Pages

Tuesday, October 25, 2011

สีของม้า

สีของม้า




[ ขยายดูภาพใหญ่ ]
สีของขนม้า เป็นสิ่งที่สังเกตเพื่อให้รู้จักม้าแต่ละตัว ฉะนั้นการเรียกชื่อสีของม้าต่างๆ จึงเป็นการจำเป็นที่จะต้องเรียกให้ถูกตามแบบเดียวกันทั้งสิ้น ถ้าต่างคนต่างเรียกชื่อตามความเข้าใจของตนแล้วก็จะเป็นการผิดแปลกไปจะไม่เป็นที่เข้าใจได้ชัดเจน
การตรวจสีของม้านี้ยากมาก เพราะสีขนมีอยู่หลายอย่างหลายชนิด ผิดกันเพียงเล็กๆ น้อยๆ จนไม่สามารถจะเอาเป็นที่แน่ว่าผิดกันอย่างไรก็มี
ขนม้าตัวเดียวกันอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอายุของม้านั้น เช่น สีแซม นานเข้าก็กลายเป็นสีขาวได้ หรือม้าดำกลายเป็นแซมไปก็มี ลูกม้า ซึ่งเกิดใหม่ๆ มักจะมีสีขนผิดกว่าขนธรรมดาและยาวกว่า ต่อเมื่ออายุได้ ๗-๘ เดือน แล้วจึงได้เปลี่ยนขนเป็นสีธรรมดา
สีธรรมดาแบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
ม้าขนสีล้วน เป็นม้าที่มีสีขนคล้ายคลึงกันทั่วตัว มีผิดกันเล็กน้อยบางแห่งเท่านั้น เช่น บางตัวค่อนข้างดำบ้าง ขาวบ้างบางแห่ง หรือมีรอยจุดเล็กๆ น้อยๆ ไม่สู้โตนัก ก็นับว่าเป็นม้าสีล้วนเหมือนกัน สีล้วนแบ่งออกเป็น ๗ ชนิดคือ
สีขาว แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
(๑) ม้าสีขาวธรรมดามีขนสีล้วน ผิวหนังสือใต้ขนดำ ตาดำ
(๒) ม้าสีขาวเผือก มีขนสีขาวเผือก หรือสีขาว ผิวหนังใต้ขนสีชมพู กีบเหลือง หรือขาว ลูกตาสีออกแดงคล้ายตากระต่ายขาว ม้าเผือก มักมีสีขาวมาแต่กำเนิด สีม้าขาวนั้นเมื่อยังเล็กอยู่มักจะมีสีอื่น แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนจนเป็นขาวธรรมดา
สีปลั่ง คือ ขนสีออกแดงคล้ายสีน้ำหมากแต่อ่อน ม้าสีปลั่งแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
(๑) สีปลั่งแก่ คือ มีขนสีแดงมาก
(๒) สีปลั่งอ่อน มีสีคล้ายชมพู
สีเปลือง เป็นสีขาวเหลืองปนกันเหมือนทาขมิ้น สีเหลืองแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
(๑) สีเหลืองอ่อน มีขนออกขาว ผิวหนังค่อนข้างขาว
(๒) สีนกขมิ้น มีขนเหลืองกว่าสีเหลืองอ่อน แต่มีหนังดำ กีบดำ
(๓) สีเหลืองธรรมดา คือ สีเหลืองแก่และบาง มีสีออกเทาๆ ซึ่งเรียกว่า "มีสีลาน" เพราะมีสีคล้ายใบลานหรือใบตองแห้ง
สีจันทร์ เป็นม้าสีเหลือง ขนคอและขนหางสีเหลือง เมื่อถูกแดดมักจะมีเงาเหมือนทองแดง ม้าสีจันทร์แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
(๑) สีจันทร์อ่อน
(๒) สีทอง
(๓) สีทองแดง มีสีคล้ายสีแดง แต่ขนคอและขนหางไม่ดำ
ม้าสีจันทร์มักจะมีบรรทัดหลังเหล็ก บางทีมีสายบนหลัง ตามที่เข้าใจกันว่า ต้นตระกูลของม้าจำพวกนี้คงจะสืบเนื่องมาจากม้าลาย
สีแดง เป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเงาเป็นมัน แต่ขนที่คอและหางสีดำ ม้าสีแดงนั้นมีอยู่ ๓ ชนิดคือ
(๑) สีแดงอ่อน
(๒) สีแดงธรรมดา
(๓) สีประดู่ มีขนสีแดงเข้ม และมีเงาเป็นวงกลมที่ก้น ข้อมักดำจัด
สีน้ำตาล มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
(๑) สีน้ำตาลอ่อน มีสีเหลือง
(๒) สีน้ำตาลธรรมดา ค่อนข้างจะมีสีแดง
(๓) สีน้ำตาลแก่ มักจะมีขนดำแซมอยู่มาก
สีดำ มีอยู่ ๓ ชนิด
(๑) สีดำอ่อน มีสีออกเทาๆ เรียกว่า "ม้าสวาท"
(๒) สีเขียว คือ ตัวมีสีดำ แต่ข้างตัวหรือตามท้องมีสีแดงปน
(๓) สีดำธรรมดาคือ ดำหมดทั้งตัว ถ้าดำจัดจนมีเงาเป็นมัน เรียกว่า "ดำปีกกา" หรือสีนิล
ม้าขนสีแซม คือ ม้าที่ขนขาวขึ้นปนกับขนสีอื่น ม้าสีแซมแบ่งตามสีขนที่ปนอยู่กับสีขาวออกเป็น ๓ จำพวก คือ
แซมดำ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ
(๑) แซมดำธรรมดา มีขนดำแซมทั่วทั้งตัวเสมอกัน
(๒) แซมมรกต คือ มีขนดำขึ้นแซมเป็นวงกลมเป็นหย่อมๆ ทั่วทั้งตัว
แซมเหลือง มีขนสีเหลืองขึ้นแซมทั้งตัว
แซมแดง มีขนอยู่ ๒ ชนิด คือ
(๑) แซมแดงธรรมดา มีขนแดงแซมทั่วทั้งตัวเสมอกัน
(๒) แซมเลือด มีขนแดงแซมเป็นจุดๆ ขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด และดูแล้วคล้ายรอยโลหิตหยด
ม้าขนสีผ่าน ม้าสีผ่านต้องถือสีขาวเป็นพื้นเดิม แม้จะมีสีขาวน้อยกว่าสีอื่นก็ตาม ส่วนสีอื่นที่ผ่านต้องเรียกสีนั้นเป็นขนสีผ่านเสมอ เช่น ผ่านเหลือง ผ่านดำ ดังนี้ เป็นต้น ม้าบางตัวผ่านจุดโตประมาณเท่าฝ่ามือหรือเท่าฟองไข่ ม้าชนิดนี้เรียกว่า "ม้าสีตลก"
ม้าสีผ่านแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
(๑) ผ่านดำ
(๒) ผ่านแดง
(๓) ผ่านเหลือง
(๔) ผ่านแซมดำ แดง และเหลือง

ชนิดและพันธุ์ม้า

ชนิดและพันธุ์ม้า





การจัดชนิดของม้า ได้จัดตามการใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งไว้ดังนี้
ม้างาน (Draft Horse)
เป็นม้าที่ใช้ในการทำงานในไร่นาและคอกปศุสัตว์ งานเทียมเกวียนลากของหนักๆ บางครั้งอาจใช้ขี่เข้าเมือง ม้างานมีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ม้าพันธุ์เบลเยี่ยม (Belgian) ม้าพันธุ์เพอร์เชอร์รอน (Percheron) ม้าพันธุ์ไชร์ (Shire) ม้าพันธุ์ไคลเดสเดล (Clydesdale) ม้าพันธุ์ซัฟโฟล์ค (Suffolk) ม้างานเป็นม้าที่มีขนาดใหญ่ (Heavy Horses) สูงประมาณ ๑๕-๑๗ แฮนด์ (Hands) เมื่อโตเต็มที่มีขนาดน้ำหนัก ๖๑๔-๑,๐๐๐ กิโลกรัม
ม้าขี่ (Riding Horse)
เป็นม้าที่ใช้สำหรับขี่เดินทาง ม้าแข่ง ม้าสำหรับกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ม้าสำหรับขี่แข่งกีฬาโปโล ม้าขี่สำหรับเดินสวนสนามม้าขี่มีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น
- พันธุ์อเมริกันแซดเดิล (American Saddle Horse)
- พันธุ์อัพพาลูซา (Appaloosa)
- พันธุ์อาหรับ (Arabian)
- พันธุ์มอร์แกน (Morgan)
- พันธุ์คลีฟแลนด์ เบย์ (Cleveland Bay)
- พันธุ์พาโลมิโน (Palomino)
- พันธุ์พินโต (Pinto)
- พันธุ์เทนเนสซี วอล์คกิ้ง (Tennessee Walking)
- พันธุ์เทอร์รับเบร็ด (Thoroughbred)
ม้าขี่เป็นม้าที่มีขนาดสูงประมาณ ๑๔-๑๗ แฮนด์ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก ๓๖๔-๕๙๑ กิโลกรัม
ม้าโพนี่ (Pony Horse)
เป็นม้าสำหรับการขี่ของเด็กๆ หรือเทียมรถลากขนาดเล็ก มีส่วนสูงประมาณ ๑๑-๑๔ แฮนด์ และเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๕๐-๓๘๖ กิโลกรัม ม้าโพนี่มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น
- พันธุ์อเมริกานา (Americana)
- พันธุ์แฮกนี (Hackney)
- พันธุ์เชตแลนด์ (Shetland)
- พันธุ์เวลช์ (Welsh)
- พันธุ์ฮาร์นเนส (Harness)

ม้ามีวิวัฒนาการอย่างไร

อิโอฮิปปุส 
อิควุส คาบอลลุส

 



นักสัตวศาสตร์ได้จัดม้าไว้ในประเภทสัตว์กินพืชเป็นอาหารและมีนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ หรือเรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า พาริโซแดคติลา (Parissodactyla) ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ ไป ดังนี้
๑. มีจำนวนนิ้วของแต่ละเท้าเป็นเลขคี่ น้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะตกลงบนนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วที่ยาวที่สุด และจะเดินโดยใช้กีบหรือนิ้วเท้าเท่านั้น ส้นเท้าจะไม่แตะพื้น
๒. ริมฝีปากและฟันมีการพัฒนาให้มีรูปลักษณะที่เหมาะสมในการกินและบดเคี้ยวพืชเป็นอาหาร
มีหลักฐานจากฟอสซิล (Fossil) พบว่า ในสมัยโบราณมีสัตว์หลายชนิดที่เจริญเติบโตและพัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของม้า แต่สัตว์เหล่านั้นหลายชนิดได้สูญพันธุ์ และล้มหายตายจากไปตามกฎเกณฑ์การอยู่รอดของธรรมชาติ คงเหลือเฉพาะสัตว์ตระกูลม้า วิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนี้มีต้นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือในยุคอิโอซีน (Eocene) หรือประมาณ ๕๐ ล้านปีมาแล้ว บรรพบุรุษเก่าแก่ของม้าได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกมีขนาดตัวเท่าสุนัขจิ้งจอกหน้าตาคล้ายม้าในปัจจุบัน ขาหนีบมีนิ้วเท้า ๔ นิ้ว ขาหลังมี ๓ นิ้ว ลักษณะฟันบ่งชี้ว่า เป็นสัตว์ที่กินใบไม้เป็นอาหาร เรียกว่า ไฮราโคเธเรียม (Hyracotherium) และมีการค้นพบซากที่มีลักษณะคล้ายกันในแถบยุโรป เรียกว่า อิโอฮิปปุส (Eohippus)
ในยุคโอลิโกซีน (Oligocene) หรือประมาณ ๒๘ ล้านปีที่ผ่านมาได้มีวิวัฒนาการของม้ามาเป็นลำดับ โดยมีขนาดตัวโตขึ้น เรียกว่า เมโซฮิปปุส (Mesohippus) แต่ยังกินพืชเป็นอาหาร
ต่อมาในยุคไมโอซีน (Miocene) มีวิวัฒนาการไปเป็นพาราฮิปปุส (Parahippus) และไฮโปฮิปปุส (Hypohippus) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบรรพบุรุษของม้าในยุคนี้ คือ ฟัน โดยเปลี่ยนเป็นฟันแข็งแรงเหมาะสำหรับการบดเคี้ยวหญ้ามากขึ้น และกินหญ้าเป็นอาหารแทนใบไม้ บรรพบุรุษของม้าในกลุ่มไฮโปฮิปปุส (Hypohippus) ได้อพยพย้ายถิ่นที่สำคัญไปอยู่แถบทวีปยุโรป และเอเชียด้วย
ต่อมาเมื่อประมาณ ๔ ล้านปีที่แล้ว ในยุคพลิโอซีน (Pliocene) บรรพบุรุษของม้าในยุคนี้มีหน้าตาคล้ายลูกม้าในปัจจุบัน ม้าในยุคนี้ เรียกว่าพลิโอฮิปปุส (Pliohippus) เป็นยุคที่ม้าเปลี่ยนจากสัตว์ที่มีนิ้วเท้า ๓ นิ้ว ไปเป็นนิ้วเดียวหรือกีบเดียว เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในการหากินจากป่าที่มีพื้นดินอ่อนมาเป็นทุ่งหญ้าที่มีพื้นแข็งและกินหญ้าเป็นอาหาร
วิวัฒนาการขั้นต่อมา เป็นม้าในปัจจุบันซึ่งเรียกว่า อิควุส (Equus) เพิ่งปรากฎเริ่มมีมาเพียงประมาณ ๒ ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเข้าสู่ยุคเพลอิสโตซีน (Pleistocene) ม้าป่าในยุคนี้มีหลักฐาน จากรูปวาดบนฝาผนังถ้ำ ซึ่งมีรูปลักษณะเหมือนม้าในปัจจุบัน แต่มีสีเหลืองน้ำตาล หัวใหญ่ ขนที่แผงคอจะสั้นและตั้งตรง ต่างกับม้าปัจจุบันที่มีขนแผงยาวปรกลงมา ม้าในปัจจุบันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อิควุส คาบอลลุส (Equus caballus)
แนวโน้มในการพัฒนาที่แน่นอนตลอดระยะเวลาของวิวัฒนาการของม้าที่เห็นได้ชัดคือ ขนาดตัวใหญ่ขึ้น ขายาวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระดูกนิ้วเท้า ซึ่งทำให้ม้ามีความสามารถในการวิ่งได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่น ในขณะเดียวกันนิ้วกลางก็มีการเพิ่มขนาด และลดจำนวนนิ้วเท้าลง จนเหลือเพียงนิ้วเดียว และเปลี่ยนแปลงเป็นกีบ

ฟันม้ามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ อิโอฮิปปุส (Eohippus) บรรพบุรุษม้าในยุคอิโอซีน (Eocene) ที่มีฟันติดต่อกันตลอด ได้เปลี่ยนแปลง โดยค่อยๆ มีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างฟันหน้าและฟันด้านข้าง ซึ่งทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น

ม้าไทย

ม้าไทย
ม้าไทยและม้าเทศในประเทศไทย สำหรับประเทศไทย การใช้ม้าแต่แรกเริ่มนั้นนิยมใช้ม้าเป็นสัตว์ต่างมากกว่าที่จะใช้ขับขี่ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ม้าไทยมีขนาดเล็ก ดื้อ ฝึกยาก แต่ก็ยังคงมีกลุ่มคนรักม้าที่ยังอนุรักษ์สายพันธุ์ม้าไทยกันอยู่อย่างต่อ เนื่อง เช่น ทางภาคเหนือยังคงมีรถม้าอยู่ที่จังหวัดลำปาง และถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด และชาวเขาทางภาคเหนือก็ยังคงเลี้ยงม้าไว้เพื่อช่วยในการขนสัมภาระไปตามดอย ต่างๆ ภาคอีสานยังคงมีการเลี้ยงม้าเพื่อขับขี่และช่วยในการต้อนสัตว์ ของบรรดาเหล่านายฮ้อย ในปัจจุบันชาวบ้านจังหวัดขอนแก่นก็ได้พัฒนาไปเลี้ยงม้าแข่ง จังหวัดอุบลราชธานีก็มีคนเริ่มตื่นตัวเลี้ยงม้าไทยและอนุรักษ์ม้าไทยกันมาก ขึ้น สำหรับทางภาคกลางนอกจากจะเป็นแหล่งของการเพาะเลี้ยงม้าแข่งแล้ว ยังคงมีการเลี้ยงม้าเพื่อใช้ในงานรื่นเริง หรือในการทำพิธีทางศาสนา เช่นการแห่นาค โดยจะมีม้าแห่นาคเข้าร่วมขบวนกันอย่างใหญ่โต ที่บริเวณจังหวัด นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และที่ อ.หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขัณฑ์ นิยมเลี้ยงม้าไว้ให้บริการขี่เล่นบริเวณชายหาด

สำหรับ ทางภาคใต้นั้น แม้ว่าจะสำรวจพบว่ามีการใช้ม้าน้อยที่สุด ก็ยังพบว่าบริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง เนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขาไม่มีพื้นที่ราบ แต่โดยลักษณะพื้นที่ที่ติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ ทำให้มีการขยายพันธุ์ของม้าพันธุ์ดีที่นำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ เมื่อครั้งยังเป็นเมืองขึ้น โดยจะพบว่าชาวบ้านแถบนี้มีการใช้ม้าลูกผสมที่มีขนาดส่วนสูงกว่าม้าไทยโดย ทั่วไป (ตัวผู้สูง 140 ซม. ตัวเมียสูง 130 ซม.) ช่วยในการขนสินค้าเกษตรออกมาสู่ตลาดภายนอกอย่างแพร่หลายเนื่องจากภูมิประเทศ เป็นป่าเขาสูงชัน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชมรมขี่ม้าอยู่ที่สวนสมเด็จย่าฯ นอกจากนี้ที่จังหวัดภูเก็ตก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นสถานที่ที่ใช้ การเลี้ยงม้าเพื่อใช้ขี่เพื่อกีฬาเป็นจุดดึงดูดการท่องเที่ยวของจังหวัด และภูเก็ตก็เป็นสถานท่องเที่ยวที่มีคนนิยมขี่ม้าเป็นกีฬามากที่สุดอีก จังหวัดหนึ่ง

ภาพแสดงลักษณะม้าไทยสายพันธุ์มองโกลตัวเมียขณะตั้งท้อง ประมาณ ๘ เดือน (Thai - Mongol type pony, mare) มีความสูงไม่เกิน ๑๑๐ ซม. (๑๑ แฮนด์ โดยที่ ๑ แฮนด์สูงประมาณ ๑๐ ซม. ) หน้าสั้น ขาสั้น ลำตัวสั้น แผงขนคอเป็นพุ่มดกฟู ไม่ตั้งตรง ลำตัวสั้น แข็งแรงทนทาน หากินตามภูมิประเทศ

ม้า พันธุ์พื้นเมืองของไทยเท่าที่ค้นพบสามารถแบ่งได้สองประเภท ประเภทแรกคือ ม้าสายพันธุ์มองโกล (Thai-Mongol pony) จากประวัติเดิมนั้นจะใช้เป็นม้าต่างระหว่างชายแดนประเทศไทยตอนเหนือ กับประเทศจีนพม่าและลาวในสมัยโบราณ ภายหลังจึงแพร่พันธุ์ไปเลี้ยงกันทั่วทุกภาคของประเทศไทย ม้าสายพันธุ์นี้จะมีความสูงไม่เกิน ๑๓๐ ซม. สำหรับตัวผู้ และตัวเมียสูงไม่เกิน ๑๒๐ ซม. ลักษณะเด่นคือมีหน้าแหลมเหมือนม้าสายพันธุ์อาหรับ คอสั้น ลำตัวสั้น ขนแผงคอเป็นพุ่มดกไม่เป็นระเบียบ ขาสั้น กีบเล็ก

อีกประเภทหนึ่งคือ ม้าสายพันธุ์ไทยใหญ่ (Thai- Burmese type pony) แหล่งกำเนิดใหญ่อยู่แถบจังหวัดชายแดนไทย- เมียนม่าร์ ม้าเหล่านี้สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่พันธุ์จากม้าศึกที่มากับทัพพม่าคราวเข้าตี กรุงศรีอยุธยา หรือสงครามเก้าทัพผ่านไปตามจังหวัดที่มีชายแดนติดกับเมียนม่าร์โดยลัดเลาะ ผ่านมาทางจังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบคิรีขันธ์ ราชบุรี กาญจนบุรี และยังคงมีม้าประเภทนี้บางส่วนมีบ้างบางส่วนในจังหวัดอยุธยา

ซึ่งคาด ว่าเป็นม้าลูกผสมที่เกิดระหว่างแม่พันธุ์ไทยมองโกลกับพ่อม้าเทศที่นำมาจาก ต่างประเทศ เข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาพื่อใช้ในการศึกสงคราม ม้าไทยใหญ่นี้จะมีโครงสร้างใหญ่กว่าม้าไทยมองโกลเล็กน้อย ลักษณะเด่นคือ รูปร่างบึกบึน หัวใหญ่ คอยาว คล้ายม้าเทศ ขาสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับลำตัว ขนแผงคอจัดเรียงเป็นระเบียบ พบได้ทั่วไปบริเวณจังหวัดรอยต่อระหว่างประเทศไทยและเมียนม่าร์


***********

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court