ม้าไทย
ม้าไทยและม้าเทศในประเทศไทย สำหรับประเทศไทย การใช้ม้าแต่แรกเริ่มนั้นนิยมใช้ม้าเป็นสัตว์ต่างมากกว่าที่จะใช้ขับขี่ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ม้าไทยมีขนาดเล็ก ดื้อ ฝึกยาก แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนรักม้าที่ยังอนุรักษ์สายพันธุ์ม้าไทยกันอยู่อย่างต่อ เนื่อง เช่น ทางภาคเหนือยังคงมีรถม้าอยู่ที่จังหวัดลำปาง และถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด และชาวเขาทางภาคเหนือก็ยังคงเลี้ยงม้าไว้เพื่อช่วยในการขนสัมภาระไปตามดอย ต่างๆ ภาคอีสานยังคงมีการเลี้ยงม้าเพื่อขับขี่และช่วยในการต้อนสัตว์ ของบรรดาเหล่านายฮ้อย ในปัจจุบันชาวบ้านจังหวัดขอนแก่นก็ได้พัฒนาไปเลี้ยงม้าแข่ง จังหวัดอุบลราชธานีก็มีคนเริ่มตื่นตัวเลี้ยงม้าไทยและอนุรักษ์ม้าไทยกันมาก ขึ้น สำหรับทางภาคกลางนอกจากจะเป็นแหล่งของการเพาะเลี้ยงม้าแข่งแล้ว ยังคงมีการเลี้ยงม้าเพื่อใช้ในงานรื่นเริง หรือในการทำพิธีทางศาสนา เช่นการแห่นาค โดยจะมีม้าแห่นาคเข้าร่วมขบวนกันอย่างใหญ่โต ที่บริเวณจังหวัด นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และที่ อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขัณฑ์ นิยมเลี้ยงม้าไว้ให้บริการขี่เล่นบริเวณชายหาด
สำหรับ ทางภาคใต้นั้น แม้ว่าจะสำรวจพบว่ามีการใช้ม้าน้อยที่สุด ก็ยังพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขาไม่มีพื้นที่ราบ แต่โดยลักษณะพื้นที่ที่ติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทำให้มีการขยายพันธุ์ของม้าพันธุ์ดีที่นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ เมื่อครั้งยังเป็นเมืองขึ้น โดยจะพบว่าชาวบ้านแถบนี้มีการใช้ม้าลูกผสมที่มีขนาดส่วนสูงกว่าม้าไทยโดย ทั่วไป (ตัวผู้สูง 140 ซม. ตัวเมียสูง 130 ซม.) ช่วยในการขนสินค้าเกษตรออกมาสู่ตลาดภายนอกอย่างแพร่หลายเนื่องจากภูมิประเทศ เป็นป่าเขาสูงชัน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชมรมขี่ม้าอยู่ที่สวนสมเด็จย่าฯ นอกจากนี้ที่จังหวัดภูเก็ตก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นสถานที่ที่ใช้ การเลี้ยงม้าเพื่อใช้ขี่เพื่อกีฬาเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวของจังหวัด และภูเก็ตก็เป็นสถานท่องเที่ยวที่มีคนนิยมขี่ม้าเป็นกีฬามากที่สุดอีก จังหวัดหนึ่ง
ภาพแสดงลักษณะม้าไทยสายพันธุ์มองโกลตัวเมียขณะตั้งท้อง ประมาณ ๘ เดือน (Thai - Mongol type pony, mare) มีความสูงไม่เกิน ๑๑๐ ซม. (๑๑ แฮนด์ โดยที่ ๑ แฮนด์สูงประมาณ ๑๐ ซม. ) หน้าสั้น ขาสั้น ลำตัวสั้น แผงขนคอเป็นพุ่มดกฟู ไม่ตั้งตรง ลำตัวสั้น แข็งแรงทนทาน หากินตามภูมิประเทศ
ม้า พันธุ์พื้นเมืองของไทยเท่าที่ค้นพบสามารถแบ่งได้สองประเภท ประเภทแรกคือ ม้าสายพันธุ์มองโกล (Thai-Mongol pony) จากประวัติเดิมนั้นจะใช้เป็นม้าต่างระหว่างชายแดนประเทศไทยตอนเหนือ กับประเทศจีนพม่าและลาวในสมัยโบราณ ภายหลังจึงแพร่พันธุ์ไปเลี้ยงกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย ม้าสายพันธุ์นี้จะมีความสูงไม่เกิน ๑๓๐ ซม. สำหรับตัวผู้ และตัวเมียสูงไม่เกิน ๑๒๐ ซม. ลักษณะเด่นคือมีหน้าแหลมเหมือนม้าสายพันธุ์อาหรับ คอสั้น ลำตัวสั้น ขนแผงคอเป็นพุ่มดกไม่เป็นระเบียบ ขาสั้น กีบเล็ก
อีกประเภทหนึ่งคือ ม้าสายพันธุ์ไทยใหญ่ (Thai- Burmese type pony) แหล่งกำเนิดใหญ่อยู่แถบจังหวัดชายแดนไทย- เมียนม่าร์ ม้าเหล่านี้สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่พันธุ์จากม้าศึกที่มากับทัพพม่าคราวเข้าตี กรุงศรีอยุธยา หรือสงครามเก้าทัพผ่านไปตามจังหวัดที่มีชายแดนติดกับเมียนม่าร์โดยลัดเลาะ ผ่านมาทางจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคิรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และยังคงมีม้าประเภทนี้บางส่วนมีบ้างบางส่วนในจังหวัดอยุธยา
ซึ่งคาด ว่าเป็นม้าลูกผสมที่เกิดระหว่างแม่พันธุ์ไทยมองโกลกับพ่อม้าเทศที่นำมาจาก ต่างประเทศ เข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาพื่อใช้ในการศึกสงคราม ม้าไทยใหญ่นี้จะมีโครงสร้างใหญ่กว่าม้าไทยมองโกลเล็กน้อย ลักษณะเด่นคือ รูปร่างบึกบึน หัวใหญ่ คอยาว คล้ายม้าเทศ ขาสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ขนแผงคอจัดเรียงเป็นระเบียบ พบได้ทั่วไปบริเวณจังหวัดรอยต่อระหว่างประเทศไทยและเมียนม่าร์
***********
0 comments:
Post a Comment