อม้าเด่นตัวอื่นอยู่เช่นกัน ตัวอย่างเช่น เจ้า คูเปอร์ บอททอม เจ้าโอลด์ ชิโลหรือ ชิโล (Shiloh) เจ้าล็อค ลอนโด   และส่วนใหญ่ม้าเหล่านี้จะสืบเชื้อสายมาจาก เซอร์ อาร์ชี แทบทั้งสิ้น   นอกจากนี้ ในปี 1889 ก็มีพ่อม้าโนเนมที่ชื่อ ทราเวลเลอร์ แต่ปรากฏว่าให้ลูกสุดสวยทุกตัว
พ่อม้าที่จัดได้ว่าเป็นพ่อม้าที่มี อิทธิพลสูงสุดต่อการผลิตลูกสายควอเตอร์คือ พ่อม้าชื่อเจ้า ปีเตอร์ แม็กกิว (Peter McCue) ซึ่งเป็นลูกม้าที่เกิดในปี 1895 โดยในระยะแรกได้ขึ้นทะเบียนเป็นม้าพันธุ์เธอรัพเบร็ต แต่ภายหลังพบว่าเขาเป็นสายเลือดของเจ้า ชิโล  และหากตรวจสอบสายเลือด ของเจ้าแม็กกิวนี้จะพบว่า ม้าที่ขึ้นทะเบียนก่อน เดือน ม.ค. 1948 พบว่าเป็นลูกหลานของเจ้าแม็กกิว 2,304 ม้า (จากจำนวนม้าทั้งหมด 11,510 ม้า) และม้าที่มีลูกรองลงมาจากเจ้าแม็กกิวก้คือเจ้า ทราเวลเลอร์นั่นเอง
ม้าพันธุ์ฟรีเชี่ยน   Friesian, the Black Beauty
ม้าพันธุ์ฟรีเชี่ยนเป็นม้าที่คนไทย ไม่ค่อยคุ้นเคยนัก เนื่องจากเป็นม้าที่มีแหล่งกำเนิดที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ หรือ ฮอลแลนด์หรือฮอลันดาในสมัยโบราณนั่นเอง ในปัจจุบันก็เริ่มได้มีกลุ่มคนรักม้าได้เริ่มนำฟรีเชี่ยนเข้ามาเมืองไทยบ้าง แล้ว เท่าที่ทราบก็มีคอกของน้องพลอย แห่งปางช้างอยุธยา และอีกแห่งคือภูผาหมอก ที่มีพ่อม้าเข้าประจำการแต่มิตรรักนักเพลงแล้ว    ม้าสายนี้มีลักษณะเด่นคือมีขนสีดำมันสนิทไม่มีสีอื่นแซม การวางเท้าเวลา ทร็อทยกขาหน้าสูงมาก แลดูสวยงาม อุปนิสัยนิ่งว่านอนสอนง่ายและติดไปทางค่อนข้างจะคึกคัก ร่างกายกำยำล่ำสัน ส่วนสูงมีตั้งแต่ 15 -17 แฮนด์ แผงขนคอหนาดกรวมทั้งขนหน้าผาก หางยาวแตะพื้น ข้อเท้ามีพู่ห้อยระย้าสวยงาม (feather )  
ม้าฟรีเชี่ยนมีแหล่งกำเนิดที่เมือง ฟรีซแลนด์( Friesland) ประเทศเนธอร์แลนด์ ดินแดนกังหันสีส้ม   แม้ว่าสัดส่วนของเขาจะละม้ายไปทางม้างาน (draft horse)    แต่ฟรีเชียนนั้นมีรูปร่างที่สง่างามและแลดูปราดเปรียวกว่าเยอะ ระหว่างยุค กลาง ม้าสายนี้เป็นที่ต้องการของทหารอย่างแรง เพราะต้องการเอาไปให้อัศวินที่ใส่เกราะเหล็กออกทำการรบ ความต้องการใช้ม้าใน สงครามนั้นส่งจึงผลให้ม้าสายนี้เกือบสูญพันธุ์ไปหลายหน   จนล่วงมาถึงในยุคปัจจุบันม้าพันธุ์นี้กลับเป็นที่นิยมนำมาขี่เล่น ใช้เทียม รถม้า และมีบ้างที่นำมาใช้ขี่แบบเดรสสาจ
(เอื้อเฟื้อภาพจาก wigipedia.org)
การมีสีดำของม้าสายนี้นั้นเน้นว่า ต้องดำแบบดำมัน โดยไม่อนุญาตให้มีสีอื่นเข้าปะปน ยกเว้นมีจุดขาวที่หน้าผากเท่านั้น ที่ อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนได้ แต่ก็หายากยิ่งนัก และสีอื่นที่พอจะหาได้คือสี Chestnut  ความสูงของม้าตัวเมียและม้าตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15.2 แฮนด์ (157 ซม.)   ตัวผู้จะสูงกว่าเล็กน้อย
ในปัจจุบันสามารถแบ่งม้าฟรีเชี่ยนออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ สวยคลาสสิกหรือสวยแบบบาโรก Baroque ลักษณะเด่นของประเภทนี้คือการมีรูปร่างในแบบ ม้าสเปน นั่นคือ ลำคอโก่งเหมือนคันศร มีกระดูกใหญ่ มัดกล้ามเยอะ หูเล็ก ขาสั้นและแข็งแรง   อีกประเภทคือ สวยแบบสปอร์ต   ประเภทหลังนี้จะมีกระดูกที่เรียวเล็กกว่า ไม่เน้นรูปร่างเหมือนประเภทแรก แต่จะเน้นลีลาการย่างก้าว และเป็นที่นิยมในเวทีประกวดมากกว่าประเภทแรก 
บางกระแสเชื่อกันว่า ม้าสายนี้สืบทอดสายพันธุ์มาจากม้าจากป่าหรือป่าดำ Black Forestของประเทศอังกฤษ (ประเทศอังกฤษเขานำม้าไปปล่อยในป่าชุมชนของเขา และเมื่อม้ามีลูกหลานแพร่ พันธุ์มากเข้าก็ให้จับขายนำเงินเข้า อบต. ) โดยในยุคโรมันเรืองอำนาจ ได้มีการนำเข้าม้าบรรพบุรุษสายนี้ไปยังอังกฤษ ภายหลังก็ได้ผสมกับม้าพื้น เมืองของอังกฤษ เช่น ม้า ไชร์ ม้าไคล์เดสเดล ม้าพันธุ์เฟลโพนี่ และเดลโพนี่ (the Shire horse, Clydesdale, Fell Pony and Dales Pony ) และปล่อยทิ้งไว้ในป่า ภายหลังคนเห็นลักษณะดีก็เริ่มเอามาพัฒนาพันธุ์
สมุดทะเบียนประวัติม้าสายนี้เรียกว่า Friesch Paarden Stamboek  หรือ เรียกย่อๆเป็นที่รู้กันว่า FPS เริ่มมีในปี ค.ศ. 1879 โดยกลุ่มชาวบ้านในเมืองดัชท์   โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่ออนุรักษ์ม้าสายนี้ให้เป็น Pure Bred เอาไว้ให้ได้ 
แม้ว่าฟรีเชี่ยนจะมีอายุแค่ 300-400 ปี แต่มันก็จัดว่าเป็นม้าต้นสายของม้านอร์ฟอร์ก ทรอทเทอร์ (ต้นสายของแฮกนี อีกทอดหนึ่ง) และม้ามอร์แกน ในเมืองไทยปัจจุบันเริ่มมีการนำพ่อม้าฟรีเชี่ยนไปปรับปรุงสาย พันธุ์ม้ากันบ้างแล้วอาทิเช่น ภูผาหมอก
 
ม้าแคระ Miniature horse
ม้าแคระหรือที่คนไทยใช้ศัพท์เรียก อย่างไม่ถูกต้องมาช้านานว่า Pony คือม้าแคระ แต่จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะคำว่าม้าแคระที่ตรงๆน่าจะใช้คำว่า Miniature Horse ซึ่งระยะหลังหลังจากที่ไทยโพนี่ได้เริ่มรณรงค์การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคน รักม้าระดับรากหญ้าในระยะหนึ่ง ก็ได้พบว่าเริ่มมีคนเข้าใจแล้วว่า ม้าโพนี่จริงๆ แล้วมีส่วนสูงได้ถึง 140-145 ซม. หรือในระดับที่ผู้ชายไซส์มาตรฐานเอเชียขี่ได้สบายๆ   อีกประการหนึ่งคือ ม้าที่เรียกว่าโพนี่นั้น เหมาะที่จะใช้สำหรับขี่เล่น หรือเลี้ยงไว้เพื่อ ความเพลิดเพลินยามได้ดูม้าเล็มหญ้า หากเป็นคอคนรักม้าจริงๆ แล้ว แค่นั่งมองม้าก็นั่งได้ทั้งวัน มิมีเบื่อ
วันนี้จึงขอเสนอม้าแคระมาให้ท่านได้รู้กัน อีกแล้วครับ นั่นคือเอามาจาก วิกีพีเดียเหมือนเดิม (www.wikipedia.org)   ม้าแคระนั้น การที่จะบอกว่าม้าแคระจริงหรือไม่ก็ต้องดูที่ส่วนสูง โดยเขาจะกำหนดให้มีความสูงไม่เกิน 82-91 ซม. คือหากจะว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าม้าไทยเสียอีก เพราะว่าม้าไทยตัวเมียโดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 115-120 ซม. และตัวผู้จะสูงประมาณ 125-130 ซม.    และหากท่านสมาชิกต้องการเพาะพันธุ์ม้าแคระในเมืองไทยผมก็แนะนำว่าควรจะเริ่ม จากตัวที่มีส่วนสูงไม่เกิน 100 ซม.
(เอื้อเฟื้อภาพจาก wigipedia.org)
 
ประโยชน์ของม้าแคระโดยทั่วไปจะใช้ สำหรับช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เช่น ใช้จูง แทนสุนัข   การเลี้ยงดูก็ง่าย เพราะว่ามีคุณสมบัติเหมือนม้าทุกประการ แต่ก็ต้องปล่อยให้เขาอยู่ในสนามหญ้า เป็นครั้งคราว และม้าแคระเหล่านี้จะมีอายุยืนมากกว่าม้าทั่วไป โดยมีอายุ เฉลี่ย 25-35 ปี
ปัจจุบันที่อเมริกา มีการขึ้นทะเบียนอยู่สองสำนัก สำนักแรกคือ สมาพันธุ์ม้าแคระแห่งอเมริกา American Miniature Horse Association (AMHA) และอีกสำนักคือ สำนักทะเบียนม้าแคระแห่งอเมริกา the American Miniature Horse Registry (AMHR).
สำนัก AMHA คือสำนักที่ตั้งไว้จดทะเบียนม้าแคระในปี ค.ศ.1978 โดยสำนักนี้จะเป็นการขึ้นทะเบียนม้าแคระที่มีลักษณะของ “ ม้าใหญ่ย่อส่วน “   โดยกล่าวกันว่าหากดูรูปม้าของค่ายนี้โดยไม่บอกส่วนสูงก็แทบจะไม่เห็นความแตก ต่างว่าเป็นม้าใหญ่หรือม้าแคระ    สำนักนี้กำหนดส่วนสูงของม้าต้องไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม.
สำนัก AMHR เป็นสำนักที่ใช้ขึ้นทะเบียนม้าแคระสายพันธุ์ อเมริกันเช็ดแลนด์ American Shetland ก่อตั้งเมื่อปี 1972 สำนักนี้แบ่งม้าออกเป็น 2 ดิวิชั่น ดิวิชันแรก (A) คือม้าที่มีส่วนสูงไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม. อีกดิวิชั่น (B) คือม้าที่สูงระหว่าง 34-38 นิ้ว หรือ 82 - 91 ซม. 
ม้าพันธุ์โฮลสไตน์ (The Holsteiner)
 
 ม้าพันธุ์นี้กับม้าฮาโนเวอร์เลี่ยนถือว่าชิดกันมาก เชื่อกันว่ากำเนิดที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่แคว้น เชสวิก โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) รูป ร่างสูงใหญ่สง่างาม ส่วนสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 165-175 ซม. เป็นม้าที่โตจนเรียกว่าเป็นน้องๆ ช้างได้ทีเดียว (รองๆจากพวกม้างานหรือ Draft Horse ที่โตได้ถึง กว่า 180 ซม.) ม้าสายพันธุ์นี้สามารถหาประวัติย้อนหลังเมื่อแรกกำเนิดสายพันธุ์ที่ประ มาณคริสศตวรรษที่ 14 ม้าโฮลสไตน์จะมีลักษณะเด่นคือ หนา สูงใหญ่ ลำตัวอ้วนกลม   อกชันกว้าง (เหมาะสำหรับกระโดดข้าเครื่องกีดขวาง)   หลังยาวเมื่อเทียบกับช่วงขา ช่วงขาสั้น คอสั้น กระดูกใหญ่ นิยมใช้เป็นม้ากระโดดและม้าลากรถ  
ข้อเด่นของม้าตัวนี้คือ สามารถเลี้ยงได้ทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะและที่แห้ง 
บางกระแสเชื่อกันว่าม้าโฮลสไต์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อม้าสาย นีอาโพลิตัน Neapolitan ในยุคศตวรรษที่ 16-17 หลังจากนั้นก็แพร่สายพันธุ์ไปทั่วยุโรป ล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 เกิดกระแสนิยมม้าTB อย่างแรงจากอังกฤษ   จนทำให้ม้าโฮลสไตน์คล้ายดั่งถูกลืมจากวงการม้า จวบจนถึงปัจจุบัน ก็เริ่ม กลับมานิยมเจ้ายักษ์ใหญ่ตัวนี้อีกครั้ง
เอื้อเฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ชื่อเจ้า มังกรทอง สูงประมาณ 17 แฮนด์ จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก 57 หมู่ 5 ตำบลเกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
 

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court