Pages

Saturday, November 24, 2012

สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ ประจวบคีรีขันธ์



      สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองฯ ตั้งอยู่ บนพื้นที่ติดต่อกัน 2 จังหวัด เขตรอยต่อของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นพื้นที่ที่อยู่ในโครงการปลูกป่ามูลนิธิชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง มีพื้นที่ 646 ไร่ เดิมสถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางพระ อำเภอ  ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ โดยฟาร์มม้าแห่งนี้ใช้ชื่อว่า “ แผนกเซรุ่ม “

 
     สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลองแห่งนี้ มีการจัดการฟาร์มที่มีรูปแบบการเลี้ยงม้าแบบปล่อยแปลง โดยแบ่งเป็น แปลงหญ้าปล่อยม้า แปลงปลูกหญ้าสด อาคารปฏิบัติงานและบ้านพักของเจ้าหน้าที่สถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ฯ มีภารกิจในการ ผลิตพลาสมาจากม้าเพื่อทำเซรุ่ม ได้แก่ เซรุ่มแก้พิษงูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยม งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูแมวเซา และต่อมาปี 2549 ได้ผลิตเซรุ่มแก้พิษงูทับสมิงคลา และ เซรุ่มแก้พิษงูแบบรวมหลายชนิดในขวดเดียวกัน จำหน่ายในปี 2551 รวมถึงผลิตและจำหน่ายเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย
 

 
     ภายหลังจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการฉีดกระตุ้นม้าที่ ใช้ผลิตเซรุ่มแก้พิษงู ที่มีการใช้แอ๊ดจูแว้นท์อย่างจริงจัง จนได้ภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นแล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้าฯ ได้นำโปรแกรมการฉีดที่พัฒนานี้ โดยเฉพาะการฉีดกระตุ้นม้าเพื่อผลิตพลาสมารวมพิษงู มาปรับเปลี่ยนบางอย่างและเริ่มต้นที่จะทำให้ครบวงจน ตั้งแต่การฉีดกระตุ้นในม้าไปจนถึงการเพียวริไฟด์ จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เซรุ่มที่พร้อมใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ผลิตภัณฑ์ คือ
1. เซรุ่มรวมพิษงูที่มีผลต่อระบบประสาท ที่รวมเซรุ่มแก้พิษงูจงอาง งูเห่า งูสามเหลี่ยมและงูทับสมิงคลาไว้ในขวดเดียวกัน
2. เซรุ่มรวมพิษงูที่มีผลต่อระบบโลหิต ที่รวมเซรุ่มแก้พิษงูกะปะ งูเขียวหางไหม้ และงูแมวเซาไว้ในขวดเดียวกัน

 

 

 
     นอกจากผลิตพลาสม่าเพื่อทำเซรุ่มแก้พิษงูและพิษสุนัขบ้าแล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ ยังจัดการระบบผสมพันธุ์เพื่อผลิตลูกม้า โดยปรับเปลี่ยนจากวิธีเดิมที่ปล่อยพ่อม้าเข้าไปผสมกับแม่ม้าต่าง ๆ ในแปลงอย่างอิสระ เป็น การจัดระบบผสมพันธุ์ที่มีการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์โดยตรงมาผสมตามแผนที่ กำหนด โดยวางแผนการผลิตจำนวนลูกม้าที่เกิดในแต่ละปี ในจำนวนที่ไม่มากเกินไปและเริ่มนำการผสมเทียมเข้ามาใช้แทนการผสมจริง เพื่อลดอันตรายจากการเตะของแม่ม้า และได้ตรวจคุณภาพของน้ำเชื้อที่จะใช้ผสมก่อน
สำหรับการจัดระบบผสมพันธุ์โดยคัดพ่อแม่พันธุ์ ก่อให้เกิดผลดีต่าง ๆ คือ
1. สามารถกำหนดสายพันธุ์ของลูกม้าที่ต้องการได้
2. ลูกม้าที่เกิดมามีคุณภาพ
3. สามารถตรวจการผสมติดของแม่ม้าได้ทันที ช่วยลดการสูญเสียเวลาในการใช้งานแม่ม้า
4. รู้เวลาที่แน่นอนของการตั้งท้อง นำไปสู่การจัดการต่าง ๆ ช่วงการตั้งท้องและการดูแลระหว่างแม่ม้าคลอดลูก
5. ลดอัตราการตายของลูกลง
6. กรณีที่ใช้วิธีผสมเทียม สามารถตรวจคุณภาพน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ เพื่อทำนายอัตราการผสมติดและคัดทิ้งพ่อพันธุ์ รวมถึงป้องกันพ่อพันธุ์ติดเชื้อโดยตรงจากแม่ม้า
นอกจากนี้ ยังมีการเก็บและการย้ายฝากตัวอ่อนม้า โดยวิธีนิรศัลยกรรม ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำมาใช้ผลิตลูกม้าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องสัตว์สายพันธุ์ดี เพียงแต่เป็นแม่ม้าที่มีสุขภาพดี มีขนาดและรูปร่างที่ไม่แตกต่างเท่าไหร่นักกับแม่ม้าสายพันธุ์ดี ที่ต้องการใช้เป็นแม่พันธุ์ในการผลิตลูกม้า ทำให้แม่ม้าสามารถให้ลูกมากกว่า 1 – 2 ตัว / ปี 

 

 
การจัดการแปลงปลูกหญ้า
 
อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงม้า แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารข้น ที่มีส่วนประกอบของโปรตีนและแร่ธาตุบางตัวที่สูงกว่าหญ้า ซึ่งเป็นอาหารหยาบอีกชนิดหนึ่งที่ต้องให้ม้ากินทุกวัน นอกเหนือจากการได้รับสารอาหารที่มีในหญ้า เพราะหญ้าจะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารของม้าที่มีความยาวหลายสิบเมตรทำหน้าที่ ได้อย่างปกติ ลดการเกิดภาวะเสียดท้อง ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ม้าตายได้
 
 
 
การดูแลและจัดการม้า

ปัจจุบันสถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ เลี้ยงม้าแบบปล่อยแปลง ไม่มีการขังคอก แตกต่างกับการเลี้ยงแบบเดิม ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบขังคอก การเลี้ยงแบบปล่อยแปลงมีข้อดี คือ ม้าจะมีอิสระในการดำรงชีวิต ไม่ถูกบังคับหรือกักขัง คล้ายกับการอยู่ป่าหรือธรรมชาติ ได้ออกกำลังกายตลอดเวลา แต่ก็มีข้อเสียคือ  การจัดและบังคับม้า รวมถึงการดูแลรักษาไม่สามารถเข้าใกล้ตัวม้าได้มากนัก 

 

 
การผลิตสัตว์ทดลอง

นอกเหนือจากการผลิตพลาสมาจากม้า แล้ว สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ ยังมีงานวิจัย การผลิตสัตว์ทดลอง ได้แก่ กระตาย หนูตะเภา และหนูเม้าส์ โดยหนูเหล่านี้จะมีจำนวนการงานที่มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น การใช้หนูเม้าส์มาทดสอบเซรุ่ม โดยการหาระดับแอนติบอดี้หรือระดับภูมิคุ้มกันโดยวิธี Neutralization test การใช้เพื่อตรวจยืนยันผลการตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และการนำไปทำวิจัยด้านพิษงูหรือพิษสุนัขบ้าต่าง ๆ หนูตะเภาเป็นสัตว์ที่เหมาะสมต่อการใช้เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์วัคซีน BCG ส่วนกระต่ายนำไปใช้ในการทดสอบหาความบริสุทธิ์ของเซรุ่ม เป็นการตรวจหาสารที่จะทำให้เกิดไข้ โดยการฉีดเซรุ่มที่ต้องการทดสอบในกระต่าย พร้อมวัดอุณหภูมิในกระต่ายเป็นระยะ  ๆ
แผนพัฒนางานของสถานีเพาะเลี้ยงม้าและสัตว์ทดลอง ในปีพ.ศ. 2554 – 2556
1. การผลิตเซรุ่มชนิดใหม่
- เซรุ่มป้องกันบาดทะยัก กำลังอยู่ระหว่างเตรียมม้าและกำหนดโปรแกรมการฉีดกระตุ้นในม้า ซึ่งจะสามารถผลิตพลาสมาดิบจากม้าได้ในปีงบประมาณ 2555
- เซรุ่มแก้พิษจากการบริโภคหน่อไม้ ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการชื่อ “การศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตเซรุ่มต้านพิษจากเชื้อคลอสตริเดียมโบทูลิ นั่ท” โดยเซรุ่มดังกล่าวหากผลิตใช้ได้เองจะเป็นการง่ายต่อการหาซื้อและมีราคาต่ำ กว่าที่จะต้องนำเข้า
- เซรุ่มแก้พิษงูลายสาบคอแดง (แต่มีปัญหาอยู่ที่การรีดพิษงู)
2. การจัดการม้า สถานีเพาะเลี้ยงม้า ฯ มีเจ้าหน้าที่ เครื่องมือที่พร้อมในการผ่าตัด แต่ยังขาดห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้นที่มีลักษณะที่ถูกต้องใช้เป็นสถานที่ผ่า ตัด แต่ได้มีการวางแผนจะนำอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง มาปรับปรุงออกแบบเป็นห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น คอกขังเตรียมผ่าตัด รวมถึงห้องตรวจโรคตาในม้า ซึ่งจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2556  และ การนำเทคนิคการเก็บและย้ายฝากตัวอ่อนม้า มาช่วยในการจัดการระบบผสมพันธุ์ผลิตลูกม้า โดยจะเริ่มในปี 2555

3. งานห้องปฏิบัติการ มีการพัฒนางานตรวจหาเชื้อไวรัสที่ติดต่อถึงคนในม้า เพื่อป้องกันเชื้อปนเปื้อนในพลาสมา และ พัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีความพร้อมในการตรวจและควบคุมมาตรฐานการผลิตพลาสมา ที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงการพัฒนาการเพาะเชื้อทางแบคทีเรียและเชื้อรา นำไปสู่งานวิจัยในม้า
4. งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และโครงการอื่น ๆ

 
 

0 comments:

Post a Comment

 
Design by Store su | Bloggerized by Laikeng - sutoday | Court