Pages

Tuesday, October 25, 2011

ม้าด่าง The Paint Horse

ม้าด่าง The Paint Horse

ในปี ค.ศ. 1595 ชาวสเปนชื่อเฮอร์นันโด้ คอร์เตส แล่นเรือเพื่อค้นคว้าหาแผ่นดินใหม่ และเขาได้นำม้าสองตัว ใส่เรือไปด้วย โดยตัวหนึ่งจัดเป็นม้า ปินโต (ม้าด่างของอินเดียนแดงที่เราเห็นในหนัง) ที่มีถุงเท้าขาวทั้งสี่เท้า อีกตัวเป็นม้าด่างสีเทาดำ (ด่างขาว) และนี่จัดว่าเป็นต้นกำเนิดม้าด่างครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อินเดียนแดงเผ่าคอมมานเช่ ที่เราถือว่าเชี่ยวชาญเรื่องม้าที่สุดในโลก ก็หันมาจับม้าด่างจากฝูงมาฝึกขี่ จนเป็นสัญลักษณ์และได้รับความนิยมอย่างมาก หลักฐานเรื่องนี้สามารถดูได้จากภาพเขียนโบราณตามแหล่งต่างๆ
จนเมื่อ ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการตั้งชื่อพนธุ์ม้าเหล่านี้ว่า ปินโต เพ้นท์ หน้าลาดด่างขาวแดง (Skewbald) หน้าลาดด่างขาวดำ (Piebald) จนล่วงเข้ากลางศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีการจัดตั้งสมาคมม้าปินโตขึ้นมา และ ในปี 1962 จึงมีการตั้งสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) ตามมา
รีเบกก้า ไทเลอร์ ถือเป็นผู้ให้กำเนิดของสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา(American Paint Stock Horse Association ,APSHA) เหตุผลก็นื่องจากบรรดาผู้เลี้ยงม้าต่างรู้ดีว่าม้าด่างนั้นไม่มีข้อกำหนด อะไรเป็นที่แน่นอนตายตัว ดังนั้นเพื่อลดข้อถกเถียงที่จะเกิดขึ้น เธอจึงคิดที่จะขึ้นทะเบียนม้าด่างให้เป็นเรื่องเป็นราวเสียที การตั้งสมาคมฯ ในตอนแรกเริ่มจากการโทรไปคุยกับกลุ่มผู้สนใจม้า และสอบถามเรื่องการขึ้นทะเบียน พร้อมกับจดข้อมูลที่ได้ไว้ในกระดาษแผ่นเล็กๆทีละแผ่น ใส่ลิ้นชักในครัวของเธอไว้ จนสุดท้ายมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ จนทางกลุ่มคิดว่าน่าจะมีกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อรวบรวมคนคอแนวเดียวกันเข้า มาให้เป็นรูปธรรม
กลุ่มเล็กๆนี้เริ่มจากการนำม้าด่างที่มีอยู่มาโชว์ตัว ให้ผู้สนใจเข้ามาชมที่เมืองโอกลาโฮมา และมันก็เปรียบเสมือนกับการสุมเพลิงเข้าไปในใจกลุ่มคนที่มีใจรักม้าให้ร้อน ระอุขึ้นมา หลังจากนั้นจึงไปจัดโชว์ที่เมืองอื่นๆอีกสองสามเมือง จนสุดท้ายได้รับการยอมรับจากทางการ (Class Approved)
หลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ กลุ่มคนประมาณ 20 คนจึงมารวมตัวกันที่เท็กซัส เพื่อจัดตั้งสมาคมขึ้นมา โดยม้าที่รีเบกก้าเริ่มนำมาขึ้นทะเบียนเป็นม้าด่างขาวดำแบบโทบิยาโน (Tobiano) ชื่อเจ้าบัณฑิต (Bandits) โดยได้นำมาจดทะเบียนเพ็ดดีกรีเป็นตัวแรก และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการออกหนังสือเวียนไปยังสมาชิกถึงความก้าวหน้าของ สมาคมอยู่เรื่อยๆ จนเมื่อสิ้นปี 1962 เธอรวบรวมจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมด 150 คน และขึ้นทะเบียนม้าได้ 250 ม้า
ในปี 1963 -1964 มีการโยกย้ายสำนักงานไปเรื่อยๆ เนื่องจากจำเป็นต้องมีสถานที่เก็บข้อมูลของม้า และมีการเปลี่ยนตัวประธานสมาคม และในปีนี้มีจำนวนม้าทั้งสิ้น 1269 ม้า และมีสมาชิก 1005 คน และได้จัดให้มีการโชว์ระดับโลกขึ้นเรียกว่างานโชว์ม้าด่างโลกหรือคือ World Championship Paint Horse Show
ในขณะนั้น ที่เมืองอบีลีน เท็กซัส ก็มีการจัดตั้งสมาคมม้าควอเตอร์ด่างอเมริกัน ( American Paint Quarter Horse Association,APQHA) และทั้งสองสมาคมถกเถียงกันอย่างหนักเพื่อหาเหตุผลที่จะรวมกัน จนล่วงเลยมาถึงในปี 1965 จึงรวมกันสำเร็จ และใช้ชื่อใหม่ว่าสมาคมม้าด่างแห่งอเมริกา (American Paint Horse Association, APHA) ทั้งสองสมาคมสามารถรวบรวมสมาชิกได้ทั้งสิ้น1300 คน และจำนวนม้าทั้งหมด 3800 ม้า
สำหรับการขึ้นทะเบียนม้าด่างของอเมริกัน นั้น มีข้อแม้ว่า พ่อและแม่ม้าจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าควอเตอร์แห่งอเมริกา AQHA หรือจ๊อกกี้คลับ และอย่างน้อยพ่อ หรือแม่จะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับสมาพันธ์ม้าด่างของอเมริกา APHA (วุ่นดีจัง ยุ่งยากนักไม่ต้องไปเข้าไปจดทะเบียนเสียก็สิ้นเรื่อง ...หากใครต้องการจะเลี้ยงไว้ขี่เอง ก็ไม่ต้องง้อเขา...) ลูกม้าที่เกิดมาด่าง จะได้รับการขึ้นทะเบียนมีศักดิ์และสิทธิ์ครบถ้วนทุกประการ แต่หากเกิดมาแล้วไม่ด่าง เขาก็ยังการันตีว่าเป็นม้ามีทะเบียนประวัติ แต่ม้าตัวนั้นไม่สามารถเข้าประกวดได้ เขาบอกว่าจะมีเวทีอื่นให้ประกวดแทน
ข้อ แตกต่างระหว่างม้า Pinto และ Paint Horse นั้น คือ ม้าปินโตคือด่างทุกสายพันธุ์ที่มีรอยด่างเกิดขึ้นบนตัว ส่วนม้า Paint Horse จะต้องเป็นม้าที่มีสายเลือด ควอเตอร์ เธอรัพเบรต ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้ว (ในอเมริกา) ดังนั้นเราจึงถือว่า ม้า Paint Horse ทุกตัวเป็น Pinto แต่ไม่ใช่ Pinto ทุกตัวเป็น Paint Horse แต่สำหรับประเทศไทย ไทยโพนี่ได้ให้คำนิยามไว้ใช้เพื่อพลางดังนี้
ม้าด่าง : Paint Horse คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน ที่มีเชื้อสายที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
ม้าแฟนซีหรือม้า ปินโต : Pinto Horse คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.

การแบ่งประเภทของม้าด่างตามหลักการของอเมริกัน
Tobiano
ม้า ด่างแบบโทบิยาโน ปกติจะมีสีเข้มพาดที่บริเวณหน้าอกลงถึงโคนขา หรือเอวถึงโคนขาหลัง อาจจะเป็นไปได้ที่บริเวณขาหน้า หรือขาหลัง หรืออาจะมีทั้งสองขา ขาทั้งสี่ข้างต้องเป็นสีขาว หรืออย่างน้อยตั้งแต่เข่าลงไปต้องเป็นสีขาว ปกติรอยด่างเข้มมักเป็นรูปวงรี หรือกลมที่พาดผ่านคอและหน้าอก ทำให้ดูคล้ายใส่เกราะ

บริเวณหน้าอาจเป็นสีเดียว หน้าลาดใหญ่ หน้าจุดสีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้ หางมักมีสองสี

Overo อ่านออกเสียงว่า โอแฟ๊โร่โอแฟ้โร่จะมีลักษณะเด่นคือสีขาวจะไม่ตัดผ่านหลังม้าที่บริเวณตะโหนก ม้า และที่หาง โดยทั่วไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีขาหนึ่ง หรือทั้งสี่ขาเป็นสีดำหรือเข้ม ส่วนใหญ่สีขาวจะเป็นสีข้างน้อย และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ และมักมีหน้าลาดยาวจรดจมูก หรือน้อยกว่านั้นก็ไม่เป็นไร สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้ หางมักมีสีเดียว

Tovero
(pronounced: tow vair' oh) โทแฟ๊โร่ บริเวณหูมีสีดำ บางทีอาจจะลามไปถึงหน้าผากและตาทั้งสองข้าง โดยลูกนัยน์ตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจะเป็นสีฟ้า
ปากมีสีคล้ำหรือดำ และบางทีอาจลามไปถึงแก้มเป็นวง มีจุดหรือรอยด่างใหญ่หรือเล็กบริเวณหน้าอก หากใหญ่มากอาจลามถึงคอ และมีรอยด่างอีกจุดที่บริเวณท้องมาถึงเอว และอาจลามลงบริเวณหน้าขาหลัง รอยด่างดังกล่าวอาจเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด และมีจุดหรือรอยด่างอีกแห่ง บริเวณโคนหาง

0 comments:

Post a Comment

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court