Pages

Tuesday, October 25, 2011

ม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ The Lipizzaner

ม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ The Lipizzaner

ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้
1. แรกเกิดสีดำ หรือออกเทาๆ โตขึ้นสีจางลงและเปลี่ยนเป็นขาวในที่สุด หางและขนแผงคอสีขาว
2. หูเล็ก ตากลมโต คอสั้นหนา รูปร่างกำยำล่ำสัน เป็นมิตรกับคนง่าย ตัวผู้สูง 155-160 ซม. ตัวเมียสูงประมาณ 140-150 ซม.
3. กีบแข็งแรงทนทาน มีสีขาวหรือดำ ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องโรคกีบ
4. ใช้เป็นม้าโชว์ ม้าขี่เล่น ม้าสวยงาม
5. ม้าที่มีสายเลือดลิปิซานเนอร์แต่ไม่ใช่ Pure Breds จะเรียกว่า Part Breds, Part Lipizzaners
6. เป็นม้าที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าม้าสายอื่นๆ ที่โดยปกติจะใช้เวลา 3 ปี แต่ลิปิซานเนอร์จะใช้เวลา 4- 5 ปี จึงจะเริ่มเป็นหนุ่มหรือสาว เนื่องจากโครงสร้างใหญ่กว่าม้าปกติ

เชื่อกันว่าม้าสายพันธุ์ลิปิซาน เนอร์ได้ถูกเพาะเลี้ยงที่เมืองลิปีซาน แห่งแคว้นคาร์เทจ เมื่อกว่า 2000 ปีมาแล้ว โดยม้าพันธุ์นี้มีสายเลือดที่สืบเชื้อสายมาจากม้าพันธุ์อาหรับและบาร์บของ สเปน ซึ่งเป็นม้าต้นตำหรับของสายพันธุ์อัลดาลูเชียนที่ยิ่งใหญ่ของสเปน
ถัด มาในยุคแขกมัวร์ครองอำนาจเหนือสเปน ก็ยังคงมีการนำอาหรับมาผสมอยู่บ้างประปราย และช่วงนี้ชาวสเปนที่อยู่ภายใต้การปกครองของแขกมัวร์ได้ส่งม้าออกไปยัง อิตาลี และที่เมืองเฟ็ดเดอริสเบอร์กประเทศเดนมาร์ก และที่อิตาลีก็ได้กำเนิดลิปิซานเนอร์ตัวเก่งต้นตระกูล “ นีอาโพลิตัน” ที่โด่งดังไปทั่วยุโรป
ในปี ค.ศ. 1562 ท่านอาร์คดุ๊ค แมกมิลเลียน ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งออสเตรียก็ได้เพาะเลี้ยงม้าสายสเปนเช่นกัน และอีก 18 ปีถัดมา ท่านอาร์คดุ๊ค คาร์ล ผู้ครองแคว้นออสเตรีย ก็ได้ตั้งฟาร์มเพาะพันธุ์ม้าชื่อว่า ลิปิซา ตั้งอยู่ที่เมือง คาร์สต ใกล้กับเมืองทริสตี
ท่านดุ๊กฯทราบดีว่า ในการเพาะพันธุ์ม้าเพื่อรักษาสายพันธุ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องมีการนำม้าพันธุ์ดีมาผสมเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันสายเลือดชิด ดังนั้น ท่านจึงนำม้าพันธุ์ดีของสเปนมาผสมเป็นช่วงๆ และบางครั้งก็ใช้ม้า(เข้าใจว่าเป็นพันธุ์อาหรับ) จากตะวันออกเข้าผสม และในประมาณ คริสศตวรรษที่17-18 จึงได้มีการนำม้าสายเลือด นีอาโพลิตัน มาที่ฟาร์ม ลิปิซา เพื่อ ไขว้สายเลือดอีกครั้งเพื่อให้ห่างจากสายเลือดของม้าจากเดนมาร์กและเยอรมัน
ใน ปี 1809-1815 เกิดภาวะแห้งแล้งบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงม้า และในเดือน พ.ค. 1915 จึงได้มีการแยกม้าลิปิซานออกเป็นสองฝูง ฝูงแรกถูกนำไปที่ลักเซนเบิร์ก ใกล้เวียนนา และอีกฝูงถูกนำไปที่แคล็ดรัพ

ในปี 1918 เกิดภาวะล่มสลายของราชวงศ์แฮปส์เบิร์กและจักรวรรดิออสเตรีย ลิปิซาจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลี รัฐบาลอิตาลีและออสเตรียได้แบ่งม้าออกเท่าๆกัน ออสเตรียนำมาที่ได้ไปเลี้ยงต่อที่ฟาร์ม ไพเบอร์ เมืองสไตน์มาร์ก โดยฟาร์มไพเบอร์นี้เป็นของเอกชน เพาะเลี้ยงม้าสำหรับใช้ในกองทัพ

สำหรับ ประเทศออสเตรเลีย (ค้นจาก Lipizzaneraustralia.org) ได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมผู้จดทะเบียนม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ Australian Lipizzaner Registry (ALR)
เมื่อปี 1995 หรือประมาณ 10 กว่าปีมานี่เอง โดยเขาอ้างเหตุผลแรกว่าม้าพันธุ์นี้ใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องขึ้นทะเบียนไว้ เหตุผลอีกข้อนึงคือ ม้ามีท่าทีการเยื้องย่างที่สง่างาม เหมาะแก่การอนุรักษ์ อีกข้อถัดมาคือการเป็นม้าตั้งแต่ยุคบาโรก ซึ่งจัดว่าเป็นยุคคลาสสิก และข้อสุดท้ายคือ หากใครเลี้ยงม้าพันธุ์นี้แล้วจะรู้ว่า มันคือโรลสรอยซ์แห่งม้านั่นเอง และม้าลิปิซานเนอร์ของออสเตรเลียก้ได้รับการยืนยันจาก ดร. ยูเลลา (Dr. Oulehla) อดีตอาจารย์ใหญ่แห่งโรงเรียนสอนขี่ม้าสไตล์สเปนที่กรุงเวียนนาก้ได้ให้คำ จำกัดความลิปิซานเนอร์ของที่นี่ว่า ” สุดยอดความสวยงามสไตล์บาโรก (of a wonderful Baroque type)”

เกล็ดที่ได้จากการสังเคราะห์ประวัติศาสตร์ ก็คือ ภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวและไฟไหม้ครั้งใหญ่ในประเทศ อิตาลี เมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1600 ทำให้ม้าสายนี้เกือบสูญพันธุ์ และในประมาณ ค.ศ. 1714 จึงได้เริ่มเพาะม้าสายนี้ใหม่โดยเริ่มจากพ่อม้าหลัก 5 ตัวดังรายชื่อดังนี้
• Pluto จากประเทศเดนมาร์ก
• Conversano ม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan
• Neapolitano line, กลุ่มม้าสายเลือดเจ้า Neapolitan ที่เกิดในปี 1790
• Maestoso, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ หรือว่าสายแคล็ดรัพ
• Favory, ม้าสายสเปนที่สืบสายเลือดมาจากสายแคล็ดรูบี้ (Kladruby stud)
ในปี 1880 จึงได้มีการรับรองพ่อม้าเพิ่มอีกคือ
• Siglavy ตัวนี้เป็นม้าสายอาหรับ ที่ฝรั่งเขาบอกว่าทำให้ม้าลิปิซานเนอร์เบาและบางลง
นอกจากนี้ยังมีพ่อม้าจากยุโรปที่ได้รับการรับรองอีก 2 ตัวคือ (จะเห็นว่าแม้จะเป็นทวีปเดียวกันเขายังกันกันเองเลย)
• Tulipan, จากประเทศโครเอเชีย เกิดในปี 1850
• Incitato, พ่อม้าจากฮังการี เกิดในยุค 1810's


การ ที่พูดถึงลิปิซานเนอร์โดยไม่กล่าวถึงที่ประเทศออสเตรีย เห็นที่จะแปลกประหลาด เหมือนมาเมืองไทยไม่ได้ดูช้าง ผู้สนใจค้นคว้าสามารถหาดูได้ที่ Piber.com ที่นี่คือเมืองไพเบอร์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยเขาจะมีประวัติท้าวความเรื่องของม้าสายพันธุ์นี้ที่ถูกย้ายไปโยกมา ตั้งแต่ยุดจักรวรรดิ ออสโตร - ฮังการเรี่ยน เรืองอำนาจ และสุดท้ายการนำม้ากลับมาที่เมืองไพเบอร์ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดก็เพิ่งกระทำในประมาณปี 2005 นี่เอง ในโอกาสนี้เขาเลยถือโอกาสผนวกรวมโรงเรียนสอนขี่ม้า Spanish Riding School ที่ลือลั่น เข้ากับแหล่งเพาะพันธุ์ม้า The Piber Stud ที่เกรียงไกร สำหรับที่นี่ หากท่านสนใจจะเพาะม้าสายพันธุ์นี้ เขามีทั้งพ่อม้าจำหน่าย Stallions Listed for Sale โดยมีราคาตั้งแต่ 3000-4000 ปอนด์ (คิดเป็นเงินไทยไม่รวมภาษีก็ประมาณ 200,000- 300,000 บาท หากรวมภาษีนำเข้าก็ประมาณ 500,000 นอกจากนี้เขายังมีแม่ม้าที่ฝึกแล้วหรือยังไม่ฝึก (ฝึกเบื้องต้นเรียกว่า Broken) ราคาประมาณ 3000-5000 ปอนด์ ม้าตอนฝึกแล้วพร้อมใช้งานก็มีครับ
ที่ สำคัญคือเขาจะมีประวัติสายพันธุ์ (Ped Degree) ให้ท่านคลิกเข้าตรวจสอบได้ก่อน หากไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้ออีก เด็ดจริงๆ ม้าลิปิซานเนอร์มีเอกลักษณ์อีกอย่างที่สังเกตุเห็นได้โดยง่ายคือ การมีสันจมูกโค้งลงหาพื้นดิน กลับทางกับม้าสายอาหรับที่มีสันจมูกเชิดงอนขึ้น และเนื่องจากม้าพันธุ์นี้ทั่วโลกมีเหลือแค่ประมาณ 3,000 ตัว จึงได้ขึ้นทะเบียนไซเตสเป็นสัตว์อนุรักษ์ไว้

0 comments:

Post a Comment

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court